รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 ธันวาคม 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ นักวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้รับรางวัล Grand Prize และรางวัลเหรียญเงินจากงาน SEOUL International Invention Fair 2021 (SIIF 2021) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 4 ธันวาคม 2564 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี สร้างชื่อเสียงแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในระดับนานาชาติ ดังนี้
– รางวัล Grand Prize ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดในงาน Seoul International Invention Fair 2021 จากผลงาน “การทำวัคซีนปลาด้วยนวัตกรรมแบบไร้เข็ม”(Fish Vaccination by Needle-free innovation) เป็นการนำองค์ความรู้ทางนาโนเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของวัคซีน โดยการห่อหุ้มวัคซีนเพื่อการนำส่งแอนติเจนของเชื้อก่อโรคในปลา และการดัดแปลงพื้นผิวอนุภาคนาโนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมและเกาะติดเยื่อเมือก ทำให้สามารถใช้วัคซีนรูปแบบแช่หรือกิน ทดแทนการฉีดแบบรายตัว ลดความเสียหายและถูกหลักสวัสดิภาพสัตว์
ทีมวิจัยผู้พัฒนานวัตกรรมนี้ ได้แก่ รศ.น.สพ.ดร. ชาญณรงค์ รอดคำ รศ.น.สพ.ดร. นพดล พิฬารัตน์ อ.ดร.ธีรพงศ์ ยะทา สพ.ญ.ดร.สิริกร กิติโยดม สพ.ญ.พิมวรางค์ สุขการัณย์ และ ดร. อนุรักษ์ บุญน้อย จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
สามารถรับชมวิดิโอนำเสนอผลงานเรื่อง การทำวัคซีนปลาด้วยนวัตกรรมแบบไร้เข็ม ได้ที่ https://youtu.be/J9boqK1M41U
– รางวัลเหรียญเงิน (Silver Prize) จากผลงาน “สารควบคุมการเคลื่อนไหวในสัตว์น้ำ” (Aquapeace-plus) ซึ่งเป็นสารควบคุมการเคลื่อนไหวในสัตว์น้ำ เพื่อสวัสดิภาพสัตว์น้ำสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การตรวจสุขภาพสัตว์น้ำ การทำวัคซีน การคัดขนาด การขนส่งและกิจกรรมต่างๆ โดยทีมวิจัยพัฒนาออกมาใน 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบน้ำ เม็ดบีดและผงแห้ง โดยนวัตกรรมดังกล่าวได้ใช้เทคโนโลยีตัวพาระดับนาโนในการห่อหุ้มสารสกัดจากธรรมชาติ และนำส่งเข้าสู่ลำตัวสัตว์น้ำ เพิ่มประสิทธิภาพในการ ดูดซึมและการออกฤทธิ์ ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือความเสียหายกับสัตว์น้ำและผู้ใช้ ทีมวิจัยผู้พัฒนานวัตกรรมนี้ ได้แก่ รศ.น.สพ.ดร.นพดล พิฬารัตน์ อ.ดร.ธีรพงศ์ ยะทา สพ.ญ.ดร.สิริกร กิติโยดม และนายจักรวาฬ ยศถาวรกุล จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้