รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 ธันวาคม 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
นิสิตชมรม CUHAR คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ศึกษาและพัฒนา “จรวดความเร็วเสียงเพื่องานวิจัย” ได้รับคัดเลือกเป็นนิสิตไทยทีมแรกที่เข้าร่วมการแข่งขันจรวดความเร็วเสียงในระดับนานาชาติ รายการ “Spaceport America Cup 2022” ที่สหรัฐอเมริกา
สมาชิกชมรม CUHAR ซึ่งได้รับคัดเลือกเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้เป็นนิสิตชั้นปีที่ 2 หลักสูตรนานาชาติ (International school of Engineering :ISE) สาขาวิศวกรรมอากาศยาน (Aerospace Engineering) นำโดย ภูวิศ เชาวนปรีชา สิริวัชร์ สิริรัตนชัยกุล ภวินท์ กฤติยานิธิ พีรวิชญ์ จิระคุณากร พศิน มนัสปิยะ กฤตนุ หงษ์วิหค นิติพจน์ สืบพานิชย์ และภูวนัฏฐ์ พัทระฐวินัน
จุดเริ่มต้นในการพัฒนาจรวดความเร็วเสียงเพื่องานวิจัย
ภูวิศ เชาวนปรีชา Project Manager ประธานชมรม CUHAR และสิริวัชร์ สิริรัตนชัยกุล Project Engineer รองประธานชมรมฯ เปิดเผยว่า ในต่างประเทศมีชมรมเกี่ยวกับการสร้างจรวดเข้าร่วมการแข่งขัน และส่งจรวดขึ้นไปยังอวกาศ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีพื้นที่ให้นิสิตได้ทำโครงการในลักษณะนี้ นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สาขาวิศวกรรมอากาศยานจึงรวมตัวกันจัดตั้งชมรม CUHAR ขึ้น เพื่อรวบรวมสมาชิกที่มีความสนใจด้านจรวดและอวกาศสำหรับให้สมาชิกได้เข้ามาหาความรู้เกี่ยวกับจรวด และได้ลงมือออกแบบจรวดจริงๆ ซึ่งจะพัฒนาทักษะด้านการทำจรวดให้สมาชิกที่สนใจ
การแข่งขันจรวดความเร็วเสียง Spaceport America Cup 2022 น่าสนใจอย่างไร
Spaceport America Cup 2022 เป็นหนึ่งในการแข่งขันจรวดความเร็วเสียงที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับนานาชาติ จะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2565 ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการแข่งขันพัฒนาวิศวกรรมจรวดความเร็วเสียงที่ใช้ในงานวิจัยหรือทดสอบอุปกรณ์ต่างๆ มีนิสิตนักศึกษาจากสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 150 สถาบัน โดยผู้เข้าร่วมแข่งขันจะมีส่วนร่วมในการออกแบบ สร้าง และยิงจรวดความเร็วเสียง แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ การออกแบบ สร้างและยิงจรวดความเร็วเสียงในระดับความสูง 10,000 Feet และ 30,000 Feet โดยนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จะเข้าร่วมแข่งขันในระดับความสูง 10,000 Feet
ขั้นตอนการพัฒนาจรวดความเร็วเสียง
เริ่มจากการหาข้อมูลจากทีมที่เคยเข้าร่วมแข่งขันมาก่อน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการออกแบบจรวด โดยมีการศึกษาข้อดีและข้อเสียของแต่ละทีมเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขในการพัฒนาจรวด จากนั้นจะศึกษากฎระเบียบข้อบังคับของการสร้างจรวดเพื่อความปลอดภัยในการปล่อยจรวด ต่อมาเป็นขั้นตอนของการออกแบบจรวด ตั้งแต่การเลือกรูปแบบจรวด ความยาว การออกแบบทุกชิ้นส่วนและรายละเอียดเพื่อนำไปเขียนแบบ จากนั้นจึงเป็นขั้นตอนการประกอบจรวดทั้งลำ ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการทดสอบจรวดทุกชิ้นส่วนเพื่อให้มีความปลอดภัยสูงสุดในการทำงาน
จุดเด่นของทีม CUHAR ตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันระดับนานาชาติ
นิสิตหลักสูตร ISE สมาชิกชมรม CUHAR ที่เข้าร่วมการแข่งขันทั้ง 13 คน มีการแบ่งหน้าที่การทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย ทีม Technical สำหรับดูแลเรื่องจรวดทั้งหมด ทีม PR ทีม Sponsor และ ทีม Visa ทุกคนในทีมมีความมุ่งมั่นตั้งใจเพื่อเป้าหมายร่วมกัน แม้จะเป็นนิสิตชั้นปีที่ 2 ยังไม่ได้เรียนเนื้อหาที่ลงลึกเกี่ยวกับด้านจรวดมากนัก แต่การเรียนในหลักสูตรเป็นรูปแบบ Project-Base ทุกคนจึงมีประสบการณ์ในการออกแบบโปรเจคที่เกี่ยวกับวิศวกรรม ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ทำให้งานออกแบบเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ในการหาความรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียน ช่วยให้มีความรู้ในด้านนี้มากยิ่งขึ้น
ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ
ได้ใช้ความรู้ในด้านหลักการทางวิศวกรรมในการออกแบบสร้างและยิงจรวด ทุกขั้นตอนในการทำงานจะต้องมีเหตุผลรองรับ แสดงให้เห็นว่าจรวดที่เรานำไปแข่งขันมีความปลอดภัย และผ่านการทดสอบที่ครบถ้วน การได้เข้าร่วมแข่งขันในรายการนี้ถือเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญที่ได้ร่วมกันทำงานเป็นทีม และได้ประสบการณ์เรื่องการแบ่งเวลา หลังจากการเรียนในการทำโครงการนี้ การได้เป็นตัวแทนนิสิตไทยไปแข่งขันระดับนานาชาติเป็นความภาคภูมิใจและเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว ในอนาคตทีมของเรามีเป้าหมายที่จะพัฒนาจรวดซึ่งเป็นงานที่เรารักและท้าทายความสามารถต่อไป
“ขอขอบคุณทุกคนในทีมที่มีเป้าหมายและพร้อมที่จะประสบความสำเร็จไปด้วยกัน ขอบพระคุณอาจารย์ที่ปรึกษาทุกท่านที่พร้อมช่วยเหลือเสมอพวกเรา ไม่ได้มุ่งที่ชัยชนะในการแข่งขัน หรือต้องได้ลำดับที่เท่าไหร่ แต่มองว่าสิ่งสำคัญที่มีค่าคือประสบการณ์ ความรู้ และความเข้าใจในการทำงานเป็นทีม นี่คือนิยามของความสำเร็จของพวกเรา” ภูวิทย์ และสิริวัชร์ตัวแทนชมรม CUHAR กล่าวในที่สุด
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้