รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
3 มกราคม 2565
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ทีมนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประกอบด้วย นายสภาวุฒิ จันทร์โหนง น.ส.พิไรรัตน์ กิระนันทวัฒน์ นายจักรวรรดิ ร่วมพัฒนา และ น.ส.กมลวรรณ จันทร์มณี คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดออกแบบฟาร์มเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางชีวภาพที่ดีในฟาร์มสุกรขนาดเล็กและขนาดกลางในภูมิภาคเอเชีย จากงาน “FAO-FAVA Regional Webinar in Celebration WAAW 2021” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ จากผลงานที่มีชื่อว่า “Project 4S-CUVET swine farm”
สภาวุฒิ จันทร์โหนง นิสิตชั้นปีที่ 6 คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตัวแทนทีมนิสิตสัตวแพทย์ จุฬาฯ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการออกแบบฟาร์มสุกรในครั้งนี้เปิดเผยว่า การประกวดออกแบบฟาร์ม “The WAAW Farm Design Challenge 2021” จัดโดยสมาพันธ์สมาคมสัตวแพทย์แห่งเอเชีย (FAO-FAVA) เป็นการประกวดออกแบบฟาร์มด้วยระบบ Biosecurity หรือฟาร์มที่ มีระบบการจัดการและมาตรการทางกายภาพที่ดำเนินการเพื่อป้องกันควบคุมโรค โดยลดความเสี่ยงของการนำเชื้อโรคเข้ามาสู่ฟาร์มสุกรขนาดกลางและเล็ก มีความจุสุกรสูงสุด 5,000 ตัว เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาระบบ biosecurity ในฟาร์มสุกร และการเลี้ยงสุกรที่ดีตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (welfare) เกษตรกรสามารถดำเนินการและป้องกันโรคได้จริง โดยใช้ต้นทุนและงบประมาณที่คุ้มค่า มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและเป็นที่ยอมรับทางสังคม การประกวดในครั้งนี้มีนิสิตนักศึกษาและผู้สนใจซึ่งมาจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียส่งผลงานเข้าร่วมประกวดจำนวน 19 ทีม โดยมี 6 ทีมจากประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้
สภาวุฒิเผยถึงจุดเด่นของผลงาน “Project 4S-CUVET swine farm” ว่า เป็นการออกแบบฟาร์มสุกรที่ตอบโจทย์การประกวดครั้งนี้อย่างชัดเจน ประกอบด้วย 4 S คือ Smallholder (การออกแบบสำหรับฟาร์มสุกรขนาดเล็กและขนาดกลาง) Safe (การป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ) Sustainability (การนำมาใช้ใหม่ โดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์) และ Smart (มีการเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในฟาร์ม เช่น การใช้หลังคาที่ทำจากหญ้าแฝก (vetiver grass) การใช้มูลสุกรมาทำถ่านชีวภาพ (biochar) ที่สำคัญคือการนำเสนอที่โดดเด่นน่าสนใจในรูปแบบวีดิโอ ความยาว 8 นาที ที่ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจน เข้าใจง่าย
“ทีมของเรามีเวลาเตรียมตัวในการประกวด 1 เดือน ขั้นตอนการออกแบบฟาร์มสุกรเริ่มจากการทำความเข้าใจกับรายละเอียดและจุดประสงค์ของการประกวด เกณฑ์การตัดสิน การวางแผนการทำงานร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งเป็นอาจารย์ในคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ นำโดย อ.สพ.ญ.ดร.มรกต นันทไพฑูรย์ จากนั้นจึงเริ่มต้นการทำงาน
“พวกเราทั้ง 4 คนในทีมแบ่งหน้าที่กันตามความถนัดของแต่ละคน แบ่งออกเป็น ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายทำโมเดล ฝ่ายตัดต่อวีดีโอ และฝ่ายทำเอกสารข้อมูลนำเสนอ การประกวดครั้งนี้มีความท้าทายความสามารถของพวกเราอย่างมาก เนื่องจากระยะเวลาที่กระชั้นชิดในการเตรียมตัวก่อนส่งผลงานเข้าประกวด การทำงานในสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งต้องสื่อสารผ่านทางออนไลน์ รวมถึงการเรียนรู้ทักษะเพิ่มเติมในเรื่องการผลิตวีดิโอเพื่อนำเสนอผลงาน อาจารย์ที่ปรึกษาได้ช่วยแนะนำแนวทางต่างๆ ซึ่งมีส่วนเป็นอย่างยิ่งในความสำเร็จครั้งนี้” สภาวุฒิ กล่าว
สภาวุฒิได้เผยถึงประสบการณ์อันมีค่าที่ได้รับจากการเข้าร่วมการประกวดครั้งนี้ว่า เป็นโอกาสได้ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม ได้เรียนรู้และลงมือทำสิ่งใหม่ๆ เช่น การวาดผังฟาร์มสองและสามมิติ การตัดต่อวีดีโอ การเตรียมสคริปต์ ฯลฯ ได้นำความรู้ที่ได้จากการเรียน ร่วมกับการสืบค้นข้อมูลและการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญมาบูรณาการให้เกิดเป็นผลงานที่เป็นรูปธรรม
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้