ข่าวสารจุฬาฯ

อาจารย์สถาปัตย์ จุฬาฯ ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ ปาล์ม อคาเดมิค (Ordre des Palmes académiques) ชั้นอัศวิน (Chevalier) จากประเทศฝรั่งเศส ในฐานะผู้ทำประโยชน์ด้านการศึกษาและการวางผังและพัฒนาเมือง

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล อาจารย์ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาฯ ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์สมาชิกชั้นอัศวิน (Chevalier) แห่งอิสริยาภรณ์ตระกูลปาล์ม อคาเดมิค (The Ordre des Palmes Académiques on distinguished academics) ประเทศฝรั่งเศส จาก ฯพณฯ ฌ็อง-มิแชล บลอกเกร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและกีฬาแห่งประเทศฝรั่งเศส ให้เป็นสมาชิกชั้นอัศวิน (Chevalier) แห่งอิสริยาภรณ์ตระกูลปาล์ม อคาเดมิค ในฐานะที่เป็นผู้ทำประโยชน์ต่อการศึกษาด้านการวางผังและพัฒนาเมืองและส่งเสริมการออกแบบเมืองและชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสนับสนุนความร่วมมืออันดีระหว่างสถาบันวิจัยของประเทศฝรั่งเศสหลายสถาบัน ทั้งที่ตั้งในประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส

เครื่องอิสริยาภรณ์ ปาล์ม อคาเดมิค สถาปนาโดยสมเด็จพระจักรพรรดิ์นโปเลียนที่ 1 ในปี 2351 (ค.ศ.1808) มอบให้เป็นเครื่องเชิดชูเกียรติแก่บุคคลผู้มีคุณูปการในด้านการศึกษา โดยเหรียญอิสริยาภรณ์ปาล์ม อคาเดมิคจัดทำเป็นช่อใบปาล์มสีม่วงสองแผ่นประดิษฐ์เป็นรูปมงกุฎ

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล เปิดเผยว่า ขอขอบคุณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ให้โอกาสและความไว้วางใจในการร่วมขับเคลื่อนวาระการฟื้นฟูเมือง (Urban Regeneration Agenda) ทั้งด้านวิชาชีพและวิชาการ ผ่านการตั้งศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่เดือนมีนาคม 2556

นอกจากนี้ขอขอบคุณสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย และ ศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมัย (IRASEC) ที่เห็นคุณค่าผลงานของ UddC และเป็นผู้เสนอชื่อเพื่อเข้ารับรางวัลอันทรงเกียรตินี้

ผลงานของ ผศ.ดร.นิรมล และ UddC มีส่วนขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง ประกอบด้วย

  • โครงการกรุงเทพฯ 250 ทั้งเฟส 1 และเฟส 2
  • โครงการสะพานด้วน (สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา)
  • โครงการสะพานเขียว กรุงเทพฯ
  • โครงการริมน้ำยานนาวา
  • โครงการฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน
  • โครงการผังแม่บทราชดำเนินกลาง
  • โครงการผังแม่จุฬาศตวรรษที่สอง
  • โครงการหอสังเกตการณ์เมือง กรุงเทพฯ และเชียงใหม่
  • โครงการเมืองเรียนรู้ กรุงเทพฯ นครสวรรค์
  • โครงการย่านนวัตกรรมน่าอยู่พระโขนง-บางนา
  • โครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น

“ความสำเร็จในครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากตนเองเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับความร่วมมือจากหลายๆ ส่วนไม่ว่าจะเป็นทีมงานและที่ปรึกษา UddC ซึ่งเป็นทีมงานที่มีฝีมือ ทุ่มเท รักในงาน มีจิตสาธารณะ รวมไปถึงชาวย่านกะดีจีน-คลองสาน บ้าน วัด โบสถ์ มัสยิด โรงเรียน มหาวิทยาลัย สำนักงานเขตในย่านนั้นที่ให้โอกาสเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ปี 2552 นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ที่ให้การสนับสนุนการทำงานของ UddC ตั้งแต่เริ่มต้น ต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 4 ปี รวมถึง The Rockefeller Foundation ที่ ให้การสนับสนุนงานของเรา” ผศ.ดร.นิรมล กล่าวขอบคุณถึงผู้มีส่วนร่วมในความสำเร็จของ UddC

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า