รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
31 มีนาคม 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน นิธิกานต์ ปภรภัฒ
จากการเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 8 นโยบายว่าที่ผู้ว่า กทม. กับการบริหารจัดการขยะน้ำ และอากาศ ในหัวข้อ “การจัดการคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานคร” ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ และเครือข่ายคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2565 ณ ห้องประชุมเจริญวิศวกรรม ชั้น 2 อาคาร 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำนวน 4 ท่านได้แสดงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายการบริหารจัดการคุณภาพอากาศ โดยมี ศ.ดร.เกษม ชูจารุกุล รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน
การเสวนาเริ่มด้วย รศ.ดร.รณชัย ติยะรัตนาชัย รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบุคคลและอบรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตัวแทนเครือข่ายคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย กล่าวถึงแนวทางของหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือ SDGs โดยเสนอให้ผู้สมัครผู้ว่า กทม. ใช้แนวทางของ SDGs ประกอบไปด้วย 17 หัวข้อการพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในสังคม ในเรื่องของปัญหาปากท้อง สุขภาพ ตลอดจนการศึกษา รวมถึงการแก้ไขปัญหาการแพร่กระจายของมลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมต่อการใช้ชีวิต
รศ.วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ปัญหามลพิษ กล่าวว่า มาตรฐานคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานครในปัจจุบันมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นตามลำดับ แต่หากเทียบกับต่างประเทศโดยเฉพาะองค์การอนามัยโลก (WHO) ยังคงไม่เป็นที่น่าพอใจนัก
แหล่งกำเนิดมลพิษอากาศในกรุงเทพมหานคร สาเหตุหลักกว่าร้อยละ 54 มาจากการขนส่งทางถนน พร้อมทั้งเสนอแนะการจัดการคุณภาพอากาศ ได้แก่ การปรับมาตรฐานคุณภาพอากาศในปัจจุบันให้มีความเหมาะสมมากขึ้นและให้สอดคล้องต่อมาตรฐานคุณภาพอากาศสากลเพื่อลดผลกระทบด้านสุขภาพจากมลพิษอากาศ รวมถึงการจัดการแหล่งกำเนิดมลพิษอากาศหลักๆ เช่น การตั้งมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงกำมะถัน และการตรวจสอบรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล รวมถึงการสนับสนุนการเข้าถึงระบบสาธารณะ การสื่อสารกับภาคประชาชนให้มีความรู้และข้อมูลทางด้านคุณภาพอากาศและการรับมือ
หลังจากนั้นเป็นการแสดงวิสัยทัศน์โดยผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เริ่มจาก รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กล่าวถึงนโยบายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในกรุงเทพมหานครไว้ 9 ด้านได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา ด้านการเดินทางและคมนาคม ด้านโครงสร้างของสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการสร้างเอกลักษณ์ในแต่ละพื้นที่ และด้านการจัดการบริหารให้มีความพร้อมในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะปัญหาด้านมลพิษอากาศ โดยจะอาศัยมาตรการทางกฎหมายมาช่วยควบคุมการแพร่กระจายของมลพิษทางอากาศ เน้นที่มาตรการควบคุมมลพิษที่แหล่งกำเนิดและมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่
“หัวใจของความยั่งยืนคือการบริหารจัดการดี ต้องโปร่งใส ไร้ทุจริตคอร์รัปชั่น ต้องบริหารจัดการคนอย่างเท่าเทียม มีการเดินทางได้สะดวก มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีในการรองรับเมืองและเศรษฐกิจ เพราะเมืองต้องถูกขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจ มีโอกาสที่เพียงพอสำหรับทุกคน และต้องมีความสร้างสรรค์ดี ต้องเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กทม.ต้องมีหน้าที่ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้าง สิ่งเหล่านี้ให้เกิดขั้น” รศ.ดร.ชัชชาติกล่าว
นายสกลธี ภัททิยกุล เสนอให้ใช้มาตรการกฎหมายในการแก้ไขปัญหาการลักลอบทำผิดกฎหมายที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ เช่น การลักลอบเผาขยะ และการบริหารและความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหามลพิษทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเน้นไปที่การจัดการขยะภายในเขต กทม. โดยเห็นควรให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทและความรับผิดชอบในการจัดการปัญหาขยะมากขึ้น และส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งทางสาธารณะ
“กรุงเทพฯ เป็นเมืองใหญ่ มีปัญหาเรื่องฝุ่น PM 2.5 การคมนาคมจราจรขนส่ง การจัดการขยะ ควรลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวแล้วใช้รถสาธารณะให้มากขึ้น โดยเชื่อมระบบการขนส่งให้สะดวก โดยใช้รถบัส EV และเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้า เพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศ ควบคุมการก่อสร้าง การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การปรับการบริหารจัดการขยะที่จะช่วยสร้างรายได้ โดยจะต้องควบคุมตามมาตรการทางกฏหมายอย่างเคร่งครัด” นายสกลธีเน้นย้ำ
ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร เสนอแนวทางการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคในสังคม โดยมุ่งแนวคิดผู้ก่อให้เกิดปัญหาต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีแนวคิดเสนอมาตรการในการดำเนินการกับผู้ให้กำเนิดมลพิษ ต้องเป็นผู้ที่จัดการกับมลพิษด้วยตนเอง โดยผู้ที่ไม่ได้ก่อมลพิษไม่ต้องรับผลกระทบไปด้วย นอกจากนี้ยังเน้นการใช้กฎหมายที่เคร่งครัดในการจัดการกับมลพิษที่แหล่งกำเนิด เช่น การควบคุมการปล่อยมลพิษจากโรงงาน ถ้ามีค่าเกินมาตรฐาน ต้องถูกสั่งปิดจนกว่าจะสามารถบำบัดมลพิษให้ได้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพอากาศ
“การแก้ไขปัญหาอากาศใน กทม.คือการใช้เจตจำนงที่มุ่งมั่นเพื่อสร้างความเสมอภาคให้เกิดขึ้น เช่น ในเรื่องน้ำสะอาด บางพื้นที่น้ำประปายังเข้าไม่ถึง เรื่องขยะ ที่มีการเก็บค่าขยะที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งต้องหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกต้นไม้ ไม่ให้เกิดการใช้ช่องว่างทางกฎหมายทำสิ่งที่ไม่สมควร และเข้าจัดการปัญหาเพื่อสร้างความเท่าเทียม เพื่อให้ทุกคนมีสิทธิอย่างถูกต้องในการเป็นคนกรุงเทพฯ” ดร.วิโรจน์กล่าว
ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ กล่าวถึงนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ ด้วยหลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศว่าควรมีการดำเนินการในระดับของนโยบาย เพื่อสร้างแนวทางในการแก้ไขปัญหา เน้นการมองภาพปัญหาโดยรวม ควรมีการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศให้ทั่วพื้นที่ กทม. โดยขอความร่วมมือกับสถานศึกษา เพื่อกระจายความรู้และข้อมูลด้านมลพิษและคุณภาพอากาศให้ประชาชนอย่างทั่วถึง รวมถึงการใช้เครื่องมือทางด้านกฎหมายและเศรษฐกิจในการควบคุมมลพิษที่แหล่งกำเนิด
“การจะแก้ปัญหาเมืองได้ต้องเริ่มต้นจากการมองภาพใหญ่ด้วยนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ให้ครอบคลุม กทม. ต้องสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ มีการติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพอากาศอย่างต่ำประมาณ 2 พันจุดโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อเตือนภัยให้ประชาชนป้องกันและดูแลตัวเอง การควบคุมการก่อสร้างไม่ให้สร้างมลพิษ การจัดเก็บภาษีฝุ่นจากผู้ที่สร้างปัญหา และคืนภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ที่มีมาตรการควบคุมได้ดี อำนวยความสะดวกในการใช้รถจักรยานให้มากขึ้น” ศ.ดร.สุชัชวีร์สรุปถึงนโยบาย
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้