รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 มกราคม 2565
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสำนักบริหารวิชาการจุฬาฯ ได้เผยแพร่ข้อแนะนำในการวางแผนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2564 ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ลงวันที่ 4 มกราคม 2565 โดยขอให้ปฏิบัติตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2564 ตามสถานการณ์ระดับที่ 1 โดยมีข้อแนะนำเพิ่มเติมดังนี้
การจัดการเรียนการสอน
▪ ในภาพรวมเป็นแบบผสมผสาน (Blended Learning)
➢ เน้นรูปแบบที่นิสิตสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ทุกที่ทุกเวลา ร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันแบบออนไลน์
➢ เลื่อนหรืองดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกันในสถานที่ตั้ง จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
▪ รายวิชาบรรยาย/สัมมนา
➢ แนะนำให้จัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกันแบบออนไลน์
▪ รายวิชาปฏิบัติการ
➢ แนะนำให้นำระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System) ที่สนับสนุนโดยจุฬาฯ เช่น MyCourseVille หรือระบบที่ให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เช่น Google Classroom มาใช้ในการบริหารจัดการรายวิชา
➢ กรณีที่หลักสูตรมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด หัวหน้าส่วนงานอาจพิจารณาให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกันในสถานที่ตั้ง
▪ การฝึกงาน การทัศนศึกษา หรือการดูงานภายในประเทศ
➢ แนะนำให้ปรับรูปแบบการฝึกงาน การทัศนศึกษา หรือการดูงานของแต่ละหลักสูตรเป็นแบบออนไลน์ โดยให้ใช้การมอบหมายงาน (Assignment Based) หรือให้ทำงานที่บ้าน (WFH) หรือในลักษณะ มอบหมายโครงการ (Project Based) และนัดประเมินหรือให้ข้อสังเกตแก่นิสิตเป็นระยะๆ ผ่าน ช่องทางออนไลน์
➢ กรณีที่หลักสูตรมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด หัวหน้าส่วนงานอาจพิจารณาให้มีการฝึกงาน การทัศนศึกษา หรือการดูงานภายในประเทศ ในสถานที่ตั้ง (Onsite)
การวัดและประเมินผลการศึกษา
▪ ในภาพรวมเป็นแบบผสมผสาน
➢ เน้นการวัดและประเมินผลผู้เรียนด้วยการใช้วิธีการผ่านช่องทางออนไลน์ โดยปรับรูปแบบจากการประเมินผลด้วยการทำข้อสอบไปเป็นการประเมินในลักษณะอื่น ๆ เช่น การมอบหมายงาน การทำรายงาน
➢ กรณีที่หลักสูตรมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด หัวหน้าส่วนงานอาจพิจารณาให้มีการวัดและประเมินผล ผู้เรียนในสถานที่ตั้ง
การสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรในสังกัด
➢ เน้นการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรในสังกัด ด้วยการใช้วิธีการผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น การสัมภาษณ์ออนไลน์ การส่งผลงานแบบออนไลน์
➢ กรณีที่หลักสูตรมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด หัวหน้าส่วนงานอาจพิจารณาให้มีการสอบคัดเลือก บุคคลเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรในสังกัดในสถานที่ตั้ง
การบริหารจัดการทั่วไป
▪ ต้องสื่อสารถึงนิสิต ผู้สมัครสอบ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบล่วงหน้าถึงขั้นตอน กระบวนการ หรือรายละเอียดของการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลของรายวิชา หรือการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรในสังกัด การฝึกงาน การทัศนศึกษา หรือการดูงานภายในประเทศของแต่ละหลักสูตร ในสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยนไป
▪ ปรับตารางสอนของนิสิตให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 เช่น ปรับรายวิชาที่จัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ให้อยู่ในวันเดียวกัน ปรับรายวิชาที่จัดการเรียนรู้ในสถานที่ตั้งให้ อยู่ในวันเดียวกัน ปรับลดจำนวนนิสิตที่เข้ามาในพื้นที่โดยปรับเพิ่มจำนวนตอนเรียนให้ มากขึ้น หรือให้สลับตอนเรียนระหว่างรายวิชาเพื่อกระจายจำนวนนิสิต
▪ กรณีมีความจำเป็นต้องจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลของรายวิชา หรือการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรในสังกัดในสถานที่ตั้ง
➢ ต้องมีมาตรการป้องกันโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ตามที่ทางราชการ มหาวิทยาลัย หรือสภาวิชาชีพกำหนดไว้เคร่งครัด โดยยึดหลัก DMHTT
▪ Distancing – เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม การใช้ห้องหรือสถานที่ในมหาวิทยาลัยให้คำนวณการใช้พื้นที่อย่างน้อย 4 ตารางเมตรต่อคน
▪ Mask Wearing – สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู๋ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย
▪ Hand Washing – ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์บ่อยๆ รวมถึงทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสในบริเวณห้องเรียนและส่วนกลางของอาคารเป็นระยะๆ
▪ Testing – ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายเป็นระยะๆ และตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในกรณีจำเป็น
▪ Thai Cha Na – ให้มีจุดสแกนแอปพลิเคชั่นไทยชนะทุกอาคารที่มีการใช้งาน และให้นิสิต และบุคลากรทุกคนสแกนแอปพลิเคชั่นไทยชนะก่อนเข้าใช้งานตัวอาคาร
➢ ในกรณีที่ส่วนงานมีการจัดการเรียนการสอนทั้งแบบ Online และ Onsite ขอให้จัดเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสมสำหรับนิสิตที่จำเป็นต้องเรียนทั้งสองรูปแบบในวันเดียวกัน หรือจำเป็นต้องทำกิจกรรมในวิชาเรียนร่วมกัน
➢ หากพบผู้ใดเริ่มมีอาการของโรคหรือสงสัยว่าจะติดโรค COVID-19 หรือมีกรณีติดโรค COVID-19 ขึ้น แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและดำเนินการตามข้อแนะนำของมหาวิทยาลัย
▪ ควรจัดทำคู่มือหรือแนวทางการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 และแจ้งให้อาจารย์ผู้สอนและนิสิตทราบ
▪ ควรจัดสรรเวลาและทรัพยากร รวมถึงจัดให้มีระบบและสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนให้นิสิตเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
▪ ควรมีระบบการติดตามดูแลและช่วยเหลือด้านสุขภาวะแก่นิสิตเป็นระยะๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาอัน เนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษา ในสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยนไป
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
▪ หัวหน้าส่วนงานสามารถวินิจฉัยสั่งการหรือกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ให้คอย ติดตามข้อมูลข่าวสารและสถานการณ์ต่างๆ กับทางมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง
▪ ในกรณีที่สถานการณ์รุนแรงขึ้นเป็นระดับที่ 2 หรือ 3 ขอให้ส่วนงานปฏิบัติตามประกาศและข้อกำหนดของ มหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด
อธิการบดีจุฬาฯ ชี้อนาคตการศึกษาที่ขับเคลื่อนด้วย AI ความท้าทายของสถาบันอุดมศึกษาที่จะต้องปรับบทบาทใหม่
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ จัดโครงการ “ร่วมใจทำความดี บริจาคโลหิต ต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้