ข่าวสารจุฬาฯ

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับทุนสนับสนุน 61 ล้าน จาก DTRA กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา พัฒนาศูนย์ฝึกนิสิตสัตวแพทย์ จุฬาฯ ให้ได้มาตรฐานสากล

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับทุนสนับสนุนจำนวน 1.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (61 ล้านบาท) จาก Defense Threat Reduction Agency (DTRA) กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ในโครงการ “Thai Veterinary Capacity Building Through Biosecurity/Biosafety Improvement and A Community-Based Disease Surveillance Model”  ระยะเวลาการดำเนินงาน 3 ปี  โดยได้มีการลงนามในสัญญาการรับทุนเมื่อเดือนกันยายน 2564 ที่ผ่านมา

รศ.น.สพ.ดร.ชัยเดช อินทร์ชัยศรี

   

รศ.น.สพ.ดร.ชัยเดช อินทร์ชัยศรี รองคณบดีนโยบาย แผนและบริการวิชาการ  คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าว มีแผนงานในการปรับปรุง ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ระบบชีวอนามัย รวมถึงระบบการจัดการพลังงานและของเสีย ของหน่วยงานในศูนย์ฝึกนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จังหวัดนครปฐม จัดตั้งฟาร์มสาธิตเพื่อการเรียนการสอนและการวิจัย คลินิกปศุสัตว์เคลื่อนที่ และศูนย์การเรียนรู้ด้านการจัดการสุขภาพสัตว์โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิตัลอย่างยั่งยืน

โดยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่ง ภายใต้แผนการพัฒนาศูนย์ฝึกนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.นครปฐม ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ การบริการทางวิชาการ การวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อยกระดับการเรียนรู้ของนิสิต บุคคลภายทั่วไปให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งแบบออนไลน์ และการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ โดยมุ่งเน้นการพัฒนา ในด้านการประยุกต์ใช้ดิจิตัลเทคโนโลยี ในการจัดการฟาร์ม โรงพยาบาล หน่วยชันสูตรโรคสัตว์ และการให้บริการ พร้อมทั้งพัฒนาระบบความปลอดภัยทางชีวภาพและความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานให้ได้มาตรฐานระดับสากล พัฒนาโรงพยาบาลสัตว์-หน่วยบริการเคลื่อนที่อัจฉริยะ ห้องเรียนอัจฉริยะสำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการให้บริการทางไกล  และสร้างโปรแกรมซอฟแวร์การจัดการเพื่อเชื่อมโยงสรรพสิ่งที่สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตัวสัตว์ตลอดเวลา โดยใช้เทคนิคการบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่โดยส่งผ่านข้อมูลและประมวลผลบนระบบคลาวด์  ซึ่งจะสามารถติดตามการผลิตด้านต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้สามารถลดความสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต และแจ้งเตือนเมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้น สามารถให้บริการเพื่อแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรได้อย่างแม่นยำ ถูกต้อง และรวดเร็ว รวมถึงการขยายพื้นที่ให้บริการได้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ที่อินเตอร์เน็ตเข้าถึง รวมถึงการให้บริการทางไกลสำหรับฟาร์มที่อยู่ห่างไกลที่ขาดแคลนบุคลากรในการดูแลสุขภาพสัตว์และเพิ่มผลผลิตให้กับฟาร์ม

รศ.น.สพ.ดร.ชัยเดช กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้จะก่อให้เกิดการก้าวกระโดดทางวิชาการในด้านการเรียนการสอน งานวิจัย และงานบริการ โดยคาดหวังว่าหลังจากโครงการดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเป็นสถาบันที่ผลิตสามารถผลิตสัตวแพทย์ และบุคลากรในสายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถสูงในการใช้ดิจิตัลเทคโนโลยีในการส่งเสริมสุขภาพ สวัสดิภาพที่ดีแก่สัตว์ และเป็นมิตรแก่สิ่งแวดล้อม ให้เกิดการผลิตที่ยั่งยืน เกิดองค์ความรู้ในการเลี้ยงปศุสัตว์สมัยใหม่ในเขตร้อนชื้น ส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ก้าวสู่การเป็นแหล่งอ้างอิงระดับภูมิภาคและระดับโลกในอนาคต ปัจจุบันโครงการอยู่ในระหว่างการออกแบบโดยสถาปนิกและวิศกร  เมื่อโครงสร้างพื้นฐานแล้วเสร็จในปี  2566 จะสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีได้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2567

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า