ข่าวสารจุฬาฯ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติทางออนไลน์ เรื่อง “สายนทีแห่งวิทยา 60 ปี ภาควิชาภาษาตะวันออก”

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม 2564 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออก ณ วังสระปทุม ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติเรื่อง “สายนทีแห่งวิทยา 60 ปี ภาควิชาภาษาตะวันออก” คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งถ่ายทอดสดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ออนไลน์) จากห้องประชุมชั้น 7 สํานักงานวิทยทรัพยากร อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กราบบังคมทูลรายงาน ในการนี้ ทรงมีพระราชดำรัสเปิดการประชุม ศ.ห่าว ผิง อธิการบดีมหาวิทยาลัยปักกิ่ง กราบบังคมทูลสารแสดงความยินดีทางออนไลน์

            ในโอกาสนี้ ทรงฟังปาฐกถาเรื่อง “สิ่งที่แฝงอยู่ในตัวภาษา” โดย ศ.ปั๋วเหวินเจ๋อ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และทรงฟังการบรรยายพิเศษเรื่อง “การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมบนเส้นทางสายไหม: การเชื่อมต่อระบบจักรวาลวิทยาของศิลปะถ้ำเชิงพระพุทธศาสนาในรัฐดุลฮวง ช่วงต้นศตวรรษที่ 6”  (Intercultural exchanges on the Silk Road: Syncretistic Cosmology in the Buddhist Cave Art of Dunhuang in the Early 6th Century) โดย ผศ.ซาโตมิ ฮิยามะ มหาวิทยาลัยเกียวโต จากนั้น ผศ.ดร.สืบพงศ์  ช้างบุญชู กราบบังคมทูลรายงานประวัติความเป็นมาของภาควิชาภาษาตะวันออก และนำเสนอนิทรรศการ “สายนทีแห่งวิทยา 60 ปี ภาควิชาภาษาตะวันออก” ผ่านวีดิทัศน์

            ในโอกาสครบรอบ 60 ปีภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ นอกจากการประชุมวิชาการนานาชาติเรื่อง “สายนทีแห่งวิทยา 60 ปีภาควิชาภาษาตะวันออก” แล้ว ยังมีการจัดทำหนังสือ ที่ระลึก หนังสือรวมบทความวิชาการ นิทรรศการ และการเสวนาทางวิชาการ    

ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ มีจุดเริ่มต้นจากแผนกวิชาภาษาตะวันออก  คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อปี 2504 และเปลี่ยนเป็นภาควิชาภาษาตะวันออก เมื่อปี 2522 ปัจจุบันภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ประกอบด้วย 7 สาขาวิชา ได้แก่ ภาษาเอเชียใต้ ภาษาญี่ปุ่น ภาษามาเลย์ ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม ภาษาเกาหลี และภาษาอาหรับ ที่ผ่านมาภาควิชาภาษาตะวันออกผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และเป็นหลักทางวิชาการด้านภาษาตะวันออกและบูรพคดีศึกษาเป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติและนานาชาติ

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า