รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 กุมภาพันธ์ 2565
ข่าวเด่น
ผู้ที่สัญจรผ่านบริเวณหน้าอาคารจามจุรี 9 ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคงจะพบเห็นทางม้าลายสามมิติ สีชมพู-ขาว ซึ่งเป็นที่สะดุดตาของทุกคน ทางม้าลายนี้สร้างสรรค์โดยนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นส่วนหนึ่งของทางม้าลายสามมิติ 3D CROSSWALK จำนวน 7 จุด ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ (PMCU) ร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ธนาคารกสิกรไทย
ทางม้าลายสามมิติ 3D CROSSWALK เป็นการสร้างมิติใหม่บนทางม้าลายรอบรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกสิกรไทย สีทีโอเอ และพื้นที่เขตพาณิชย์บนพื้นที่สามย่านและสยามสแควร์ เพื่อส่งเสริมการขับขี่ปลอดภัย เพิ่มจุดสังเกตจุดข้ามถนนแก่ผู้ขับขี่ สร้างสำนึกรักการข้ามถนนปลอดภัยบนทางม้าลายแก่ผู้ใช้ถนน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้แนวคิด Samyan Smart City เมืองอัจฉริยะต้นแบบ ก้าวสู่การพัฒนาให้เป็นย่านแห่งนวัตกรรมที่สร้างสรรค์คุณค่าแก่ชุมชนและสังคม ผสานคุณภาพชีวิตและธุรกิจ มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำรงชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
ผลงาน “ทางม้าลาย 3 มิติ” (3D CROSSWALK) เป็นการจัดประกวดโดยสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ ผู้ส่งผลงานเป็นนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยได้นำผลงานการออกแบบของผู้ที่ได้รับรางวัลมาจัดทำเป็นทางม้าลาย 3 มิติ นิสิตที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเป็นนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีนิสิตจิตอาสาจากคณะต่างๆ มาร่วมกันเพนท์ทางม้าลาย เป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตได้สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม สร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่ รู้จักเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
พื้นที่ที่มีการเพนท์ทางม้าลาย 3 มิติ ประกอบด้วย พื้นที่สยามสแควร์ จำนวน 1 จุด สวนหลวง สามย่าน จำนวน 3 จุด และภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 3 จุด ประกอบด้วย
– จุดที่ 1 ทางเชื่อมระหว่างอาคารจามจุรีสแควร์ กับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
– จุดที่ 2 ทางข้ามหน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์
– จุดที่ 3 ทางเชื่อมระหว่างคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา กับสวนหลวงสแควร์ จุฬาฯ ซอย 12
– จุดที่ 4 ทางเชื่อมระหว่างอาคารจามจุรี 9 กับสนามกีฬาจุฬาฯ
– จุดที่ 5 สยามสแควร์ บริเวณสยามสแควร์ ซอย 3
– จุดที่ 6 จุฬาฯซอย 9 บริเวณทางเชื่อมจุฬาฯ ซอย 9 กับศูนย์การค้า I’m Park
– จุดที่ 7 ทางเชื่อมระหว่างคณะนิติศาสตร์ กับศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์
ปัจจุบันพื้นที่ที่มีการเพ้นท์ทางม้าลาย นอกจากทางเชื่อมระหว่างอาคารจามจุรี 9 กับสนามกีฬาจุฬาฯแล้ว ยังมีทางไม้ลายบริเวณทางเชื่อมระหว่างอาคารจามจุรีสแควร์ กับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และทางข้ามหน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์ ทั้งนี้ โครงการ3D CROSSWALK (ทางม้าลาย 3 มิติ) อยู่ภายใต้โครงการSamyan Smart City ในการพัฒนาด้านSMART LIVING เป็นการส่งเสริมด้านการรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ โครงการออกแบบทางม้าลาย 3 มิติ 3D CROSSWALK
อัครพล ธนวัฒนาเจริญ นิสิตชั้นปีที่ 2 ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในทีมนิสิตที่สร้างสรรค์ผลงานการออกแบบทางม้าลาย 3 มิติ ที่มีชื่อว่า Barrier ซึ่งเป็นที่สนใจได้รับการแชร์กันอย่างแพร่หลายทางสื่อสังคมออนไลน์ เปิดเผยว่า สนใจออกแบบทางม้าลาย 3 มิติโดยเลือกพื้นที่ทางเชื่อมหน้าอาคารจามจุรี 9 – สนามกีฬาจุฬาฯ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีทางโค้ง ทำให้ทางม้าลาย 3 มิติบริเวณดังกล่าวมีความแปลกใหม่ เพราะส่วนใหญ่ทางม้าลาย 3 มิติจะไม่ค่อยพบเห็นในบริเวณทางโค้ง ทางม้าลาย 3 มิติสร้างความตื่นตาตื่นใจแก่ผู้พบเห็นมากกว่าทางม้าลายปกติทั่วไป โดยใช้เวลาในการวาดและเพนท์สี 2 วัน มีนิสิตจุฬาฯ จิตอาสากว่า 20 คนช่วยกันลงสีทางม้าลาย เสียงตอบรับส่วนใหญ่ได้รับคำชมว่าสวยงาม ส่วนในเรื่องของความปลอดภัยนั้น พื้นที่ก่อนจะถึงทางม้าลายจะมีลูกระนาด รวมทั้งเป็นมุมเลี้ยว ทำให้รถชะลอความเร็ว จึงไม่น่าทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถยนต์
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้