รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
14 ธันวาคม 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม
โครงการ “กล่องรอดตาย” นวัตกรรมบริการแพลตฟอร์มออนไลน์ดูแลผู้ป่วย Home Isolation โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ให้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าชิงรางวัล “United Nations Public Service Awards 2022” โดย จะเข้ารับการประเมินในสาขา “องค์กรที่ยืดหยุ่น ปรับตัว และตอบสนองเชิงนวัตกรรมต่อการระบาดของ COVID-19” (Institutional resilience and innovative responses to the COVID-19 pandemic) ซึ่งพิจารณาจากผลงานการเพิ่มมาตรการคุ้มครองทางสังคมด้วยบริการที่สร้างสรรค์ รับผิดชอบต่อสังคม และครอบคลุมทั่วถึงประชาชนทุกกลุ่ม เพื่อรับมือกับวิกฤตในปัจจุบัน ทั้งนี้จะมีการประกาศผลให้อย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน .2565 เนื่องในวัน “UN Public Service Day”
รางวัล United Nations Public Service Awards (UNPSA) เป็นรางวัลขององค์การสหประชาชาติที่มอบให้แก่หน่วยงานด้านการให้บริการสาธารณะของประเทศสมาชิกที่มีผลงานโดดเด่น จัดตั้งขึ้นโดยคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC) เพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมบริการภาครัฐในระดับนานาชาติ สอดคล้องกับวาระและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านงานบริการภาครัฐ บนพื้นฐานของการใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และส่งเสริมการบริหารภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส เสมอภาคทั่วถึง และเท่าเทียม ภายใต้แนวคิดไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยมอบหมายให้ Division for Pubic Administration and Development Management (DPADM) ทำหน้าที่บริหารจัดการรางวัลและเริ่มมอบรางวัลนี้ครั้งแรก เมื่อปี 2003
สำหรับโครงการ “กล่องรอดตาย” เป็นแนวคิดและความร่วมมือของสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค มีลักษณะเป็นกล่องบรรจุยาและเวชภัณฑ์พร้อมสำหรับการกักตัว 14 วัน ช่วยเสริมการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อยที่รักษาที่บ้านหรืออยู่ระหว่างรอเตียง (Home Isolation) ซึ่งอาจยังไม่มีความพร้อมในด้านอุปกรณ์พื้นฐานและยารักษาโรคเบื้องต้น พร้อมมีระบบติดตามอาการผ่านไลน์ออฟฟิเชียลเพื่อให้ผู้ติดเชื้อสามารถติดต่อสื่อสารกับแพทย์ที่สะดวกรวดเร็วขึ้น
สำหรับประเทศไทย เริ่มส่งผลงานเข้าชิงรางวัล UNPSA มาตั้งแต่ปี 2007 และมีหน่วยงานรัฐถึง 12 แห่งที่เคยได้รับรางวัลนี้มาแล้ว แต่ยังไม่เคยมีมหาวิทยาลัยของประเทศไทยได้รับรางวัลจากเวทีนี้มาก่อน ครั้งนี้จึงเป็นนิมิตหมายอันดีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แวดวงอุดมศึกษาไทย
ร่วมเชียร์โครงการ “กล่องรอดตาย” คว้ารางวัลระดับโลกให้คนไทยได้ชื่นชมกันอีกครั้ง ผู้ที่สนใจสามารถรับทราบข้อมูลโครงการ “กล่องรอดตาย” นวัตกรรมบริการจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อดูแลผู้ป่วย Home Isolation ในสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ได้ที่ https://youtu.be/PlaF-AC5spo และอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ “กล่องรอดตาย” ได้ที่ https://www.chula.ac.th/highlight/48984/
นิสิตเภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จัด “ค่าย 3 สัญจร สอนสัมพันธ์”ส่งเสริมการเรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนจังหวัดอ่างทอง
นิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ “INNOVATORS IMPACT CHALLENGE 2025” สร้างสรรค์นวัตกรรมโปรตีนจากรังไหม
เชิญเข้าร่วมอบรมหัวข้อ “AI กับความเป็นส่วนตัว: เราควบคุมหรือถูกควบคุม?”
9 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องอำไพ สุจริตกุล คณะครุศาสตร์
การสร้าง Course Syllabus และการประเมินการเรียนการสอนผ่านระบบ myCourseVille ในระบบทวิภาค และระบบทวิภาค-นานาชาติ ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2567
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ เชิญฟังการบรรยายพิเศษ “PDPA OK Aha! เข้าใจความท้าทายจนนำไปปฏิบัติได้”
24 เมษายน 2568 เวลา 09.00 - 12.00 น. หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ อาคาร 3
สถาบันภาษา จุฬาฯ จัดการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ ประจําปี 2568 (46th Language Testing Research Colloquium: LTRC 2025)
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้