รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 เมษายน 2565
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
“ศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช ตั้งอยู่ที่ชั้น 10 อาคารวิศวฯ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 ช่วงที่ 2 หรือ C2F มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริง สร้างผลกระทบในวงกว้างให้กับประเทศไทยและต่างประเทศ” รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงศูนย์วิจัยแห่งใหม่ ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเปิดตัวศูนย์ฯ เมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา
ศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช (Biomedical Engineering Research Center) หรือ BMERC ได้รับการก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการยกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนามหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและโลกในศตวรรษใหม่ ศูนย์วิจัยแห่งนี้เป็นศูนย์กลางความร่วมมือของหลากหลายศาสตร์ ประกอบด้วย คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคมว่าจุฬาฯ มีผลงานวิจัยที่โดดเด่น พรั่งพร้อมด้วยอุปกรณ์ในการทำ Lab ห้องปฏิบัติการด้านชีวภาพที่มีการเพาะเลี้ยงเซล อุปกรณ์ทางการแพทย์และคอมพิวเตอร์ที่ครบครันทุกสาขา เป็นศูนย์กลางสำหรับนิสิตและคณาจารย์จากคณะต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับการแพทย์และนวัตกรรมทางการแพทย์ได้มีพื้นที่ในการทำงานร่วมกัน
ทำความรู้จักศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช
รศ.ดร.จุฑามาศเปิดเผยว่าก่อนที่จะเป็นศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวชหรือ BMERC คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มีหลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวชที่มีบทบาทชัดเจนด้านการเรียนการสอนนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา และมีผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการแพทย์อยู่แล้ว เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวชจึงมีการขยายบทบาทของหลักสูตรโดยเพิ่มเติมพื้นที่สำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาในการทำโครงการวิจัย วิทยานิพนธ์ และพัฒนานวัตกรรม คณาจารย์ก็จะใช้ศูนย์วิจัยนี้เป็นพื้นที่พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือต่อยอดนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์
ความพิเศษของศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช
หลากหลายผลงานนวัตกรรมจากหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวชที่คณาจารย์และนิสิต ได้พัฒนาขึ้นในช่วงเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา ได้ตอบสนองความต้องการของสังคมและวงการแพทย์ ถือเป็นจุดเด่นที่ศูนย์วิจัยฯ จะเดินหน้าดำเนินการต่อไป ที่ผ่านมามีคณาจารย์หลายท่านในหลักสูตรได้รับทุนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รวมถึงทุนจากต่างประเทศในการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนิสิต เพื่อพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมให้เป็นที่ประจักษ์มากยิ่งขึ้น
“ศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวชมีบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นผู้ที่พบเจอปัญหาทางคลินิกจริงๆ มาร่วมพัฒนางานวิจัยในหลายโครงการ ดังนั้นนวัตกรรมที่เราพัฒนาขึ้นนั้นเริ่มจากโจทย์ที่มีอยู่จริง เป็นงานวิจัยและนวัตกรรมที่ไม่ได้พัฒนาเพื่อขึ้นหิ้ง แต่มีผู้ใช้งานอย่างแน่นอน ยิ่งเป็นงานวิจัยและนวัตกรรมสำหรับวงการแพทย์ก็ยิ่งเป็นประโยชน์มากขึ้น ในการสร้างงานนวัตกรรมถ้าสำเร็จตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ก็จะทำให้ได้วิธีการรักษาโรคและการตรวจวินิจฉัยโรคแบบใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น” รศ.ดร.จุฑามาศกล่าว
นวัตกรรมส่งเสริม Spin off Research University
รศ.ดร.จุฑามาศกล่าวเสริมว่าการก่อตั้งศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวชได้รับการสนับสนุนจากโครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 หรือ C2F โครงการที่ได้รับทุนมี 4 โครงการ ซึ่งเป็นของบริษัท Spin-off ภายใต้การบ่มเพาะของ CU Innovation Hub การทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์วิจัยฯ และบริษัท Spin-off เป็นไปในลักษณะเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยศูนย์ฯ เอื้อเฟื้อในเรื่องของสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ในการทำวิจัย ในทางกลับกัน ศูนย์ฯ ก็ได้ประโยชน์จาก Spin-off ที่สร้างผลงานนวัตกรรมด้วย
ทั้งนี้ศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวชได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัทเมติคูลี่ หนึ่งในบริษัท Spin-off ของจุฬาฯ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เห็นชัดเจนถึงความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยฯ กับบริษัท Spin-off ซึ่งในอนาคตก็จะมี Spin-off เกิดขึ้นอีกหลายบริษัท จะทำให้ศูนย์วิจัยฯ นำรายได้จาก Spin-off มาสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานของศูนย์วิจัยฯ ต่อไป
ตัวอย่างนวัตกรรมของศูนย์วิจัยฯ ที่นำไปใช้ได้จริง
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวชได้พัฒนาหลากหลายผลงานนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคม ไม่ว่าจะเป็นรถกองหนุน ซึ่งเป็นผลงานที่ตอบโจทย์ความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์ รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ เป็นรถพระราชทาน ที่นำไปต่อยอดในการใช้งานจริงโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เครื่องดึงวัคซีน AstraZeneca อัตโนมัติ เครื่องรังสียูวีสำหรับฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัย N95 ที่มีการใช้งานซ้ำ
นอกเหนือจากนี้ ยังมีผลงานการพัฒนานวัตกรรมอื่นๆ เช่น อวัยวะเทียม แขนขาเทียม เท้าเทียม สะโพกเทียม สำหรับผู้พิการที่สูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการพึ่งพาอวัยวะจากต่างประเทศอาจไม่เหมาะกับสรีระของคนไทย ที่สำคัญคือราคาที่สูง การพัฒนารูปแบบนำทางเข็มฉีดสารในร่างกายลดความเจ็บปวดแทนเข็มฉีดยา โครงการกระดูกเทียมจากไหมไทย โดยการนำโปรตีนจากไหมไทยที่สกัดมาทำกระดูกเทียมเพื่อช่วยกระตุ้นการงอกของกระดูก นวัตกรรม 3D Printing Titanium Bone เพื่อปลูกถ่าย ซ่อมแซมกระดูกที่เสียหาย ซึ่งมีการนำไปใช้จริงในผู้ป่วยแล้ว
“แนวทางการพัฒนาศูนย์วิจัยฯ ในอนาคต จะเน้นในเรื่องการสร้างความร่วมมือ เป็นหลัก นอกจากการเชื่อมโยงอาจารย์จากสหสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมแล้ว แผนงานที่วางไว้จะมีการขยายความร่วมมือออกไปนอก จุฬาฯ โดยสร้างความร่วมมือในการทำโครงการวิจัยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่ทำงานทางด้านการแพทย์ หรือให้ทุนเพื่อพัฒนาการวิจัย โดยมีเป้าหมายให้ศูนย์วิจัยเป็น Medical Hub เพื่อสร้างความร่วมมือพัฒนางานนวัตกรรมทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน สามารถนำไปใช้ได้จริง ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม” รศ.ดร.จุฑามาศ กล่าวในที่สุด
สำหรับหน่วยงานที่สนใจนวัตกรรมหรือต้องการร่วมมือพัฒนานวัตกรรมกับศูนย์วิศวกรรมชีวเวช สามารถติดต่อได้ที่โทร.0-2218-6793-13 หรือ Inbox มาที่ Facebook หลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช https://m.facebook.com/chulabme/
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้