ข่าวสารจุฬาฯ

ทันตแพทย์ จุฬาฯ เตือนไม่แปรงฟันเสี่ยงโรคหัวใจ และสมองเสื่อม

การแปรงฟัน เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำเป็นกิจวัตรประจำวัน แต่รู้หรือไม่ว่าการไม่แปรงฟันหรือแปรงฟันไม่สะอาด ไม่ถูกวิธี นอกจากจะทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบแล้ว ยังมีส่วนทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและสมองเสื่อมได้ ตามที่มีกระแสข่าวแชร์กันโนโลกโซเซียล

อ.ทพ.ดร.อรรถวุฒิ เลิศพิมลชัย

อ.ทพ.ดร.อรรถวุฒิ เลิศพิมลชัย ภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความรู้ในเรื่องนี้ว่า มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าสุขภาพช่องปากสามารถเกี่ยวโยงไปถึงสุขภาพอื่นโดยรวม โดยเฉพาะโรคหัวใจ การที่เราไม่แปรงฟัง แปรงฟันไม่ถูกวิธี หรือไม่ได้ขัดฟันเป็นเวลานานก็จะทำมีให้เชื้อโรคมาสะสมอยู่ในช่องปาก ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาทางทันตกรรมก็จะทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบหรือรำมะนาด ซึ่งโรคนี้จะมีผลเกี่ยวโยงกับโรคอื่นๆ ตามมา

“ในเหงือกของคนไข้ที่เป็นโรคเหงือกอักเสบหรือรำมะนาดจากการแปรงฟันไม่สะอาดจะมีเชื้อโรคหมักหมมอยู่ตลอดเวลา เชื้อโรคนี้สามารถหลุดรอดเข้าไปผ่านกระแสเลือดและมีผลต่ออวัยวะต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเชื้อโรคเอง รวมทั้งสารสื่ออักเสบต่างๆ มากมายที่สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ผลการศึกษาพบว่าคนไข้  3 ใน 4 หรือประมาณ 75  % ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรครำมะนาด หลายคนแทบไม่มีอาการเลย อย่างมากก็แค่แปรงฟันมีเลือดออก มีกลิ่นปาก หรืออาจมีอาการเหงือกบวม เป็นๆ หายๆ ซึ่งสามารถนำไปสู่โรคหัวใจและโรงสมองเสื่อมได้โดยที่ไม่รู้ตัว” อ.ทพ.ดร.อรรถวุฒิ กล่าว

สาธิตการแปรงฟันให้สะอาดอย่างถูกวิธี 

อ.ทพ.ดร.อรรถวุฒิ ได้แนะนำวิธีง่ายๆ ในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการแปรงฟันให้สะอาดอย่างถูกวิธี  โดยวางแปรงสีฟันให้ทำมุม 45 องศากับคอฟัน และขยับแปรงไปมาสั้นๆ ในลักษณะสะบัดข้อมือเบาๆ ทำเช่นนี้กับฟันทั้งด้านนอกและด้านใน ฟันบนและฟันล่าง จากนั้นให้แปรงฟันด้านบดเคี้ยวทั้งฟันบนและฟันล่างแล้วแปรงไล่ไปจนสะอาด ส่วนบริเวณด้านในของฟันหน้าบนและฟันหน้าล่าง ค่อยๆ แปรงไล่ไปทุกซี่ให้ขนแปรงสัมผัสกับผิวฟันด้านในแต่ล่ะซี่  การแปรงด้านหน้าของฟันทั้งบนและล่างให้แปรงในลักษณะวนเป็นวงกลมพร้อมกับขยับเบาๆ ด้วย เพื่อประสิทธิภาพในการแปรงฟันที่ดี รวมถึงการใช้อุปกรณ์เสริมในการช่วยทำความสะอาดซอกฟัน เพราะการแปรงฟันอย่างเดียวไม่สามารถทำความสะอาดบริเวณฟันที่อยู่ชิดกันมากได้ การใช้ไหมขัดฟันเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้อย่างต่อเนื่อง และควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี


จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า