รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
12 เมษายน 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์ / Thitirat Somboon
นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ นำเสนอโครงการการลดปัญหาฝุ่น PM2.5 จากการเกิดไฟป่าในอุทยานแห่งชาติแม่ปิง จังหวัดลำพูน คว้ารางวัล “Mahidol Science Environment & Sustainability Award 2022” ประเภทโครงการนักเรียน นิสิต นักศึกษา มาครองอย่างน่าภาคภูมิใจ
พงศ์วิวัฒน์ กู่กิจวัฒนา ปฏิภาณ สุวรรณกิจยินดี ศุภณัฐ สุทธิศิริกุล และณัฐภัทร์ เพียรอานุภาพ นิสิตภาควิชาเคมีที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ เปิดเผยว่ารางวัลดังกล่าวจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติองค์กร บุคคลทั่วไป รวมถึงนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่สร้างประโยชน์แก่สังคมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ประจักษ์ โครงการนี้นำเสนอแนวทางในการสร้างความเข้าใจแก่เยาวชนให้เห็นความสำคัญของการควบคุมและป้องกันไฟป่า ตลอดจนเสนอแนวทางในการอยู่ร่วมกันของชุมชนและป่าอย่างยั่งยืน
จุดเริ่มต้นจากรายวิชา สู่โครงการรักษ์โลก
พงศ์วิวัฒน์ กู่กิจวัฒนา ตัวแทนนิสิตในทีมที่ได้รับรางวัล เผยถึงจุดเริ่มต้นของโครงการการลดปัญหาฝุ่น PM2.5 จากการเกิดไฟป่าในโครงการนี้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา Interactive Science and Social Projects ของหลักสูตรเคมีประยุกต์ที่เปิดโอกาสให้นิสิตทุกคนได้เรียนรู้ประสบการณ์จริงจากชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย โดยได้ลงพื้นที่ชุมชนบ้านก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน ทำงานร่วมกับอุทยานแห่งชาติแม่ปิง โรงเรียนบ้านก้อจัดสรร และนักศึกษาจาก Worcester Polytechnic Institute สหรัฐอเมริกา โดยได้รับการสนับสนุนจากชมรมผู้ได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล ในการเรียนรู้ปัญหาไฟป่าซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดฝุ่น PM2.5 และปัญหาสุขภาพของชุมชนในภาคเหนือของไทย
ปัญหาฝุ่น PM2.5 และไฟป่า สำคัญอย่างไร
ฝุ่น PM2.5 และไฟป่าเป็นปัญหาที่กระทบชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ชาวบ้าน และชุมชนมายาวนาน การเกิดฝุ่น PM2.5 ส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชน ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยตามมา ไม่ว่าจะเป็นอาการภูมิแพ้ แสบตา หอบหืด รวมถึงมะเร็งปอด และส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศที่อาจก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกปัญหา การเกิดไฟป่ายังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 ได้ โครงการนี้จึงเป็นกุญแจสำคัญในการไขข้อข้องใจเพื่อการแก้ปัญหาการลดฝุ่น PM2.5 อย่างยั่งยืน
“จากการลงพื้นที่สำรวจพบว่ายังมีชาวบ้านที่เก็บเห็ดและของป่ากันอยู่ โดยมีความเชื่อว่าการเผาป่าจะช่วยทำให้เห็ดเจริญเติบโตและเก็บง่ายขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดและเป็นจุดที่เราอยากแก้ไข” พงศ์วิวัฒน์ กล่าว
ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ
จากการได้ลงพื้นที่ทำใหีได้เรียนรู้วิถีชีวิต ความคิดของชุมชนที่อยู่ใกล้ชิดกับอุทยานแห่งชาติ ตลอดจนได้นำเสนอแนวทางในการสร้างความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมไฟป่าให้แก่เด็กและเยาวชนในรูปแบบของสื่อวิดีโอให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่จากการเกิดไฟป่า เพื่อเสนอแนวทางในการอยู่ร่วมกันของชุมชนและป่าอย่างยั่งยืน
จุดเด่นของโครงการตอบโจทย์ปัญหาได้จริง
โครงการนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 ข้อตามที่สหประชาชาติกำหนดขึ้น ในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการปลูกฝังให้ความรู้ในเรื่องนี้ควรเริ่มต้นที่เด็กและเยาวชน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการรักษาสิ่งแวดล้อม โครงการลดปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เกิดจากไฟป่ามีการออกแบบที่ให้ความรู้ผ่านสื่อที่เข้าใจง่าย สะท้อนถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ตามมา พร้อมนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาอย่างครบถ้วน เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย นำเสนอผ่านในรูปคลิปวีดิโอ “ไฟป่ากับ PM2.5 .ในประเทศไทย” ผ่านสื่อ YouTube ที่เข้าใจง่ายและน่าสนใจ
ความรู้และประสบการณ์ที่นิสิตสามารถนำไปต่อยอดได้
ผลจากโครงการนี้ นิสิตทั้งในทีมได้ส่งต่อข้อมูลความรู้สู่รุ่นน้องในภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อนำไปสานต่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนให้ความรู้และคำแนะนำแก่ชาวบ้านในเรื่องแนวทางการประกอบอาชีพที่ไม่เกี่ยวกับกระบวนเผาป่า เช่น การทำผลิตภัณฑ์สินค้าโอท็อป การปลูกผืชผักที่เหมาะสมกับสภาพอากาศ ดิน และสภาพแวดล้อมทางภาคเหนือ โดยมุ่งเน้นการให้ชุมชนเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
“พวกเราได้ความรู้และประสบการณ์จากการได้ลงพื้นที่จริง ทำให้เราเห็นปัญหาที่แท้จริง จึงสามารถนำไปวางแผนแก้ปัญหาได้อย่างถูกจุด และหวังว่าโครงการของเราจะเป็นประโยชน์สำหรับพื้นที่เสี่ยงไฟป่าหลายๆ แห่ง เพื่อลดปัญา PM2.5” พงศ์วิวัฒน์กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถส่งต่อความรู้ดีๆ ในการลดปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เกิดจากไฟป่าโดยการรับชมและแชร์คลิปวีดิโอ “ไฟป่ากับ PM2.5 ในประเทศไทย” ที่น้องๆ นิสิตตั้งใจทำขึ้นได้ที่ Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=_rH6nc7IWxc
เอกอัครราชทูตโรมาเนียและคณะ เยือนวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ส่งเสริมความร่วมมือไทย-โรมาเนียด้านวิชาการและอุตสาหกรรม
รศ.ดร.เบญจพร สุวรรณศิลป์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับมอบเหรียญที่ระลึกและประกาศเกียรติคุณ จาก University of South Florida
สถาปัตย์ จุฬาฯ จัดบรรยายพิเศษ “Digital Craft” เวทีความรู้ด้านออกแบบและสถาปัตยกรรมจากผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ
ช่อง 7HD จับมือจุฬาฯ เปิด “4 ซีรีส์ กีฬานักเรียน แชมป์กีฬา 7HD 2025” จุฬาฯ พร้อมสนับสนุนสร้างอนาคตครั้งสำคัญเพื่อเด็กไทย
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 32 จุฬาฯ ระดมความรู้ข้ามศาสตร์ “ฝ่าวิกฤตแผ่นดินไหว” ชวนคิด ชวนถาม เตรียมพร้อมรับมือและฟื้นตัวจากภัยพิบัติ
อาจารย์จุฬาฯ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2567
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้