ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ จับมือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลิตสารละลายไฟโบรอินไหมปราศจากเชื้อ เพื่อการแพทย์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมชีววัสดุเพื่อการแพทย์และสุขภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ  ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ และศูนย์เซลล์ต้นกำเนิดและเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อม สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ พัฒนากระบวนการผลิตสารละลายไฟโบรอินไหมปราศจากเชื้อจากรังไหมไทย เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับผลิตวัสดุและเครื่องมือทางการแพทย์

ในโอกาสนี้ได้มีพิธีรับมอบใบรับรองมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพกระบวนการผลิตเครื่องมือแพทย์ ISO 13485 : 2016 โดยมี นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  และ ศ.ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมในพิธีเมื่อวันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


รศ.ดร.โศรดา กนกพานนท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า ทีมนักวิจัยได้ร่วมกันพัฒนาการใช้ไฟโบรอินไหมไทยเพื่องานทางการแพทย์และสุขภาพมาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปีแล้ว โดยใช้รังไหมไทยแท้ สายพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษ 1 ที่ได้รับความร่วมมือในการผลิตและเลี้ยงไหมแบบควบคุม โดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (จ.นครราชสีมา) กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งนำมาสกัดเป็นโปรตีนไฟโบรอินไหมบริสุทธิ์ 99.9% ที่สะอาดปลอดเชื้อและสารเอนโดท็อกซิน สามารถนำไปใช้ในการผลิตวัสดุทางการแพทย์ เภสัชกรรม และเครื่องสำอาง อาทิ อนุภาคกระดูกเทียม แผ่นไหมปิดแผลสมานเซลล์ผิวหนังให้แผลหายเร็ว ผิวหนังเทียม รวมถึงการพัฒนาระบบนำส่งยาที่สามารถควบคุมการปลดปล่อยของยาหรือสารออกฤทธิ์ในปริมาณและระยะเวลาที่กำหนด จุดเด่นของผลิตภัณฑ์นี้ คือ เป็นโปรตีนธรรมชาติที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าเป็นมิตรต่อร่างกาย สามารถย่อยสลายได้ในร่างกาย มีความแข็งแรงคงตัวมากกว่าโปรตีนชนิดอื่น เช่น คอลลาเจน  เจลาติน เป็นต้น ที่สำคัญผลิตภัณฑ์นี้ถือว่าเป็นวัตถุดิบต้นน้ำ สำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์เกรดสูงที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ และพัฒนาโดยทีมนักวิจัยไทย


นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครั้งนี้ได้ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการผลิต คุณลักษณะทางเคมีและทางกายภาพของสารละลายไฟโบรอินไหมไทย ภายใต้มาตรฐานระบบบริหารคุณภาพกระบวนการผลิตเครื่องมือแพทย์ ISO 13485 : 2016

“ปัจจุบันทีมนักวิจัยจาก 2 หน่วยงานมีความพร้อมในการต่อยอดงานวิจัยสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์อนุภาคกระดูกเทียมแบบหลายหน้าที่ (multi-functional bone substitute) จากโปรตีนไหมไทยและแคลเซียมฟอสเฟต ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการด้านการผลิต รวมถึงการทดสอบความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล เพื่อเข้าสู่การรับรองและการศึกษาวิจัยทางคลินิกในลำดับต่อไป ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์นี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าผลิตภัณฑ์ราคาแพงจากต่างประเทศ เพิ่มโอกาสให้กับผู้ป่วยในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพให้กับประชาชนไทย เป็นการยกระดับและสร้างมูลค่าให้กับรังไหมไทยซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรของไทยสู่อุตสาหกรรมการแพทย์อีกด้วย” นพ.ศุภกิจ กล่าว

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า