รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 มีนาคม 2565
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
หน้ากาก CUre Air Sure นวัตกรรมจากทีมวิจัยวิศวฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลกด้านการออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพจากประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะพิเศษป้องกันฝุ่น PM2.5 กรองอนุภาคขนาด 0.1 micron ได้ถึง 99% ทำจากซิลิโคนที่กระชับกับใบหน้าของคนไทย หายใจสะดวก สามารถถอดทำความสะอาดและเปลี่ยนแผ่นกรองได้ ลดปัญหาขยะทางสิ่งแวดล้อม
ศ.ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในทีมผู้พัฒนาหน้ากาก CUre Air Sure เปิดเผยว่า หน้ากากดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์แรกของบริษัท CURE Enterprise สตาร์ทอัพจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณการวิจัย การผลิตและการจัดการจากโครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯ กองทุนศตวรรษที่ 2 (C2F) และทาง CU Engineering Enterprise ร่วมลงทุน จุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรมนี้เกิดจากสภาวะวิกฤติโควิด-19 เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยขาดแคลนหน้ากากอนามัยอย่างหนัก และหน้ากากที่มีอยู่ก็มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน ทำให้ผู้ใช้งานมีความเสี่ยงต่ออันตรายได้ ทีมวิจัยที่ร่วมกันทำงานแก้ปัญหานี้จึงเกิดแนวคิดว่าประเทศไทยควรมีเทคโนโลยีที่รับมือกับเหตุการณ์ขาดแคลนหน้ากากที่มีประสิทธิภาพระดับสูง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จึงได้ร่วมมือกันสร้างนวัตกรรมนี้ขึ้นจากกองทุนศตวรรษที่สองของจุฬาฯ โดยประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน ได้แก่ SCG Packaging, เครือบริษัท TCP, เครือสหพัฒน์และภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ พัฒนาหน้ากาก CUre Air Sure ซึ่งมีลักษณะพิเศษในการกรองอนุภาคและป้องกันฝุ่น PM2.5 เทียบเท่ากับหน้ากาก N95 สามารถกรองอนุภาคที่มีขนาด 0.1 micron สูงถึง 99%
“ตัวหน้ากากทำจากพลาสติกใส ฉีดขึ้นรูป แข็งแรง ป้องกันรอยขีดข่วน และทนต่อสารเคมี ขอบซิลิโคนรอบหน้ากากมีความยืดหยุ่นแนบกระชับกับใบหน้าของผู้สวมใส่ ช่วยลดการระคายเคืองระหว่างผิวกับหน้ากาก และยังช่วยลดการรั่วไหลของอากาศภายนอกสู่ภายในหน้ากาก สายรัดศีรษะปรับความยาวได้ ส่วนแผ่นกรองเป็นแบบเปลี่ยนได้ ซึ่งเป็นขยะชิ้นเล็กกว่าหน้ากาก N95 ช่วยลดปริมาณขยะติดเชื้อที่กำจัดได้ยาก” ศ.ดร.อนงค์นาฏ เผยถึงจุดเด่นของนวัตกรรมหน้ากากป้องกันประสิทธิภาพสูง
ในการผลิตครั้งแรก นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รวบรวมเงินเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการผลิตหน้ากาก CUre Air Sure จำนวน 988 ชุด โดยเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2564 ได้ส่งมอบโดยหน้ากากให้โรงพยาบาล 18 แห่งทดลองใส่ จากนั้นโรงพยาบาลต่างๆ ทยอยติดต่อมาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อขอรับการสนับสนุน ซึ่งได้รับความสนใจจากองค์กรและบุคคลที่ติดต่อขอสนับสนุนหน้ากากให้กับโรงพยาบาลที่มีความต้องการมากกว่า 300 โรงพยาบาล มียอดรวมมากกว่า 18,000 ชุด
นอกจากจะนำไปใช้ประโยชน์จริงสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศแล้ว หน้ากาก CUre AIR SURE ยังได้รับรางวัลระดับโลกด้านการออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพจากประเทศญี่ปุ่น เวที Good Design Award 2021 (G-Mark) เมื่อเร็วๆ นี้ นับเป็นความภาคภูมิใจของทีมงานนักวิจัยอย่างยิ่ง ซึ่งร่วมมือกับนักออกแบบจาก SCG Packaging และภาคอุตสาหกรรม ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ผลิตชิ้นส่วน และประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ ทั้งหมดทำในประเทศไทย
“ตอนนี้เรากำลังพัฒนาหน้ากากเวอร์ชั่นใหม่ โดยจะนำแผ่นกรองมาไว้ด้านข้าง และทำให้บริเวณด้านหน้าหน้ากากเป็นพลาสติกใส สามารถมองเห็นใบหน้าของผู้ใส่ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2565 นี้” ศ.ดร.อนงค์นาฏ กล่าว
หน้ากาก CUre Air Sure มีวางจำหน่ายที่โอสถศาลา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ราคาชุดละ 500 บาท (มีแผ่นกรอง 4 แผ่น) แผ่นกรองชุดละ 100 บาท เหมาะกับการใช้งานได้ในทุกพื้นที่ ใช้งานซ้ำได้นานนับปี แผ่นกรองเปลี่ยนเพียงสัปดาห์ละครั้ง โดยมีต้นทุนการใช้งานประมาณวันละ 5 บาท ปัจจุบันมีบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนกว่า 23,000 คนได้ใช้งานแล้ว นอกจากนี้ผลประกอบการที่ได้กว่า 60% จะถูกนำกลับสู่จุฬาฯ เพื่อส่งเสริมงานวิจัยอื่นของทางมหาวิทยาลัยต่อไป
ผู้สนใจหน้ากาก CUre Air Sure สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/CureThailand/
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้