ข่าวสารจุฬาฯ

นักธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ พบหลักฐานใหม่ ร่องรอยสิ่งปลูกสร้างบนเขาพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์

ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผู้สนใจศึกษาด้านโบราณคดีผ่านข้อมูลโทรสัมผัส (Remote Sensing) และภูมิสารสนเทศ (GIS) พบร่องรอยบนพื้นผิวโลกที่มีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยมบนเขาพนมรุ้ง จ. บุรีรัมย์ คาดเป็นร่องรอยสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ร่วมสมัยกับปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์ของไทย ที่มีอายุเก่าแก่นับพันปี

ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้
อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

“ทักษะในการสำรวจและแปลความทางธรณีวิทยาสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาด้านโบราณคดีได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาลักษณะภูมิประเทศผ่านข้อมูลโทรสัมผัส (Remote Sensing) และภูมิสารสนเทศ (GIS)” ศ.ดร. สันติ เผยถึงที่มาของการค้นพบร่องรอยทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับนักธรณีวิทยา

ก่อนหน้านี้  ศ.ดร. สันติ และนิสิตปริญญาเอก ได้ศึกษาและสำรวจความเป็นไปได้ของแนวเส้นทางเท้าในการเดินขึ้นเขาพนมรุ้ง พบว่า ก่อนที่จะมีเส้นถนนที่คดเคี้ยวอย่างเช่นปัจจุบัน ในอดีตคนเดินขึ้น-ลง เขาพนมรุ้งเป็นแนวเส้นตรงจากทางทิศตะวันออกของเขา ซึ่งเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด เนื่องจากพบแนวเส้นตรงคล้ายร่องทางเดินให้เห็นอย่างเด่นชัดจากภาพถ่ายดาวเทียม และจากการลงพื้นที่สำรวจ ตลอดแนวเส้นพบหลักฐานการกดอัดและเรียงตัวกันอย่างไม่เป็นธรรมชาติของหินในพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบเศษภาชนะดินเผาและก้อนศิลาแลงบริเวณที่ราบติดเชิงเขา ซึ่งบ่งชี้ว่าแนวเส้นตรงที่พบจากภาพถ่ายดาวเทียม อาจจะเป็นเส้นทางเท้าที่คนในอดีตใช้ในการเดินขึ้น-ลงเขาพนมรุ้ง

ล่าสุด ศ.ดร.สันติ พร้อมด้วยนิสิตปริญญาโท ภาควิชาธรณีวิทยา ได้ศึกษาเส้นทางที่คาดว่าจะใช้ขนย้ายหินก่อสร้างจากแหล่งตัดหินเชิงเขาพนมดงรัก บริเวณบ้านสายตรี 3 อ.บ้านกรวด ขึ้นไปสร้างปราสาทหินพนมรุ้ง โดยจำลองเส้นทางที่เป็นไปได้ทางภูมิประเทศ จากข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model : DEM) ประมวลผลร่วมกับเครื่องมือทางภูมิสารสนเทศ (GIS) จากนั้นแปลความเพิ่มเติมในรายละเอียดผ่านภาพถ่ายดาวเทียม ทำให้ พบร่องรอยที่คาดว่าจะเป็นสิ่งปลูกสร้างบนเขาพนมรุ้ง ซึ่งเป็นร่องรอยที่ยังไม่มีการพบและเผยแพร่สู่สาธารณชนมาก่อน

“ร่องรอยที่พบจากภาพถ่ายดาวเทียมมีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยม มีสีแตกต่างจากบริเวณข้างเคียง มีขนาดหรือพื้นที่ใกล้เคียงกับขอบเขตของปราสาทหินพนมรุ้ง นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงกันยังพบแนวเส้นที่คล้ายการเดินซ้ำแล้วซ้ำเล่าเข้าไปยังสระน้ำทางด้านหน้าของตัวปราสาท ซึ่งปกติจะไม่พบร่องรอยแบบนี้ในทางธรรมชาติหรือทางธรณีวิทยา และปัจจุบันไม่พบกิจกรรมของมนุษย์ตามแนวเส้นนี้ จึงสันนิษฐานในเบื้องต้นว่ากรอบสี่เหลี่ยมที่ตรวจพบน่าจะเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรืออาจจะเป็นขอบเขตที่พักอาศัยในอดีต ที่น่าจะมีกิจกรรมหรือกิจวัตรที่สัมพันธ์กับสระน้ำดังกล่าว การค้นพบในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะเข้าไปสำรวจและพิสูจน์ทราบ เพื่อหาข้อสรุปต่อไป” ศ.ดร.สันติ กล่าวในที่สุด

ร่องรอยจากภาพถ่ายดาวเทียม
มีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยมคล้ายสิ่งปลูกสร้าง
แนวเส้นทางที่คาดว่าเป็นการเดินจากสิ่งปลูกสร้างไปยังสระน้ำ
ร่องรอยที่คาดว่าเป็นการเดินเข้าไปที่สระน้ำ

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า