รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
12 ธันวาคม 2564
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม 2564 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารหอพระสมุดส่วนพระองค์ วังสระปทุม สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงร่วมกิจกรรมการแสดงปาฐกถาชุด “ฉัฐปาฐกถา พฤทธาจารย์” ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ออนไลน์) ซึ่งถ่ายทอดจากห้องประชุมชั้น 7 อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้แสดงปาฐกถาเฝ้าฯ รับเสด็จผ่านออนไลน์
ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมแผ่นจารึกที่จะเชิญไปผนึก ณ บริเวณซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อพระฤกษ์ตึกบัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กราบบังคมทูลสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ผศ.ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา รองอธิการบดี กราบบังคมทูลประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อ.ศิรธัช ศิริชุมแสง ผู้ช่วยอธิการบดี กราบบังคมรายงาน และกราบบังคมทูลเบิกผู้แสดงปาฐกถาชุด “ฉัฐปาฐกถา พฤทธาจารย์” ผ่านระบบออนไลน์
จากนั้น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงฟังการแสดงปาฐกถาชุด“ฉัฐปาฐกถา พฤทธาจารย์” จำนวน 6 เรื่อง ที่แสดงถึงพระราชกรณียกิจ และ พระปรีชาสามารถ 6 ด้านของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย
– การปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการสื่อสารมวลชน” โดย รศ.จุมพล รอดคำดี
– การปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการศึกษา” โดย รศ.ดร.กรรณิการ์ สัจกุล
– ปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับศิลปะ” โดย ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์
– ปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับภาษาและวรรณกรรม” โดย ผศ. ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ
– ปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับนิติศาสตร์ และรัฎฐประศาสนศาสตร์” โดย ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ
– ปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดี” โดย อ.สถาพร อรุณวิลา
หลังจากจบการแสดงปาฐกถา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพระราชทานของที่ระลึกแก่ผู้แสดงปาฐกถา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดการแสดงปาฐกถาชุด “ฉัฐปาฐกถา พฤทธาจารย์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโอกาสครบ 140 ปี แห่งวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ในปี 2564 เพื่อน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณและเผยแพร่พระอัจฉริยภาพให้เป็นที่ประจักษ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ตลอด 15 ปีแห่งรัชสมัย ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ ทรงนำประเทศให้ล่วงพ้นภัยจากลัทธิล่าอาณานิคม ทั้งยังพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์พระพุทธศาสนาและศาสนาต่าง ๆ ทรงเพิ่มพูนสรรพวิทยาการของชาติด้วยบทพระราชนิพนธ์อันทรงคุณค่าเป็นจำนวนมาก จนทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า”
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรม ทรงส่งเสริมการแสดงความคิดเห็นและสื่อสารมวลชน ทรงมีพระบรมราโชบาย จะฝึกฝนเยาวชนในด้านการศึกษา ทรงก่อตั้งกิจการลูกเสือและเสือป่า ทรงสถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย และในปี 2524 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ยกย่องพระเกียรติคุณให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครเป็นจำนวนมาก
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้