รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 พฤษภาคม 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์ / Thitirat Somboon
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการนำข้อมูลจากหน่วยงานของมหาวิทยาลัยและส่วนงานคณะ สถาบัน มาทำการวิเคราะห์ (Data Analytic) จัดทำเป็น Dashboard เพื่อนำมาใช้ในการบริหาร วางแผนตัดสินใจ ติดตามงาน และนำเสนอข้อมูลสรุปผลการดำเนินงานและสถิติต่างๆของมหาวิทยาลัย คณะ และหน่วยงาน ทำให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในคณะ สถาบัน หน่วยงานต่างๆ ได้รับทราบข้อมูลได้โดยง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยสื่อสารให้ประชาคมจุฬาฯ ได้เห็นเป้าหมาย ทิศทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยร่วมกัน จุฬาฯ ถือเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ริเริ่มนำข้อมูลมาใช้ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย (Data-Driven Organization) อย่างจริงจัง
รศ.ภก.ดร.วันชัย ตรียะประเสริฐ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านกิจการพิเศษ จุฬาฯ เปิดเผยว่า Dashboard เป็นเครื่องมือที่นำเสนอข้อมูลในด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย คณะ สถาบัน และหน่วยงานในจุฬาฯ โดยนำมาวิเคราะห์และสรุปให้เห็นเป็นภาพกราฟิกที่เข้าใจง่ายในหน้าจอเดียว โดย Dashboard มีฟิลเตอร์ตัวเลือกที่ทำให้ผู้ใช้งานเห็นมุมมองข้อมูลในระดับต่างๆ ตามความต้องการในการใช้งานของผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม แต่ละระดับสายงาน ตั้งแต่กลุ่มผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย กลุ่มผู้บริหารระดับคณะ/สถาบัน/หน่วยงาน กลุ่มหัวหน้าภาควิชา กลุ่มอาจารย์ และกลุ่มเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ทุกคนจะเห็นข้อมูลที่แตกต่างกันตามกลุ่มของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ ทุกคนในมหาวิทยาลัยสามารถเข้ามาดูและเข้ามาใช้งาน Dashboard จุฬาฯ ได้ทุกที่ทุกเวลา ช่วยในการวางแผนการบริหารจัดการตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยได้ตลอดเวลา รวมทั้งช่วยในการติดตามวัดผลงานในช่วงเวลาต่างๆ ว่าเป็นไปเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือไม่อย่างไร สอดคล้องกับแนวคิดในการวัดผลแบบ OKR
Dashboard ที่จุฬาฯ พัฒนาขึ้นมี 4 ประเภท ประกอบด้วย
– Strategic Dashboards เป็น Dashboard เชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณบดี ผู้อำนวยการนำเสนอข้อมูลภาพรวมของมหาวิทยาลัย
– Analytical Dashboards เป็น Dashboard เชิงวิเคราะห์ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับหัวหน้าภาควิชา
– Operational Dashboards เป็น Dashboard ที่ใช้ตรวจสอบการทำงานอย่างต่อเนื่อง
– Information Dashboards เป็น Dashboard ที่แสดงข้อเท็จจริงหรือสถิติที่ทุกคนสามารถเห็นข้อมูลได้
“Dashboard เหล่านี้จะช่วยให้ชาวจุฬาฯ ทุกระดับตั้งแต่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย หัวหน้าส่วนงาน คณาจารย์ และบุคลากรเห็นเป้าหมายร่วมกันและเป้าหมายเดียวกัน เพื่อผลักดันจุฬาฯ ให้ก้าวไปข้างหน้าในทิศทางเดียวกัน” รศ.ภก.ดร.วันชัยกล่าว
รศ.ภก.ดร.วันชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า Dashboard จุฬาฯ ช่วยให้เห็นข้อมูลเชิงลึก (Data Insight) ที่เป็นประโยชน์ในการนำมาใช้วิเคราะห์ ตัดสินใจ วางแผนและติดตามงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ประชาคมจุฬาฯ ทุกระดับและสายงาน ตั้งแต่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารคณะ สถาบัน หน่วยงาน หัวหน้าภาควิชา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุนสามารถเข้ามาดูข้อมูลใน Dashboard จุฬาฯ ได้ เพียงแค่มี CUNET Account สามารถ login เข้ามาได้ที่ MISDashboard การเข้าถึงWebsite MISDashboard ผ่านคอมพิวเตอร์ก็ทำได้ง่ายดาย เพียงค้นหาในGoogle พิมพ์คำว่าMISDashboard.chula.ac.th
สำหรับการพัฒนา Dashboard ในเบื้องต้น ปัจจุบันมีอยู่ 20 Dashboard ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น สำนักบริหารแผนและงบประมาณ สำนักยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อน สำนักงานการทะเบียน สำนักงานแผนงานกองทุนศตวรรษที่ 2 (C2F) สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ ในอนาคตจะขยายความร่วมมือไปยังส่วนงาน คณะ สถาบัน เพื่อช่วยกันจัดทำ Dashboard มาใช้ในการบริหารงานของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมีแผนงานที่จะจ้างบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญมาปรับปรุง Website: MISDashboard ของจุฬาฯ ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยสามารถดูข้อมูลDashboard ให้เห็นเต็มจอทั้งใน Notebook, Tablet และสมาร์ทโฟน
ขอเชิญชวนชาวจุฬาฯ ที่สนใจใช้งาน Dashboard จุฬาฯ พร้อมให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนา Dashboard ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการมากที่สุด โดยสามารถส่งข้อเสนอแนะมาได้ที่ รศ.ภก.ดร.วันชัย ตรียะประเสริฐ ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ โทร. 0-2218-3239 อีเมล twanchai@chula.ac.th
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้