ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ร่วมมือกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และดิ โอเชียน คลีนอัพ โครงการกำจัดขยะพลาสติกในแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และดิ โอเชียน คลีนอัพ (The Ocean Cleanup) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจากประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ใช้ข้อมูลและงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อกำจัดขยะในมหาสมุทร ร่วมมือกันในโครงการกำจัดขยะพลาสติกจากแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯ พร้อมทั้งศึกษากลไกพฤติกรรมเชิงลึกของขยะพลาสติกในทุกช่วงเวลา เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

          ความต้องการใช้พลาสติกสังเคราะห์จากปิโตรเลียมเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมในช่วงทศวรรษ 1950 ทั่วโลกมีการใช้พลาสติกเพียงสองล้านตัน ปัจจุบันกลับใช้มากถึงสี่ร้อยล้านตันต่อปี โดยพลาสติกได้ถูกนำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เมื่อสิ้นอายุการใช้งาน พลาสติกเหล่านี้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม

          “จากจำนวนพลาสติกมากกว่าแปดล้านตันทั่วโลก ร้อยละ 80 ของพลาสติกเหล่านั้นกลายเป็นขยะในหลุมฝังกลบหรือปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม  ทีมนักวิจัยนำโดย ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ และรองกรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ จุฬาฯ พร้อมด้วยนักวิชาการอาวุโสจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และหน่วยงานต่าง ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และสถาบันวิจัยสังคม จึงได้ร่วมมือกันในโครงการนี้

          “จากการที่ขยะพลาสติกไหลลงสู่มหาสมุทรผ่านแม่น้ำเป็นเส้นทางหลัก คาดการณ์ว่ามีขยะพลาสติกจากทั่วโลกไหลลงสู่แม่น้ำเป็นจำนวน 0.8–2.7 ล้านตันในแต่ละปี ความร่วมมือทางวิชาการและลักษณะเฉพาะของแม่น้ำเจ้าพระยาในฐานะ “ห้องปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม” เป็นการสร้างโอกาสที่ดี ในการช่วยพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดมลภาวะพลาสติก การเดินทางสู่ทะเล และจุดสิ้นสุดของขยะพลาสติก” ดร.โทมัส มานี หัวหน้านักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมด้านแม่น้ำแห่งดิ โอเชียน คลีนอัพ กล่าว

          ดิ โอเชียน คลีนอัพ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และบริษัทในเครือของ Asimar Ecomarine ได้ติดตั้งเรือดักขยะแม่น้ำพลังแสงอาทิตย์ Interceptor™ ในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งในภารกิจกำจัดขยะพลาสติกในมหาสมุทรและในแม่น้ำที่มีมลพิษมากที่สุด โดยคาดว่าจะสามารถสกัดขยะพลาสติกได้ประมาณ 80 – 300 ตันต่อปี ช่วยเสริมสร้างความตระหนักรู้ในปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรและสำรวจความเป็นไปได้อื่น ๆ เพื่อสกัดกั้นขยะพลาสติกในแม่น้ำสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

          ดร.มานี ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยได้แนะนำผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษพลาสติกจากดิ โอเชียน คลีนอัพ ให้ทำงานร่วมกับโครงการนี้ มีความเชื่อว่า “หากเราวัดผลไม่ได้ เราก็จะจัดการไม่ได้” ดังนั้น ทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องจึงได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงและความร่วมมือเพื่อผลักดันการวิจัยเชิงลึกในการพัฒนาความเข้าใจของประชาชน รัฐบาล และนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมนี้

          ทั้งนี้ โครงการวิจัยกำจัดขยะพลาสติกจากแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯ มีกำหนดระยะเวลา 3 ปี (ปี 2564-2567) โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยในส่วนที่ติดกับตัวเมืองของแม่น้ำเจ้าพระยาโดยรอบกรุงเทพฯ เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ยังเข้าใจกลไกของฟลักซ์ของขยะพลาสติกตามแต่ละช่วงเวลาไม่กระจ่างนัก เช่น ขยะพลาสติกรั่วไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อใดและอย่างไร เมื่อใดจะถูกชะลงน้ำ เร็วและไกลเพียงใด สัดส่วนขยะพลาสติกจากส่วนใดของแม่น้ำที่จะถูกพัดถึงปากแม่น้ำและไหลลงอ่าวไทย พลาสติกจำนวนมากเท่าใดและประเภทใดจะถูกสกัดกั้นด้วยเรือ Interceptor™ เป็นต้น

          เพื่อตอบคำถามเหล่านี้ นักวิจัยจะติดกล้องสำรวจตามลำน้ำสาขาและบนสะพานข้ามแม่น้ำ ปล่อยเครื่องติดตามจีพีเอส (Global Positioning System: GPS) ลงในลำน้ำติดตามเส้นทางการไหล และสัมภาษณ์คนในพื้นที่เกี่ยวกับความตระหนักรู้และความเชื่อเกี่ยวกับการปล่อยของเสียในครัวเรือนลงสู่แม่น้ำ

          “เราจำเป็นต้องเก็บหลักฐานเชิงประจักษ์ทั้งเพื่อสนับสนุนและโต้แย้งกับข้อมูลของแบบจำลองในปัจจุบัน ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากโครงการนี้ ไม่เพียงแต่จะทำให้เข้าใจและสามารถแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อแหล่งน้ำอื่น ๆ อีกด้วย” ดร.สุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผู้แทนจากภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในโครงการนี้กล่าว

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า