รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 ธันวาคม 2564
ข่าวเด่น
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ ร่วมมือทางวิชาการเปิดหลักสูตรควบข้ามระดับทันตแพทยศาสตรบัณฑิตและสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาฯ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างความรู้ความสามารถของบัณฑิตทันตแพทย์ด้านการบริหารงานสาธารณสุข รวมทั้งสร้างความร่วมมือในการผลิตงานวิจัยด้านทันตสาธารณสุขและสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศรวมทั้งเสริมสร้างสุขภาพโดยรวมของประชาชนอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมด้านวิชาการอื่นๆ ที่ส่งเสริมการพัฒนาด้านสาธารณสุขในระดับชุมชน ระดับชาติและนานาชาติเพื่อส่งเสริมศักยภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศและภูมิภาคที่มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการและวิจัย
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าว ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานในพิธี เมื่อวันอังคารที่ 28 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุมรฦกคุณ ชั้น 2 อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในการนี้ ศ.ทพ.ดร.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ศ.ดร.สถิรกร พงศ์พานิช คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ สาธารณสุข จุฬาฯ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการโดยมี ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและเชื่อมโยงกับสังคม และ รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ร่วมเป็นสักขีพยาน
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยว่า ความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้เป็นการเสริมสร้างศักยภาพของบัณฑิตทันตแพทย์จุฬาฯ ให้มีความรู้ความสามารถด้านสาธารณสุข ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาด้านทันตสาธารณสุขเพื่อประโยชน์ของประชาชนและสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหลักสูตรควบข้ามระดับทันตแพทยศาสตรฺหลักสูตรแรกในประเทศไทย โดยมีการบูรณาการข้ามศาสตร์และควบข้ามระดับปริญญาตรีและโท สามารถสำเร็จการศึกษาทั้งสองปริญญาได้ในระยะเวลา 6 ปี นับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างบัณฑิตทันตแพทย์แนวใหม่ที่จะมีบทบาทในการพัฒนาด้านสาธารณสุขของประเทศไทยในอนาคต นอกจากนั้ยังสร้างผลงานวิจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาด้านสาธารณสุขทั้งในระดับชุมชน ระดับชาติ ไปจนถึงระดับนานาชาติ
ศ.ทพ.ดร.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้จะใช้ระยะเวลาเพียง 6 ปี ได้ทั้งปริญญาตรีทันตแพทยศาสตร์ และปริญญาโทวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในการเป็นทันตแพทย์ที่พร้อมไปทำงานแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขในพื้นชุมชน ตลอดจนทำงานวิจัย และรองรับความต้องการทันตแพทย์ในระบบสาธารณสุขที่ยังประสบปัญหาเรื่องการกระจายทันตแพทย์ไปสู่ภูมิภาคต่างๆ
“ภาพรวมของประเทศไทย ทันตแพทย์ 1 คน ดูแลประชาชน 6,000 คน แต่ในบางภูมิภาค เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทันตแพทย์ 1 คน ต้องดูแลประชาชนถึง 10,000 คน นับว่าสูงมาก ความร่วมมือของหลักสูตรควบข้ามนี้จะช่วยสร้างทั้งทันตแพทย์และนักวิจัยในคนเดียวกัน รวมถึงเป็นการค้นหานิสิตทันตแพทย์ที่สนใจงานด้านสาธารณสุขจริงๆ เพื่อออกไปทำงานด้านทันตสาธารณสุขในชุมชนและท้องถิ่น สามารถนำความรู้ด้านสาธารณสุขที่มีมุมมองกว้างมากขึ้นมาทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานบริการด้านทันตสุขภาพของประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างสุขภาพโดยรวมของประชาชนอย่างยั่งยืน หลักสูตรนี้จะเริ่มดำเนินการในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565 สามารถรับนิสิตได้ 5 – 10 คนต่อปี” ศ.ทพ.ดร.พรชัย กล่าว
ศ.ดร.สถิรกร พงศ์พานิช คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ กล่าวว่า การผลิตบัณฑิตในหลักสูตรควบข้ามระดับทันตแพทยศาสตรบัณฑิตและสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต เป็นการผลิตทันตแพทย์ที่มีความสามารถในการดูแลชุมชนไปด้วยในเวลาเดียวกัน บัณฑิตในหลักสูตรจะมีมุมมองเกี่ยวกับชุมชนได้ครบทุกมิติ เป็นการเสริมการทำงานระดับสาธารณสุข และการทำงานวิจัยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาบัณฑิตจุฬาฯ ให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความพร้อมทั้งเรื่องการรักษาฟัน และการดูแลประชาชนในชุมชนของประเทศได้อีกด้วย
ศ.ดร.สถิรกร กล่าวเพิ่มเติมว่า“สาธารณสุขศาสตร์เป็นสหสาขาที่เกี่ยวข้องกับทุกศาสตร์และทุกภาคส่วน ผู้ที่เข้ามาเรียนต้องเป็นผู้ที่เปิดกว้างต่อสังคม อยากจะช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือผู้อื่น รวมถึงชุมชน หลักสูตรนี้จะช่วยหล่อหลอมให้นิสิตเห็นว่าการช่วยเหลือสังคมมีผลดีอย่างไร เพื่อที่จะได้เข้าใจชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีความรู้ในเรื่องการบริหารจัดการ การทำวิจัย เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนได้”
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้