รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
12 พฤษภาคม 2565
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานแถลงข่าวความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม “สารสกัดอินนูลินจากแก่นตะวันสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ” ความร่วมมือระหว่างนักวิจัยคณะแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อศึกษาวิจัยคิดค้นการสกัดอินนูลินจากแก่นตะวัน ทำให้ได้ใยอาหารละลายน้ำชนิดพิเศษ มีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติกที่ช่วยสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้แบบจำเพาะได้ ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของเด็กอ้วน ผู้สูงวัย และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและดูแลสุขภาพ ทุกเพศ ทุกวัยให้มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน พร้อมร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้สู่ภาคปฏิบัติได้ในวงกว้างมากขึ้น
งานแถลงข่าวความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลผู้สูงอายุเฌ้อสเซอรี่โฮมในงานนวัตกรรมนี้จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2565ณห้องประชุม 1301 ชั้น 13 โซนซีอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมี รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ รองผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์และการประกอบการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.(พิเศษ) พญ.ชนนิกานต์ วิสูตรานุกูล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลผู้สูงอายุเฌ้อสเซอรี่โฮม ร่วมในงานแถลงข่าว นอกจากนี้ภายในงานมีการเสวนาเรื่อง “Innovative Special Inulin for All-age Good Health and Well-being”โดยมี รศ.ดร.ศุภกาญจน์ ชำนิ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และคุณนิรุตติ์ ศิริจรรยา ดารานักแสดง ร่วมเสวนา
“โรคอ้วน” นับเป็นปัญหาสุขภาพของคนทุกเพศ ทุกวัย ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ผู้ป่วยโรคอ้วนมีความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้และมักขาดจุลินทรีย์ที่ดีบางประเภท คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ศึกษาวิจัยคิดค้นอินนูลินจากแก่นตะวันที่สกัดด้วยวิธีการใหม่ที่ยังไม่เคยมีผู้ใดใช้มาก่อนและพัฒนาขึ้นเพื่อให้ได้ใยอาหารละลายน้ำชนิดพิเศษ พบว่ามีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติกที่ช่วยสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้แบบจำเพาะได้ ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของเด็กอ้วน ผู้สูงวัย และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและดูแลสุขภาพ ทุกเพศ ทุกวัย ให้มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนและทำให้จุลินทรีย์สุขภาพเจริญเติบโตได้ดีกว่าอินนูลินที่ผลิตจากพืชชนิดอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ผลงานนวัตกรรมนี้ได้รับอนุสิทธิบัตรเรื่องกระบวนการสกัดอินนูลินจากแก่นตะวันเรียบร้อยแล้ว
ผศ.(พิเศษ) พญ.ชนนิกานต์ วิสูตรานุกูล ในฐานะผู้วิจัยคิดค้นการสกัดอินนูลินจากแก่นตะวัน เปิดเผยว่า อินนูลินพบในหัวหรือรากของพืชผัก ผลไม้และสมุนไพรหลายชนิด เช่น หอมหัวใหญ่ชิโครี (Chicory) กระเทียม กล้วยหอม และข้าวบาร์เลย์ แต่พบว่า“แก่นตะวัน” (Jerusalem Artichoke) มีปริมาณอินนูลินสูงถึงร้อยละ 15 – 20 ของน้ำหนักแห้ง ผลงานวิจัยนี้เป็นการคิดค้นวิจัยวิธีการสกัดอินนูลินจากแก่นตะวันด้วยวิธีพิเศษ โดยทำงานวิจัยร่วมกับ รศ.ดร.ศุภกาญจน์ ชำนิ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ
ผศ.(พิเศษ) พญ.ชนนิกานต์ เผยถึงการดำเนินการวิจัยทางคลินิกในการให้อินนูลินจากแก่นตะวันในเด็กโรคอ้วนอายุ 7 – 15 ปี พบว่าเมื่อเด็กรับประทานอินนูลินจากแก่นตะวันเป็นประจำทุกวันๆ ละ 1 ครั้งติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน สามารถปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ของเด็กโรคอ้วนให้เป็นปกติ โดยไม่พบผลข้างเคียงใดๆ ถือได้ว่าเป็นอินนูลินจากแก่นตะวัน การปรับสมดุลลำไส้เพื่อรักษาโรคอ้วนในเด็ก ไร้ผลข้างเคียงครั้งแรกของโลก เนื่องจากแตกต่างจากงานวิจัยในต่างประเทศที่ใช้อินนูลินจากพืชชนิดอื่นและผ่านกระบวนการสกัดด้วยวิธีอื่นซึ่งพบผลข้างเคียง เช่น ท้องอืดและท้องเสียถึงร้อยละ 30 – 40 นอกจากนี้งานวิจัยยังได้รับรางวัลระดับโลก FISPGHAN Abstract Award for the Best Oral Presentation อันดับที่ 1 จากงานประชุม World Congress of Gastroenterology, Hepatology and Nutrition 2021 ที่ Vienna, Austria เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2564
อินนูลินจากแก่นตะวันสามารถนำไปใช้ในผู้ป่วยโรคอ้วนได้ทุกช่วงวัย รวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวก็สามารถรับประทานได้เช่นกัน โดยนำผงอินนูลินจากแก่นตะวันที่สกัดด้วยวิธีพิเศษมาละลายในน้ำ โดยแนะนำให้ดื่มก่อนรับประทานอาหารมื้อเย็น เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและรับประทานอาหารน้อยลง ควรรับประทานต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป เพื่อให้ได้ผลดีต่อการปรับสมดุลจุลินทรีย์ ในลำไส้เพื่อดูแลรักษาโรคอ้วน นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพัฒนาเครื่องดื่มอินนูลินรสโกโก้ที่คงคุณสมบัติการเป็นพรีไบโอติกไว้อย่างสมบูรณ์ แต่มีรสชาติถูกปากยิ่งขึ้น เด็กดื่มง่าย ผู้ใหญ่ดื่มดี พร้อมทั้งมีการสุ่มตรวจตัวอย่างเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์มีปริมาณอินนูลินตามมาตรฐานที่กำหนด ปราศจากโลหะหนักและยาฆ่าแมลง ผู้บริโภคจึงมั่นใจในความปลอดภัยสูงสุด นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มคุณค่างานวิจัยให้นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลผู้สูงอายุเฌ้อสเซอรี่โฮม กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ในส่วนของภาคเอกชนมีความยินดีที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้สู่ภาคปฏิบัติได้ในวงกว้างมากขึ้น เริ่มจากแนวคิด “100-Year Happy Living Solution นวัตกรรมจากองค์ความรู้…สู่สังคมร้อยปีที่ยั่งยืน” ซึ่งสามารถตอบโจทย์สังคมในอนาคตที่เราทุกคนมีความปรารถนาเดียวกันที่จะมีสุขภาวะที่สมบูรณ์และมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการแพทย์และสาธารณสุข จึงเป็นหัวใจของการขับเคลื่อนสังคมร้อยปีที่มีสุขภาวะที่ดี สร้างอนาคต สร้างรอยยิ้ม สร้างความสุขให้คนไทยมีสุขภาพที่แข็งแรง มีอายุยืนยาว และอยู่ในสังคมที่ยั่งยืน
ผู้สนใจนวัตกรรมนี้สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.(พิเศษ) พญ.ชนนิกานต์ วิสูตรานุกูล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โทร. 0-2256-4951 E-mail: chonnikant.v@chula.ac.th และ รศ.ดร.ศุภกาญจน์ ชำนิ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ โทร. 0-2-218-8357 E-mail: supakarn.c@pharm.chula.ac.th
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้