ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ยืนหนึ่งโครงการโดดเด่นของเอเชีย เข้ารอบ THE Awards Asia 2022 ด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีแห่งปีและการสนับสนุนนิสิต

สองโครงการโดดเด่นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ผ่านเข้ารอบรางวัล THE Awards Asia 2022 มอบรางวัลโดย Times Higher Education ซึ่งเป็นสื่อระดับโลกด้านการศึกษา ดังนี้

ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year

– หุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  (Robotic Innovation for Strokes Patients ; Haxter Robotics) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ  

ประเภท Outstanding Support for Students    

–  “MindSpace” แพลตฟอร์มทางออนไลน์ หน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต (Chula Student Wellness) สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาฯ ช่วยจัดการปัญหาสุขภาพจิตของนิสิตจากสถานการณ์การระบาดชองโควิด-19   

รางวัล THE Awards Asia 2022 จัดโดย THE World Universities Insights Limited เพื่อประกาศเกียรติคุณยกย่องความเป็นผู้นำและผลงานอันโดดเด่นของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาทั่วทั้งทวีปเอเชีย โดยโครงการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีผลงานโดดเด่นได้ผ่านเข้ารอบถึง 2 โครงการเช่นเดียวกับเมื่อปีที่แล้ว นับเป็นความภาคภูมิใจของสถาบันอุดมศึกษาไทยอีกครั้งหนึ่ง

หุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Robotic Innovation for Strokes Patients)  เป็นนวัตกรรมจากความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ    ที่ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองซึ่งมีการเกิดโรคนี้สูงมากในประเทศไทยให้ฟื้นจากอาการแขนขา อ่อนแรง สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ การพัฒนาและผลิตหุ่นยนต์ทางการแพทย์ได้ตามมาตรฐานการผลิต ISO13485 ทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงการฟื้นฟูร่างกายจากโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างเท่าเทียม โดยมีโรงงาน Haxter Robotics ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ  ผลิตหุ่นยนต์ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วย ปัจจุบันมีการนำหุ่นยนต์ไปใช้งานจริงในโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดจำนวน 12 แห่ง

“MindSpace”  เป็นเว็บแอปพลิเคชั่นที่ส่งเสริม ป้องกัน และดูแลสุขภาวะทางใจของนิสิตซึ่งหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต จุฬาฯ(Chula Student Wellness) ได้รวบรวมบริการและความรู้ทางจิตวิทยาให้นิสิตสามารถดูแลตนเองในเบื้องต้น  และสามารถนัดหมายขอคำปรึกษากับนักจิตวิทยาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนิสิตที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 บริการของ MindSpace ประกอบด้วย Mind Journey เก็บบันทึกข้อมูลการดูแลพัฒนาใจและสถานการณ์นัดหมาย Mind Support รวบรวมแหล่งข้อมูลทางจิตวิทยาเพื่อการดูแล พัฒนาใจเบื้องต้น Mind Test   การทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา Mind Workshop การเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองและเยียวยาใจ Mind Appointment ทำนัดหมายเพื่อรับบริการปรึกษาจากนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ และ Mind Tracking สำรวจและติดตามภาวะใจตนเองผ่านการบันทึกความรู้สึกของเราในแต่ละวัน

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า