รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 มีนาคม 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จับมือร่วมขับเคลื่อนการขับขี่ปลอดภัยภายใต้โครงการ “เพื่อนแท้ร่วมทาง Road Safety” นำร่องสร้างการรับรู้เรื่องการขับขี่ปลอดภัยให้บุรุษไปรษณีย์กว่า 20,000 คนทั่วประเทศ กระจายความรู้ต่อไปยังบุคคลรอบตัวให้ตระหนักถึงความปลอดภัยบนท้องถนน เป้าหมาย 200,000 คน ภายในปี 2565
กิจกรรมในงานมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จากนั้นเป็นกิจกรรม “เพื่อนแท้ร่วม Talk ….ร่วมทาง Road Safety” โดยมีคาราวานบุรุษไปรษณีย์ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์อย่างปลอดภัย มีน้ำใจให้เพื่อนร่วมทางมาร่วมในงานด้วย
ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล Chief Brand Officer จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เปิดเผยว่า ไปรษณีย์ไทยเป็นเพื่อนแท้ร่วมทางที่มีความคุ้นเคยใกล้ชิดกับคนไทยมายาวนาน สามารถเข้าถึงทุกพื้นที่ผ่านบุรุษไปรษณีย์กว่า 20,000 คน เป็นเครือข่ายที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนไทย สามารถพูดคุยในเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนอย่างเป็นกันเอง สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และไปรษณีย์ไทย เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้จึงได้นำความรู้และจุดเด่นของทั้งสองหน่วยงานมาพัฒนาและกระจายความรู้เพื่อมุ่งสู่สังคม จนเกิดเป็นแคมเปญ “เพื่อนแท้ร่วมทาง Road Safety” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการขับขี่ปลอดภัยให้แก่บุรุษไปรษณีย์ทั่วประเทศ โดยมุ่งหวังให้บุรุษไปรษณีย์เป็นต้นแบบการขับขี่ปลอดภัย และถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ขับขี่จักรยานยนต์อื่นๆ รวมทั้งบุคคลรอบตัวให้ร่วมกันตระหนักถึงความปลอดภัยบนท้องถนน
“บุรุษไปรษณีย์มีมากกว่า 20,000 คนมุ่งหวังออกไปให้ความรู้โดยมีเป้าหมาย 200,000 คนภายในปี 2565 เป็นตัวเลขที่เรามุ่งมั่นว่าจะทำให้ได้ เพื่อให้สังคมไทยตระหนักถึงความปลอดภัยบนท้องถนนไปด้วยกันและครอบคลุมทั้งประเทศได้อย่างรวดเร็ว” ผศ.ดร.เอกก์ กล่าว
รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สถาบันการขนส่ง จุฬาฯ เป็นสถาบันที่ทำงานวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งโดยเฉพาะ เรามีองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนพร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการขับขี่ปลอดภัยบนท้องถนนผ่านบุรุษไปรษณีย์ในรูปแบบการอบรมออนไลน์ ซึ่งได้พัฒนาหลักสูตรร่วมกับโรงเรียนทักษะพิพัฒน์ของ SCG โดยบุรุษไปรษณีย์สามารถเข้าอบรมออนไลน์ได้ผ่านแพลตฟอร์ม CU NEURON ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้สถานีวิทยุจุฬาฯ ได้จัดทำคลิปวีดิโอให้ความรู้เพื่อการขับขี่และใช้ยานพาหนะบนท้องถนนอย่างปลอดภัยอีกด้วย
“การขับขี่ที่ปลอดภัยเกิดจากตัวคน พฤติกรรมของคนเป็นหลัก เราต้องปฏิบัติตามกฎจราจร พร้อมที่จะหยุดรถให้คนใช้ทางได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่เราพยายามผลักดันและสร้างให้เกิดขึ้นในสังคมไทย อยากให้ทุกคนใส่ใจแบ่งปันกันทั้งคนขับรถ คนเดินเท้า ให้มีความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน เชื่อว่าสิ่งนี้สังคมไทยมีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าอาจจะยังไม่ถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและการสัญจรบนท้องถนน” รศ.ดร.มาโนช กล่าว
ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทยมีเจ้าหน้าที่นำจ่ายกว่า 20,000 คน มีการจัดอบรมเรื่องการขับขี่ปลอดภัยให้กับบุรุษไปรษณีย์ และเจ้าหน้าที่ขับรถขนส่งอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นย้ำความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้ใช้เดินทางท้องถนน จึงเล็งเห็นความสำคัญในการเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน จึงเกิดความร่วมมือกับสถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพันธมิตร คือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนชุดความรู้และสื่อประชาสัมพันธ์ และโรงเรียนทักษะพิพัฒน์ ของ SCG บุรุษไปรษณีย์จะได้รับการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการขับขี่ผ่านระบบออนไลน์ โดยปี 2564 ที่ผ่านมาพบว่ามีสถิติการเกิดอุบัติเหตุที่บุรุษไปรษณีย์เป็นฝ่ายผิดเพียง 0.13% มีจำนวนใบสั่งที่ได้รับ จำนวน 2,720 ใบ และในปี 2565 ตั้งเป้าในการลดการเกิดอุบัติเหตุลงอีกมากกว่า 50% การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ยังมีกิจกรรมเพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนเชิงบวกให้กับบุรุษไปรษณีย์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการปฏิบัติดีอย่างแท้จริง และการบอกต่อเพื่อสร้างเครือข่ายการขับขี่ปลอดภัยไปด้วยกัน
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้