รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
6 มกราคม 2565
ข่าวเด่น
ประเทศไทยเผชิญกับความแปรปรวนของธรรมชาติ ส่งผลให้ปริมาณของน้ำฝนในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เกิดภาวะน้ำท่วมและภัยแล้งขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงได้จัดสรรงบประมาณในการส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำด้านภัยแล้งและ น้ำท่วม
รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะประธานแผนงานเข็มมุ่งด้านการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้นำเสนอกรณีศึกษาการแก้ปัญหานำท่วม ตั้งแต่ระบบนิเวศ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ใน 4 พื้นที่ ประกอบด้วย จ.น่าน ราชบุรี อุบลราชธานี และสตูล โดยชี้ให้เห็นภาพในปัจจุบันของปัญหาน้ำมากในช่วงฝนตกหนัก และน้ำแล้งจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง
รศ.ดร.สุจริต เปิดเผยว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อปริมาณน้ำฝนที่ตกในช่วงเวลาที่ผ่านมา การบริหารจัดการน้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่จะบรรเทาสภาพน้ำท่วม น้ำแล้งให้อยู่ในขอบเขตที่ควบคุมได้ การจัดการน้ำโดยชุมชนต้องเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันเรื่องน้ำกินน้ำใช้ โดยการใช้น้ำที่มีอยู่จำกัดอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เกิดการกระจายรายได้ รู้คุณค่าทรัพยากร ชุมชนต้องเข้ามาจัดการเชิงรุกร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ และนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ต้องมีการขับเคลื่อนงานแบบ 3+2 คือ 1.การจัดการโครงสร้างพื้นฐาน 2.การสร้างกฎกติกา 3.พัฒนาคน ร่วมกับ 1.การสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยี 2.จัดตั้งกองทุนในพื้นที่ของตนเอง ทั้งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค คิดค้นนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในการจัดการน้ำและสร้างอาชีพ
รศ.ดร.สุจริต กล่าวเพิ่มเติมว่าสภาพอากาศในปัจจุบันกับเมื่อ 20-30 ปีที่ผ่านมามีความแตกต่างกันมาก วิธีการที่จะนำมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำในอนาคตขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เริ่มจากปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ เขื่อน แม่น้ำ ประตูน้ำ ปั๊มสูบน้ำ ท่อระบายน้ำ ต้องมีการออกแบบให้เหมาะสมในทุกพื้นที่ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำง่ายขึ้น ปัจจัยต่อมาคือเรื่องของกฎกติกาในบริหารการจัดการน้ำ สุดท้ายคือปัจจัยเรื่องคน ต้องปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง ต้องรับรู้ข้อมูลและนำข้อมูลที่ทันสมัยมาใช้ให้มากขึ้น
โครงการวิจัยมุ่งให้ชุมชนรับมือปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง
โครงการวิจัยเป็นการพัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ 30 ตำบลทั่วประเทศ โดยแยกเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ในแต่ละพื้นที่มีลักษณะของภูมิประเทศและปัจจัยเรื่องของคนที่แตกต่างกัน งานวิจัยเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากคนในพื้นที่เป็นผู้ประสบภัย จะต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาในระดับพื้นที่ไปจนถึงระดับตำบล อบต. รวมไปถึงการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาดังกล่าว
รศ.ดร.สุจริต กล่าวย้ำว่าระบบการป้องกันและวางแผนในเรื่องน้ำท่วมและน้ำแล้งในระดับพื้นที่จะต้องดึงชุมชนเข้ามาร่วมในการรับรู้ และสร้างแผนรองรับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่เน้นการสร้างความเข้มแข็งโดยมีกระบวนการ เนื้อหาหลักสูตรเพื่อพัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำให้สามารถวางแผนและทำงานร่วมกับ อบต.ได้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ และเป็นพื้นฐานของการแก้ปัญหาในพื้นที่อย่างแท้จริง
“ในงานวิจัยมีปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนา ได้แก่ การพัฒนากระบวนการ และเกณฑ์ที่พึงมี โดยเพิ่มระบบนวัตกรรมเข้าไปด้วยเพื่อพัฒนารูปแบบและแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถโยงปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ด้วยการสร้างระบบเชื่อมโยงจากความต้องการของชุมชนไปสู่แผนของ อบต. ทำให้ปัญหาระดับปัจเจกบุคคลมาสู่การแก้ปัญหาระดับกลุ่มได้ ซึ่งจะช่วยลดความขัดแย้งในพื้นที่ สร้างความมั่นคง ยกระดับรายได้ นำไปสู่การปฏิบัติในเชิงนโยบายได้” รศ.ดร.สุจริต กล่าวสรุปถึงเป้าหมายในงานวิจัยนี้
อย่างไรก็ตาม การสร้างความมั่นคงในมิติการพัฒนาสมัยใหม่ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการบริหารจัดการน้ำเป็นประเด็นสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม โดยในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ปัญหาเรื่องน้ำได้ถูกยกระดับจากเดิมที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของทุกคนในการดำรงชีพ มาสู่การเป็นตัวเชื่อมในการพัฒนา นอกจากนี้การลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเชิงสังคมเกี่ยวกับการจัดการน้ำที่ดีจะต้องมีกฎกติกาในการแบ่งปันช่วยเหลือ มีการใช้ข้อมูลความรู้เพื่อยกระดับความสามารถในการแก้ปัญหาจากในระดับบุคคลเป็นการแก้ปัญหาเชิงกลุ่ม การมีน้ำเพียงพอในจังหวะที่เหมาะสมจะสร้างโอกาสในการผลักดันการสะสมต้นทุนทางสังคม และเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้ นอกจากนี้น้ำยังช่วยหล่อเลี้ยงสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาโลกร้อนได้อีกด้วย
เป้าหมายทางสังคมด้านการบริหารจัดการน้ำของแผนงานยุทธศาสตร์
รศ.ดร.สุจริต เผยว่างานวิจัยในขั้นต่อไปจะยกระดับสู่ตัวอย่างของหน่วยงานในพื้นที่ด้วยการนำความรู้มาแก้ปัญหาในระดับเล็ก กลาง ใหญ่ รวมถึงปัญหาความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เราอยากสร้างต้นแบบที่มีพลัง เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาเชิงระบบ หลังจากนี้จะผลักดันให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปดำเนินงาน จากปีนี้ที่ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ 30 ตำบล ปีถัดไปจะถ่ายทอดให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปดำเนินการต่อ โดยขยายเป็น 300 ตำบล ซึ่งงานวิจัยจะช่วยสนับสนุนให้เกิดการขยายผลไปสู่การแก้ปัญหาในตำบลอื่นๆ ได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้