รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
6 มีนาคม 2565
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
เมื่อวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2565 เวลา 19.53 น. ณ หอประชุมจุฬาฯ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จทอดพระเนตรการแสดงคอนเสิร์ตคลาสสิก รายการ B4: Sasipa plays Haydn Piano Concerto ซึ่งมูลนิธิอารยศิลป์ สิริวัณณวรี และมูลนิธิรอยัล แบงค์คอก ซิมโฟนี ออร์เคสตร้า ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา จัดขึ้น
การแสดงคอนเสิร์ตคลาสสิกครั้งนี้เป็นการแสดงเปียโน คอนเสิร์ตของ นางศศิภา รัศมิทัต ในบทเพลง Overture La Clemenza DI Tito, K. 621 บทโหมโรงจากอุปรากรเรื่อง La Clemenza di Tito ของ Wolfgang Amadeus Mozart บทเพลง Piano Concerto No. 11 in D major ของ Franz Joseph Haydn บรรเลงเดี่ยวเปียโนโดยนางศศิภา รัศมิทัต และ Symphony No.1 in C major ของ Ludwig van Beethoven อำนวยเพลงโดย Michel Tilkin ผู้อำนวยการด้านดนตรีประจำวง RBSO
นางศศิภา รัศมิทัต จบปริญญาตรีสาขาวิชาการแสดงเปียโนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และได้รับพระราชทานทุนการศึกษาจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการศึกษาต่อหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางศศิภาเป็นนักเปียโนประจำวงรอยัล แบงค์คอก ซิมโฟนี ออร์เคสตร้า (RBSO) และ Maitai Orchestra ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 20 ปี รวมทั้งเป็นอาจารย์สอนวิซาเปียโนและทฤษฎีดนตรีที่โรงเรียนดนตรีรอยัลแบงค์คอกซิมโฟนี(Royal Bangkok Symphony Music School-RBSS) ด้วย
จุฬาฯ หัวเว่ย และ BUPT ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT ในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition
อธิการบดีจุฬาฯ 1 เดียวผู้นำด้านการศึกษาจาก 48 ผู้ทรงอิทธิพลไทย
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยระดับอุดมศึกษาประเภทจะเข้และซอสามสาย
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ขอเชิญร่วมงาน “Chula Lunch Talk: อยู่ออฟฟิศก็เฟิร์มได้! ท่าออกกำลังง่าย ๆ สู้ Office Syndrome”
24 ม.ค. 68
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ
แนวปฏิบัติเพื่อรองรับมาตรการจัดการในสถานการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้