รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 มกราคม 2565
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2565 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
รศ.ไตรรัตน์ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในแวดวงสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัยด้านการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) โครงการรูปแบบที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุไทย เพื่อส่งเสริมสุขภาพกาย-ใจ ภายใต้แนวคิดชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการสร้างความร่วมมือ การมีส่วนร่วมระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ในการวางแผนตามหลักเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
รศ.ไตรรัตน์ เผยถึงความรู้สึกที่ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติว่า “ดีใจและขอบคุณสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่ให้ความสำคัญในเรื่องผู้สูงอายุ ผลงานวิจัยนี้ ผมและทีมวิจัยได้ศึกษาเรื่องนี้มาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว ต้องขอขอบคุณจุฬาฯ ที่ให้โอกาสคณาจารย์จากสหสาขาวิชาได้มาทำงานวิจัยร่วมกัน”
จุดเริ่มต้นในการทำงานวิจัยของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติรศ.ไตรรัตน์เริ่มต้นทำงานวิจัยเรื่องที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุเมื่อ 25 ปีที่แล้ว จากความพยายามที่จะสร้างบ้านสำหรับผู้สูงอายุให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานคู่มือ แต่ผลสุดท้ายคือผู้สูงอายุไม่ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน จึงสนใจศึกษาว่าเพราะเหตุใดผู้สูงอายุถึงไม่ปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ ทำให้รู้ถึงข้อจำกัดในการเลือกที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ นอกจากสภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัยทางกายภาพแล้ว ยังเลือกสภาพแวดล้อมทางสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม คือต้องอยู่ใกล้ญาติมิตร ชุมชน เดินทางไปมาหาสู่สะดวก ที่สำคัญต้องพึ่งพาตัวเองได้ ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุเกิดความภูมิใจมากกว่าการต้องพึ่งพาลูกหลาน
กว่า 20 ปีที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ รศ.ไตรรัตน์มีผลงานวิจัยจำนวนมาก แบ่งออกเป็นงานวิจัยขั้นพื้นฐาน เช่น มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับที่พักอาศัยและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุไทย การพัฒนาต้นแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุของสถานบริการสาธารณสุข ฯลฯ งานวิจัยประยุกต์เช่น การปรับสิ่งอำนวยความสะดวกของเมืองพัทยาเพื่อรองรับผู้สูงอายุและคนพิการ โครงการการออกแบบชุมชนน่าอยู่ผู้สูงวัยสำหรับผู้สูงอายุในชนบท และการปรับปรุงและพัฒนาต้นแบบที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุในชนบท การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล (Tourism For All) ฯลฯ งานวิจัยองค์ความรู้ใหม่ได้แก่สภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ 3 ช่วงวัย (วัยต้น วัยกลาง และวัยปลาย) ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากโครงการส่งเสริมการทำงานวิจัยเชิงลึกในสาขาวิชาที่มีศักยภาพสูง การศึกษาและพัฒนานโยบาย เครื่องมือ และต้นแบบที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุและผู้ทุพพลภาพ การศึกษาพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่มีอายุยืนของประเทศ ฯลฯ
“เราทำวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุและคนพิการต่อเนื่องมากว่า 20 ปี ครอบคลุมผู้สูงอายุทุกกลุ่มทั้งในเมืองหรือชนบท ผู้สูงอายุวัยต้น วัยกลาง วัยปลาย จนถึงผู้สูงอายุที่มีอายุ 100 ปี งานวิจัยของเราเน้น “จากหิ้งสู่ห้าง” มีการนำไปใช้จริง โดยมีบ้านต้นแบบต้นแบบที่นำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่ที่เหมาะสมได้” รศ.ไตรรัตน์ กล่าว
กลุ่มคนเปราะบางกับสถานการณ์สังคมสูงวัยการคุ้มครองสวัสดิภาพในกลุ่มคนเปราะบาง เช่น คนในชุมชนแออัด คนไร้บ้าน คนยากจน ฯลฯ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 10% คนกลุ่มนี้ต้องเผชิญปัญหาความยากจน เจ็บป่วย ถูกทอดทิ้ง การผลักภาระไปที่รัฐบาลเพียงอย่างเดียวอาจจะแก้ปัญหาไม่ได้ ชุมชนและภาครัฐต้องช่วยกันดูแลคนกลุ่มนี้ด้วยการส่งเสริมให้อยู่ที่เดิม โดยรัฐอาจมีมาตรการเฉพาะคนกลุ่มนี้ เช่น การปรับปรุงบ้าน การให้บริการสาธารณสุข เป็นต้น
เรียนรู้ผู้สูงวัยจากงานวิจัยเรื่องที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุรศ.ไตรรัตน์ กล่าวว่าช่วงเริ่มต้นโครงการวิจัยรูปแบบที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุไทยจะเน้นเรื่องความปลอดภัยทางสภาพแวดล้อมเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม จากกรณีศึกษาของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่ให้งบประมาณแก่กลุ่มผู้สูงอายุเพื่อปรับปรุงบ้าน พบว่ากลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเปราะบางไม่ได้นำเงินที่ได้ไปปรับปรุงสภาพแวดล้อมตามกายภาพที่ควรจะเป็น ทำให้การมองปัญหาในผู้สูงอายุคงมองเรื่องกายภาพเพียงอย่าเดียวไม่ได้ แต่ต้องเน้นไปที่ปัญหา 4 ด้าน ได้แก่ เรื่องสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อม คือต้องดูแลสุขภาพกายและใจของผู้สูงอายุไปพร้อมๆ กับสร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองได้ แล้วค่อยปรับบ้านให้ปลอดภัยกับผู้สูงอายุ
ลักษณะที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุต้องมีความปลอดภัย มีพื้นเรียบเสมอกันทั้งในบ้านและห้องน้ำ มีราวจับ พื้นไม่ลื่น ที่อยู่อาศัยมีแสงสว่างเพียงพอ ประตูที่ใช้เป็นบานเลื่อน ก๊อกน้ำลูกบิดประตูเป็นก้านโยก ช่องทางเดินมีความกว้าง 90 เซนติเมตร หน้าต่างบานลึก มีแสงสว่าง มองเห็นสวนและต้นไม้ นอกจากนี้พื้นที่ในบ้านไม่ควรใหญ่เกินไปเพื่อง่ายต่อการบำรุงรักษา มีพื้นที่เก็บของเพื่อให้ไม่รกเกะกะ ก่อให้เกิดปัญหาพลัดตกหกล้ม
ความสำคัญของชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงวัยชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงวัยเป็นแนวคิดขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อให้ผู้สูงวัยอยู่ในชุมชนได้อย่างเป็นสุข เป็นมิตรกับทุกคน ทุกวัย ทุกสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านกายภาพ เริ่มจากบ้านต้องปลอดภัย มีการเดินทางที่สะดวกสบาย มีพื้นที่สาธารณะที่ดี สามารถเข้าถึงได้ ด้านสังคม ต้องมีการมีส่วนร่วมทางสังคม นอกจากนี้ยังต้องมีการบริการพื้นฐาน ผู้สูงอายุต้องเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร มีบริการทางด้านสุขภาพ สิ่งอำนวยความสะดวก และระบบเศรษฐกิจที่สนับสนุนผู้สูงอายุอีกด้วย
จุดเด่นของงานวิจัยที่ตอบโจทย์สังคม“ผลงานวิจัยที่ผ่านมาเป็นงานที่ตอบโจทย์เชิงสังคมและชุมชน สามารถนำไปใช้ได้จริงโดยได้ริเริ่มแนวคิดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ คนพิการหรือที่เรียกว่าหลักการออกแบบเพื่อทุกคน นักวิจัยรุ่นหลังสามารถนำเอาแนวคิดนี้ไปพัฒนาต่อยอดเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ เรากำลังผลักดันให้รัฐบาลและภาคเอกชนสนใจในเรื่องนี้เพื่อปรับธุรกิจในการรองรับสังคมสูงวัยซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน” รศ.ไตรรัตน์เผยถึงจุดเด่นของงานวิจัยนี้
การสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุรศ.ไตรรัตน์เผยถึงปัญหาสำหรับผู้สูงอายุว่าเป็นเรื่องซับซ้อน จึงต้องมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน ครอบครัวเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการช่วยกันแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี
การจะสร้างแรงจูงใจให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมมือพัฒนาพื้นที่ของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องนั้น รัฐต้องเปลี่ยนบทบาทจากการสงเคราะห์เป็นพัฒนา ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครอบครัว เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน นำเบี้ยยังชีพมาช่วยสร้างงาน รณรงค์ส่งเสริมการสูงวัยในถิ่นเดิม (Aging in Place) ทั้งในระดับการอยู่อาศัยในบ้านหลังเดิม และในชุมชน เครือญาติเดิม พัฒนาระบบการดูแลที่บ้านในชุมชน (Home & Community Healthcare) ดูแลทั้งสุขภาพอนามัย ชีวิตความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อม ส่งเสริมให้เอกชนผลิตสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ โดยใช้มาตรการการส่งเสริมการลงทุน การลดภาษี ส่งเสริมให้ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุและคนพิการ สามารถจัดซื้อและติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ รวมถึงส่งเสริมให้เอกชนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่มีความต้องการเฉพาะ หรือกลุ่มที่มีความจำเป็นจริงๆ
แผนการทำงานวิจัยในอนาคตเน้นการทำวิจัยแบบสหสาขาวิชา ผลงานวิจัยที่จะดำเนินการต่อไปคือ โครงการวิจัยพัฒนาระบบต้นแบบรองรับสังคมสูงวัยในบริบทของชุมชนเมือง ภาคใต้และภาคตะวันออก
รศ.ไตรรัตน์ ฝากข้อคิดในการทำงานวิจัยให้ประสบความสำเร็จว่า “อยากให้นักวิจัยตั้งโจทย์ให้ หัวข้องานวิจัยมีความน่าสนใจ มีกลุ่มตัวอย่างที่ชัดเจน ไม่เกี่ยงงาน ไม่คิดถึงข้อจำกัดเรื่องเวลา จะทำให้เราทำงานวิจัยง่ายขึ้น หัวใจของนักวิจัยคือ “เราต้องรู้ว่าเราไม่รู้อะไร” เพราะตราบใดที่เรายังค้นคว้าหาความรู้อยู่เรื่อยๆ นั่นคือการทำหน้าที่เป็นนักวิจัยแล้ว”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้