รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 มีนาคม 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
อาการปวดเมื่อยจากการนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ สร้างความทุกข์ทรมานให้กับร่างกายของมนุษย์ออฟฟิศเป็นอย่างมาก และเป็นเรื่องยากที่ทุกคนจะหลีกเลี่ยงได้ หากมีผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยจากออฟฟิศซินโดรมแบบใช้ง่าย ได้ผลดี แทรกซึมเข้าสู่กล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและตรงจุดจะทำให้คุณภาพชีวิตของคนในวัยทำงานดียิ่งขึ้น
“แอม-ไฟน์” สเปรย์บรรเทาอาการปวดเมื่อยจากออฟฟิศซินโดรม ด้วยเทคโนโลยีพฤกษานาโน (An Innovative PhytoNano-MyoSpray: A Pain Relief Spray from Nanostructured Lipid Carriers carrying Herbal Extracts) ผลงานของบุคลากรและอาจารย์คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การันตีความสำเร็จของผลิตภัณฑ์โดยสามารถคว้าสองรางวัลจากการประกวดนวัตกรรมระดับนานาชาติ ได้แก่ เหรียญทองจากรายการ “2021 Japan Design, Idea and Invention Expo (JDIE)” ประเทศญี่ปุ่น และเหรียญทองแดงจากรายการ “2021 Shanghai International Invention & Innovation Expo” ประเทศจีน เมื่อเร็วๆนี้
อ.ดร.ธีระพงศ์ ยะทา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมวิจัยและผู้ประกอบการ และอาจารย์ภาควิชาชีวเคมี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะที่ปรึกษาโครงการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์แอม-ไฟน์ เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นจากแนวคิดของบุคลากรในคณะที่ต้องการหาตัวช่วยในการแก้ปัญหาอาการปวดเมื่อยจากการทำงาน จึงนำปัญหานี้ปรึกษาร่วมกันจนพัฒนาเป็นสเปรย์บรรเทาอาการปวดเมื่อย โดยทีมวิจัยประกอบด้วย น.ส.วราภรณ์ โชติสวัสดิ์ นางอิญญา บินซัน และ ผศ.สพ.ญ. ศริยา อัศวกาญจน์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
น.ส.วราภรณ์ โชติสวัสดิ์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวถึงแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ว่า ทางคณะผู้วิจัยซึ่งเป็นบุคลากรมักมีอาการปวดเมื่อยจากการทำงาน รวมถึงมีความเสี่ยงกับการปวดเมื่อยจากภาวะออฟฟิศซินโดรม จึงมองหาวิธีบรรเทาอาการปวดเมื่อยจากการทำงาน รวมถึงคลายความเครียดและความวิตกกังวลจากอาการปวดเมื่อยที่เป็นอยู่ โดยมองหาสมุนไพรไทยที่หาได้ง่าย มีสรรพคุณลดการปวดตึงหรืออักเสบของกล้ามเนื้อ ในที่สุดได้ค้นพบว่า“น้ำมันหอมระเหยระกำ” มีสรรพคุณช่วยระงับอาการปวดชนิดใช้เฉพาะที่สำหรับบรรเทาอาการปวดที่ไม่รุนแรง เช่น ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อจากภาวะตึง เมื่อสเปรย์สัมผัสผิวหนังในครั้งแรกจะทำให้รู้สึกเย็น จากนั้นจะค่อยๆ อุ่นขึ้นซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ ส่วนสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งคือ “ผักคราดหัวแหวน” ซึ่งมีสารสกัดที่สำคัญคือ สารสปิแลนทอล (spilanthol) มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ และยังมีฤทธิ์โดดเด่น ช่วยลดการอักเสบและลดการปวดกล้ามเนื้อได้ดี ทางทีมวิจัยจึงต่อยอดภูมิปัญญาไทย โดยนำสมุนไพรไทยทั้งสองชนิดนี้มาเป็นส่วนผสมและเตรียมในรูปแบบสเปรย์นาโนสูตรเย็น รวมทั้งมีการใช้นวัตกรรมการนำส่งด้วยนาโนเทคโนโลยีช่วยให้สมุนไพรออกฤทธิ์ได้ยาวนานขึ้น และบรรเทาภาวะปวดเมื่อยหรือตึงของกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
วราภรณ์เน้นว่านวัตกรรมระบบนําส่งด้วยนาโนเทคโนโลยี เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็นกุญแจสําคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์สําคัญต่างๆ ช่วยนำส่งสาระสำคัญจากตัวยาผ่านทางผิวหนัง ด้วยอนุภาคนาโนไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบอื่นๆ การใช้สารสำคัญจากน้ำมันหอมระเหยระกำ และสารสปิแลนทอลจากผักคราดหัวแหวนร่วมกันส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการรักษาหรือบรรเทาอาการปวดและอักเสบได้เป็นอย่างดี ด้วยเทคโนโลยีการกักเก็บระดับนาโน จึงทำให้ไม่เกิดการระคายเคือง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการซึมผ่านผิวหนัง ไม่ทิ้งคราบมันและไม่เหนียวเหนอะหนะ รวมทั้งยังส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่หาได้ง่ายในประเทศไทย โดย “ผลิตภัณฑ์แอม-ไฟน์ มี 2 สูตร คือ สูตรร้อนและสูตรเย็น โดยสูตรร้อนได้เพิ่มสารสกัดจากพริกไทยดำลงไปด้วยเพื่อให้เกิดความรู้สึกร้อน ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ได้ตามความชอบ” วราภรณ์ กล่าวถึงสเปรย์บรรเทาอาการปวดเมื่อยที่พัฒนาขึ้นมาในครั้งนี้
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ได้รับรางวัล
อ.นพ.ธีระพงศ์ กล่าวว่าสเปรย์ดังกล่าวมีความโดดเด่นในเรื่องการนำสมุนไพรไทยมาเป็นส่วนผสมโดยใช้นาโนเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ เป็นการผสมผสานกันระหว่างภูมิปัญญาไทยกับ Deep Tech พิสูจน์ให้เห็นว่าสมุนไทยมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดเมื่อย และสามารถสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทย ผลิตภัณฑ์แอม-ไฟน์มีความแตกต่างจากสเปรย์บรรเทาอาการปวดเมื่อยทั่วไปที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำมันนวดธรรมดา ไม่มีเทคโนโลยีนาโนเข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้ใช้จะรู้สึกเหนอะหนะ และมีกลิ่นฉุน ในขณะที่จุดเด่นของแอม-ไฟน์อยู่ที่เนื้อสัมผัส และกลิ่นที่ต่างจากผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด เทคโนโลยีนาโนที่นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ทำให้สมุนไพรออกฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้นและยาวนานขึ้น ฉีดพ่นนาน 5 -10 นาที อาการปวดเมื่อยจะบรรเทาลงอย่างเห็นได้ชัด
ความคืบหน้าของผลิตภัณฑ์
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์แอม-ไฟน์อยู่ในช่วงทดลองตลาด โดยมีการจำหน่ายในคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และอยู่ระหว่างดำเนินการขึ้นทะเบียนเป็นยาสมุนไพรใช้แก้อาการปวดเมื่อย เมื่อได้ขึ้นทะเบียนแล้วจะมีการวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ รวมถึงร้านขายยา คาดว่าจะวางจำหน่ายได้ภายในปีนี้ ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่หน่วยชีวเคมี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในราคา 299 บาท บรรจุขวดในปริมาณ 75 กรัม มีทั้งสูตรร้อนและสูตรเย็น กลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์นี้คือคนทำงานที่มักมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำงานในออฟฟิศ รวมไปถึงนักกีฬา
แนวทางการต่อยอดผลิตภัณฑ์ในอนาคต
“คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีบริษัท Spin-Off ชื่อว่า VBC Kit Tech เพื่อผลิตนวัตกรรมจากการคิดค้นของคณาจารย์และบุคลากรภายในคณะ ซึ่งผลิตภัณฑ์แอม-ไฟน์ก็เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้สนใจ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ในเชิงพาณิชย์ได้ เป็นแนวคิดรูปแบบใหม่ในการทำวิจัยที่เกิดจาก Pain Point ของลูกค้าหรือผู้ที่มีปัญหาจริงๆ เป็นการสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคม” อ.นพ.ธีระพงศ์ กล่าวในที่สุด
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ หัวเว่ย และ BUPT ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT ในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้