รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 พฤศจิกายน 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
นายชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง นิสิตชั้นปีที่ 2 ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการประกวดตราสัญลักษณ์การเป็นเจ้าภาพการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (เอเปค) 2022 ของประเทศไทย จากผลงานที่มีชื่อว่า “ชะลอม” ซึ่งมีความโดดเด่นสวยงาม สะท้อนความเป็นไทยและความร่วมมือของสมาชิกเอเปค การประกวดครั้งนี้มีนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปส่งผลงานเข้าประกวดถึง598 ผลงาน
ชวนนท์ เล่าถึงเหตุผลที่ส่งผลงานเข้าประกวดว่า ได้เห็นข้อมูลการประกวดจากเว็บไซต์ Contest War จึงสนใจเพราะอยากสร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อพัฒนาตนเอง โจทย์ที่ได้รับคือการออกแบบตราสัญลักษณ์การเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคปี 2565 ที่สะท้อนความเป็นไทย แสดงถึงความเป็นเอเปค ทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การฟื้นฟู ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยตราสัญลักษณ์ต้องมีรูปแบบที่ทันสมัย สะท้อนความเป็นผู้นำ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
แนวคิดการนำ “ชะลอม” มาเป็นองค์ประกอบของโลโก้
ได้แรงบันดาลใจมาจาก “ชะลอม” ที่เป็นสัญลักษณ์ของการค้าขายของไทยมายาวนาน ได้เห็นชะลอมที่นำมาใส่ผลไม้และอาหารตามร้านขายของฝากในต่างจังหวัด ซึ่งแสดงถึงความเป็นไทย ในเชิงความหมายเส้นตอกของไม้ไผ่ที่มาเชื่อมต่อสานกัน บ่งบอกถึงความแข็งแรงและยืดหยุ่น นอกจากนี้ 21 ช่องของการสานเส้นตอกไม้ไผ่เป็นชะลอม เปรียบเสมือนสายสัมพันธ์ของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจที่ถักทอร่วมแรงร่วมใจมาเป็นเอเปค และยังสะท้อนถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยพยายามส่งเสริมในเรื่องนี้ วัสดุของชะลอมเป็นไม้ไผ่ที่สานกัน สามารถรีไซเคิลได้ และใช้งานได้คงทน จึงเป็นตัวแทนของความร่วมมืออย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ สีทั้ง 3 สีคือสีน้ำเงิน สีชมพู และสีเขียวที่นำมาใช้ในตราสัญลักษณ์ ยังสื่อความหมายถึงที่ลึกซึ้งอีกด้วย สีน้ำเงิน หมายถึง Open เป็นการเปิดกว้างทางการค้าของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ สีชมพู สื่อถึงConnect หรือการเชื่อมโยง เหมือนกับที่ชะลอมเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับใช้ในการใส่ผลไม้เวลาเดินทาง จึงเชื่อมโยงการสานสัมพันธ์กันของเขตการค้าทั้ง 21 ประเทศ สีเขียว สะท้อนถึงBalance ความสมดุลทางสิ่งแวดล้อม เหมือนกับชะลอมที่ผลิตจากวัสดุจากธรรมชาติ สื่อถึงรูปแบบเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว โดยคำนึงถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะเติบโตไปอย่างยั่งยืน
ความท้าทายความสามารถในการประกวดโลโก้เอเปค 2022
การออกแบบจะต้องตอบโจทย์ความเป็นไทย และสะท้อนความเป็นเอเปค ต้องพยายามหาสัญลักษณ์ที่ไม่ได้มีอยู่แบบเดิมๆ ที่สำคัญต้องไม่ให้เหมือนคนอื่น นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการนำไปใช้งานในสื่อต่างๆ ที่หลากหลาย จึงต้องมีการกำหนดขนาดในการออกแบบเพื่อให้มีความสวยงามในการนำไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ
จุดเด่นที่ทำให้โลโก้“ชะลอม”คว้ารางวัลชนะเลิศ
น่าจะเป็นเรื่องของแนวคิดในการนำชะลอมมาเป็นสัญลักษณ์ของโลโก้ซึ่งสามารถสื่อสารได้ค่อนข้างครบถ้วนทุกประเด็นและตรงจุด ตัวชะลอมมีความเป็นรูปธรรม ชาวต่างชาติเห็นแล้วเข้าใจได้ง่าย รวมถึงประยุกต์ใช้งานในสื่อต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
ความรู้สึกที่ได้รับรางวัล
ดีใจและภูมิใจมาก เป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่ ไม่คิดว่าคนไทยตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งจะได้ออกแบบตราสัญลักษณ์การประชุมระดับโลกที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ซึ่งความภูมิใจนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแต่เฉพาะตนเองเท่านั้น แต่ยังเป็นความภูมิใจระดับประเทศของคนไทยทุกคนในฐานะเจ้าบ้านในการประชุมเอเปค 2022
สิ่งมีค่าที่ได้รับนอกจากรางวัลชนะเลิศประกวดโลโก้
ชวนนท์ กล่าวว่า การส่งผลงานเข้าประกวด ส่งผลดีต่อการเรียนในสาขาสถาปัตยกรรมเพราะได้มีโอกาสลงมือทำงานจริงๆ ได้พัฒนาทักษะในการออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน ทำให้รู้จักการทำงานที่เป็นระบบมากขึ้น รวมทั้งรู้จักการแบ่งเวลาได้ดียิ่งขึ้น เป็นประสบการณ์ใหม่ๆ ที่คุ้มค่าของชีวิตที่จะเป็นประโยชน์ในการทำงานจริงในอนาคต
“เพื่อนๆ ที่อยากประสบความสำเร็จในการส่งผลงานเข้าประกวดต้องเริ่มจากการพยายามไขว่คว้าหาโอกาสให้ตัวเอง การส่งงผลงานเข้าประกวดในเวทีต่างๆ ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ในการทำงานนอกห้องเรียน ทำให้เราเติบโตและพัฒนาตนเอง ประสบการณ์ที่ได้รับยังสามารถนำไปใช้ในการทำงานในอนาคตอีกด้วย “แนวคิด” เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในการออกแบบ เพราะโลโก้ไม่ใช่แค่ออกแบบให้สวยเพียงอย่างเดียว แต่ต้องทำให้โลโก้มีความหมายที่ดี และเป็นที่จดจำได้ง่ายด้วย” ชวนนท์ กล่าวทิ้งท้าย
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้