ข่าวสารจุฬาฯ

เลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลก แสดงปาฐกถาที่จุฬาฯ เรื่อง “ความสำคัญของพันธมิตรหลากหลายอารยธรรม”

ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ จัดการแสดงปาฐกถาพิเศษว่าด้วยความสำคัญของพันธมิตรหลากหลายอารยธรรม (The Importance of Alliance of Civilizations) โดย ดร.มุฮัมมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซา (Dr. Muhammad bin Abdul Karim Al-Issa) เลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เพื่อรับฟังแนวคิดว่าด้วยการสานเสวนาทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างความเข้าใจในความหลากหลายของสังคมโลก และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างอย่างมีเอกภาพ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญต่อความเข้าใจร่วมกันผ่านการสานเสวนาที่จะยังประโยชน์ให้แก่มวลมนุษยชาติ

โดยมี ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี กล่าวต้อนรับ และ ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี  มอบของที่ระลึกแก่เลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลก และถ่ายภาพร่วมกัน มีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าร่วมรับฟังการแสดงปาฐกถาพิเศษในครั้งนี้ด้วย

ดร.มุฮัมมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซา
ดร.อารีฝีน ยามา

ดร.อารีฝีน ยามา นักวิจัยประจำศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการปาฐกถาครั้งนี้ว่า องค์การสันนิบาตมุสลิมโลกซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2495 มีบทบาทความสำคัญสูงมากต่อโลกมุสลิมและประชาคมมุสลิม มุ่งเน้นทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและการศึกษา ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างและส่งเสริมการศึกษา การมาแสดงปาฐกถาโดย ดร.มุฮัมมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซา ในครั้งนี้เพื่อสร้างพันธมิตรทางวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยมีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นต้นแบบของประเทศที่ประชาชนอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม  ได้รับฟังแนวคิดในการอยู่ร่วมกันท่ามกลางวัฒนธรรม อารยธรรมความเชื่อที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะการเคารพสิทธิและความเห็นต่างของแต่ละศาสนาและอารยธรรม รวมทั้งแนวคิดในการสร้างความปรองดอง แม้จะมีความต่างทางวัฒนธรรมและความเชื่อแต่ก็สามารถอยู่ด้วยกันอย่างเป็นเอกภาพ

ทั้งนี้การแสดงปาฐกถาม่งเน้นการสร้างความเชื่อมโยงทางอารยธรรมที่แม้จะมีความแตกต่างแต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันยผ่านการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการแก้ปัญหาเรื่องความขัดแย้งและความรุนแรง โดยพูดคุยถึงความแตกต่าง เพื่อหาจุดร่วมในการที่จะอยู่ร่วมกัน ตามทฤษฎีของแซมมวล พี ฮันติงตัน (Samuel P. Huntington) เรื่องการปะทะทางอารยธรรมที่มีอิทธิพลต่อการเกิดแนวคิดสุดโต่ง องค์การสันนิบาตมุสลิมโลกจึงมุ่งเน้นที่จะสร้างแนวคิดในเรื่องของการสร้างพันธมิตรทางอารยธรรมที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อประชาคมโลก

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า