รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 พฤษภาคม 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
รู้หรือไม่ว่าการรีไซเคิลโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่องสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ได้ถึง 12.6 กิโลกรัม หลายคนคงเคยเห็นการรณรงค์ร่วมบริจาคโทรศัพท์มือถือ แทปเลตที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อนำไปกำจัดด้วยกระบวนการมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในโครงการจุฬาฯ รักษ์โลก ซึ่งเป็นการลดและป้องกันปัญหาที่เกิดจากการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่ถูกวิธี ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบจากสารตกค้าง เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักชนิดต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและส่งผลต่อสุขภาพตามมา
“ปัจจุบันมีกฎหมายหลายฉบับที่แสดงให้เห็นถึงอันตรายของขยะอิเล็กทรอนิกส์ และมีความพยายามจากหลายภาคส่วนเพื่อจะแก้ปัญหาเหล่านี้ แต่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมตั้งแต่การผลิตจนถึงการกำจัด” รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาฯ กล่าว
โครงการจุฬาฯ รักษ์โลกกับการช่วยลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์
การบริจาคโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้วเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล โครงการจุฬาฯ รักษ์โลก ร่วมกับบริษัท Total Environmental Solutions จำกัด ได้เปิดรับบริจาคโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และอุปกรณ์เสริมเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ซึ่งดำเนินการมา 12 ปีแล้ว เป็นตัวอย่างการดำเนินการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้อง โดยศูนย์ความเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์จากประชาชนและหน่วยงานที่สนใจ ส่งต่อให้บริษัทรับกำจัดและดำเนินการรีไซเคลิอย่างถูกต้อง เป็นการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถูกวิธี โดยการบริจาคโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต 1 เครื่อง จะเปลี่ยนเป็นเงิน 10 บาท บริจาคเข้ากองทุนภูมิคุ้นกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อสนับสนุน การวิจัยด้านการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้นกัน
กระแสตอบรับโครงการจุฬาฯ รักษ์โลก
รศ.ดร.สุธา เผยว่า โครงการจุฬาฯ รักษ์โลก เป็นกิจกรรมแรกๆ ในการรวบรวมโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์มาดำเนินการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์ความเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาฯ กับค่ายโทรศัพท์มือถือ แต่ด้วยข้อจำกัดของศูนย์ฯ ในเรื่องพื้นที่ในการรวบรวม จึงไม่ได้ขยายงานต่อ แต่ในระยะ 2- 3 ปีที่ผ่านมา ประชาชนเริ่มให้ความสนใจเรื่องนี้มากขึ้น ประกอบกับปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการบริจาคเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินงานให้เป็นกิจกรรมที่ใหญ่ขึ้น มีการรวบรวมโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในปริมาณมากขึ้น เพื่อสร้างความยั่งยืนในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดประโยชน์กับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม
สถานการณ์ขยะอิเล็กทรอนิกส์กับผลกระทบที่เกิดขึ้น
รศ.ดร.สุธาให้ข้อมูลว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาพบว่าทั่วโลกมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ 53.6 – 54 ล้านตันต่อปี ในจำนวนนี้มีประมาณ 18 % เท่านั้นที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ส่วนในประเทศไทย ก็มีปัญหาคล้ายๆ กับในระดับโลก คือเรามีของเสียอันตรายชุมชน ประกอบด้วย ขยะอิเล็กทรอนิกส์ แบตเตอรรี่ ถ่านไฟฉาย ภาชนะบรรจุสารเคมี กระป๋องสเปร์ยต่างๆ เพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉลี่ยประมาณ 4 แสนตันต่อปี และมีการกำจัดด้วยวิธีที่ถูกต้องเพียงแค่ร้อยละ 20 ส่วนหนึ่งเกิดการใช้ชีวิตของเราทีมีแนวโน้มการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในระยะเวลาที่สั้นลง โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 พบว่ามีการเปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ทำให้ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น
การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่ถูกต้องส่งผลกระทบ 2 ด้าน คือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์มีโลหะชนิดต่างๆ เป็นองค์ประกอบมีโอกาสที่จะปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่เกี่ยวข้องได้ ในขณะเดียวกันก็เป็นการสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ เนื่องจากตัวโลหะต่างๆ ที่อยู่ในขยะอิเล็กทรอนิกส์ ถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่า สามารถนำกลับมาใช้ในกระบวนการผลิตต่อไปได้ หากได้รับการจัดการหรือผ่านกระบวนการรีไซเคิลที่ถูกวิธี
สังคมไทยรู้จักการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์มากน้อยแค่ไหน
เมื่อประเมินจากแบบสอบถามที่ทำการศึกษาในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมาพบว่าส่วนใหญ่ประชาชนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องขยะอิเล็กทรอนิกส์เท่าที่ควร มีการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์รวมกับขยะทั่วไป หรือบางครั้งก็ไม่นำไปทิ้ง แต่เก็บไว้ในบ้าน ในปีที่ผ่านมาได้มีการสำรวจประชาชน 2,000 คน พบว่าขยะชิ้นเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือเมื่อเลิกใช้แล้วเป็นขยะ ส่วนหนึ่งก็จะถูกทิ้งไป แต่มีจำนวนมากถึงร้อยละ 35 – 40 ที่เก็บโทรศัพท์มือถือที่ไม่ใช้แล้วไว้ในบ้าน ส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อหมดอายุก็จะขายไป ยังมีประมาณร้อยละ 15- 20 ที่เก็บไว้ที่บ้าน เมื่อเวลาผ่านไปก็จะทิ้งปะปนไปกับขยะทั่วไป นำไปสู่เส้นทางของการกำจัดขยะที่ไม่ถูกต้อง
ความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ.การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาฯ กล่าวว่า ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ยังเป็นร่าง พ.ร.บ. อยู่ เพราะมีปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดการขยะค่อนข้างมาก เช่น ผู้รับซื้อของเก่า อบต. กทม.ฯลฯ รวมถึงมีสาระสำคัญในร่าง พ.ร.บ. ที่ควรพิจารณา เช่น กระบวนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการกำจัดอย่างไร ชิ้นส่วนต่างๆ ดำเนินการไปทิ้งที่ใด มีการควบคุมดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ฯลฯ ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษารายละเอียดอยู่ เพื่อให้ พ.ร.บ. ที่ออกมาสามารถควบคุมระบบบริหารจัดการตรวจสอบได้
กิจกรรมที่น่าสนใจของโครงการจุฬาฯ รักษ์โลก
โครงการจุฬาฯ รักษ์โลก เน้นการดำเนินงานในภาคีเครือข่ายและองค์กรที่สนใจ ด้วยการเผยแพร่ความรู้ผ่านช่องทางต่างๆ นอกจากนี้ยังร่วมมือกับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวประชาสัมพันธ์กิจกรรมเหล่านี้ เพื่อให้เกิดการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์และส่งไปจัดการได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ยังได้พัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยภายใต้ความร่วมมือของเครือข่ายทั้งในและนอกจุฬาฯ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการให้เกิดความสมดุลในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม พัฒนาขีดความสามารถที่มีส่วนได้ส่วนเสียและเป็นแหล่งพึ่งพิงด้านการจัดการสารและของเสียอันตรายได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ครบวงจร
ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในเรื่องการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ เริ่มต้นจากการคัดแยกขยะ มีการจัดการขยะอย่างถูกต้อง โดยสามารถนำโทรศัพท์มือถือและซากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้ว ส่งมาที่โครงการจุฬาฯ รักษ์โลก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0-2218-3959
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้