ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ร่วมเพจลุงซาเล้งฯ และเซเว่นฯ โครงการ “ถังขยะอัจฉริยะ” บนแอปพลิเคชั่น “กรีนทูเก็ท”

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ ร่วมกับเพจลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป และเซเว่น อีเลฟเว่น เปิดตัวโครงการ ถังขยะอัจฉริยะ (Circular Bin) สำหรับใช้บนแพลตฟอร์มแอปพลิเคชั่น “กรีนทูเก็ท” (Green2Get) กว่า 40 แห่งที่หน้าร้านเซเว่น อีเลฟเว่นใน 7 มหาวิทยาลัยในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อแนะนำวิธีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง ง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว ต่อยอดไอเดียคนรุ่นใหม่ให้ใช้ได้จริง

งานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการฯ จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 ณ Co-Working Space อาคาร THE TARA ถ.แจ้งวัฒนะในการนี้ ผศ.ดร.ฉัตรพันธ์ จินตนาภักดี ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ จุฬาฯ เป็นผู้แทนจุฬาฯ ร่วมในงานแถลงข่าวครั้งนี้ 

นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล กรรมการผู้จัดการ (ร่วม) บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้บริหาร เซเว่น อีเลฟเว่น และ เซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่าเซเว่น อีเลฟเว่น ได้ดำเนินโครงการด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายใต้นโยบาย เซเว่น โก กรีน  เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง  ตั้งแต่ปี 2550 เพื่อ ลด และ เลิก ใช้ถุงพลาสติกที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่นทั่วประเทศ  เพื่อเป็นการสานต่อแนวคิด “ปลูกจิตสำนึกเพื่อสิ่งแวดล้อม” ในการรณรงค์และเชิญชวนลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม  เซเว่น อีเลฟเว่น ได้เปิดตัวโครงการ Circular Bin จาก Application Green2Get7 มหาวิทยาลัย ร่วมกับ 7 GO Green ร่วมกับ ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป  เพื่อประสานความร่วมมือผลักดันโครงการนวัตกรรมที่เกิดจากไอเดียของคนรุ่นใหม่นำไปสู่การรณรงค์ให้เกิดการแยกขยะที่ถูกต้อง

โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างเพจลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป เซเว่น อีเลฟเว่น และมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) นำร่องโครงการเปลี่ยนถังขยะหน้าร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เป็นถังขยะอัจฉริยะ (Circular Bin) โดยทำงานร่วมกับแอฟพลิเคชั่นกรีนทูเก็ท (Green2Get  Application) ผู้ใช้สแกนบาร์โค้ดสินค้าใดๆ บริเวณหน้าถัง แอปพลิเคชันจะบอก วิธีการคัดแยกและถังที่ควรทิ้งให้ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้ขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อย่างมีประสิทธิภาพ 

  เปรม พฤกษ์ทยานนท์ เจ้าของเพจ ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป กล่าวว่า แอพลิเคชั่น Green2Get ได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากหน่วยบริหารและจัดการต้นทุนด้านการเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ภายใต้การกำกับของสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เพื่อให้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริโภคในการช่วยคัดแยกขยะให้ง่ายขึ้น เพียงผู้ใช้งานสแกนบาร์โค้ดสินค้าก็จะพบวิธีการคัดแยกรวมถึงวัสดุที่แยกได้และสามารถหาผู้รีไซเคิลที่ต้องการวัสดุนั้นๆที่อยู่ใกล้ตัวได้ 

ในเบื้องต้นคู่มือการคัดแยกขยะจะถูกสร้างขึ้นโดยผู้ใช้งานช่วยกันทำฐานข้อมูลสินค้า ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าพร้อมวิธีการคัดแยกขยะ จำนวนกว่า 25,000 ชิ้น ในระบบ โดยอนาคตจะเปิดให้ผู้ผลิตซึ่งเป็นเจ้าของสินค้านั้นๆเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเองและเป็นผู้สนับสนุนการหมุนเวียนสินค้าของตนเองได้  จากนั้นทางผู้ออกแบบจะนำผลทการทดลองใช้จริงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาฟีเจอร์ใหม่เพื่อใช้ข้อมูลที่มีอยู่ตอบโจทย์การคัดแยกขยะให้กับคนทั่วไปต่อไป

ภายในงานเปิดตัว “Circular Bin จาก Application Green2Get 7 มหาวิทยาลัย ร่วมกับ 7 GO Green ร่วมกับลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป ได้รับเกียรติจาก นางจงรักษ์ ฐินะกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมและเผยแพร่ และผู้อำนวยการกองส่งเสริมความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ ดร.ชัยพล จันทะวัง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมกิจการเยาวชนและลูกเสือ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมงาน โดยมี นายสหภาพ วงศ์ราษฎร์ (มิกซ์) นิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2564 มาร่วมพูดคุยถึงวิธีการคัดแยะขยะพลาสติกง่ายๆด้วยตัวเอง พร้อมเชิญชวนนิสิตนักศึกษาร่วมทดลองใช้แอพลิเคชั่น กรีนทูเก็ท (Green2Get) เพื่อลุ้นเป็นส่วนหนึ่งในงานแฟนมีตติ้ง ปลูกต้นไม้ในช่วงเดือนมกราคม 2565 อีกด้วย 

ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลด แอพลิเคชั่น กรีนทูเก็ท (Green2Get) ได้ทาง App Store และ Play Store

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า