รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 มกราคม 2565
ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ข่าวเด่น
ประกาศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรื่อง แนวปฏิบัติการจัดกิจกรรม ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19
—————————————————————-
ตามที่สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติการจัดกิจกรรม ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 มีแนวโน้มคลี่คลายลง เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔ นั้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ แห่งประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรื่อง เรื่อง การเปิดสถานที่ทำการ การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔ จึงเห็นสมควรออกประกาศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติการจัดกิจกรรม ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติการจัดกิจกรรม ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 มีแนวโน้มคลี่คลายลง เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
ข้อ ๒ กิจกรรมที่จัดทุกกิจกรรมจะต้องผ่านความเห็นชอบจากรองอธิการบดี คณบดีหรือรองคณบดีหรือผู้รับผิดชอบงานด้านกิจการนิสิตที่ได้รับมอบหมาย และควรมีอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมติดตามตรวจสอบและรายงานต่อผู้รับผิดชอบงานด้านกิจการนิสิตที่ได้รับมอบหมายต่อไป
ข้อ ๓ การจัดกิจกรรมตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ เป็นต้นไป ให้จัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ หรือรูปแบบพบหน้า จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๔ การจัดกิจกรรมแบบพบหน้า ต้องมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ดังนี้
(๑) นิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรม ต้องได้รับวัคซีนตามที่ทางราชการกำหนดอย่างน้อยเข็มที่สองมาแล้ว ไม่น้อยกว่า ๑๔ วัน
(๒) นิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรม ต้องได้รับการคัดกรองโรค COVID-19 ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม โดยการทำแบบประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อโรค COVID-19 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หากพบว่าเป็นผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค COVID-19 ให้ทำการตรวจ ATK อีกครั้ง และถ้า ผลการตรวจ ATK เป็นบวก ขอให้แจ้งรองคณบดีหรือผู้รับผิดชอบงานด้านกิจการนิสิตที่ได้รับมอบหมายหรือผู้รับผิดชอบกิจกรรม เพื่อเข้าสู่ความช่วยเหลือของมหาวิทยาลัยต่อไป
(๓) ให้มีนิสิตเข้าร่วมกิจกรรมได้ตามจำนวนที่เหมาะสม หรือตามประกาศ/คำสั่งราชการที่เกี่ยวกับมาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ในพื้นที่ที่จัดกิจกรรม
(๔) ให้นิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรม ต้องปฏิบัติตนตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกัน การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 อาทิเช่น หมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ตรวจวัดอุณหภูมิ สวมหน้ากากอนามัย และอื่นๆ ตามที่เห็นสมควร
(๕) ในแต่ละกิจกรรมต้องกำหนดจำนวนนิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรม ให้มีจำนวนที่เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ที่จัดกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อการเว้นระยะห่างไม่ให้แออัดขณะจัดกิจกรรม
(๖) นิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีการเข้าร่วมกลุ่ม Line หรือแอปพลิเคชันกลุ่มข้อความอื่น ๆ เฉพาะกลุ่มกิจกรรม เพื่อติดตามผลด้านสุขภาพของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย ๒ สัปดาห์ หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม และรายงานให้ผู้รับผิดชอบกิจกรรมทราบ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือหากมีกรณีการติดเชื้อโรค COVID-19 เกิดขึ้น
(๗) ผู้รับผิดชอบกิจกรรมจะต้องมีฐานข้อมูลรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม และข้อมูลผลจากมาตรการ COVID-19 ครบถ้วน
(๘) ในแต่ละกิจกรรมควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่หรือนิสิตที่ได้รับมอบหมาย เพื่อทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 และรายงานผลให้ส่วนงานทราบเป็นระยะ
ข้อ ๕ กรณีมีปัญหาหรือข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ ให้รองอธิการบดีที่รับผิดชอบงานด้านกิจการนิสิตหรือหัวหน้าส่วนงานเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๕
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ)
รองอธิการบดี
ปฏิบัติการแทนอธิการบดี
นิสิตเภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จัด “ค่าย 3 สัญจร สอนสัมพันธ์”ส่งเสริมการเรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนจังหวัดอ่างทอง
นิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ “INNOVATORS IMPACT CHALLENGE 2025” สร้างสรรค์นวัตกรรมโปรตีนจากรังไหม
เชิญเข้าร่วมอบรมหัวข้อ “AI กับความเป็นส่วนตัว: เราควบคุมหรือถูกควบคุม?”
9 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องอำไพ สุจริตกุล คณะครุศาสตร์
การสร้าง Course Syllabus และการประเมินการเรียนการสอนผ่านระบบ myCourseVille ในระบบทวิภาค และระบบทวิภาค-นานาชาติ ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2567
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ เชิญฟังการบรรยายพิเศษ “PDPA OK Aha! เข้าใจความท้าทายจนนำไปปฏิบัติได้”
24 เมษายน 2568 เวลา 09.00 - 12.00 น. หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ อาคาร 3
สถาบันภาษา จุฬาฯ จัดการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ ประจําปี 2568 (46th Language Testing Research Colloquium: LTRC 2025)
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้