รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 พฤษภาคม 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
“โรคฝีดาษลิง” ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในต่างประเทศเป็นโรคที่ใกล้ตัวเราเข้ามาทุกที สร้างความวิตกกังวลให้หลายคนที่กลัวว่าจะติดเชื้อหลังจากที่สถานการณ์โรคโควิด-19 เริ่มจะคลี่คลาย ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง เกษแดงสกลวุฒิ ภาควิชาพยาธิวิทยาและหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคฝีดาษลิง เพื่อสร้างความเข้าใจให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนก พร้อมแนะวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยให้ห่างจากโรคนี้
จุดเริ่มต้นโรคฝีดาษลิง
ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง อธิบายว่าโรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัส Monkeypox ซึ่งเป็นไวรัสที่มีความใกล้เคียงกับโรคฝีดาษคนหรือไข้ทรพิษ พบครั้งแรกเมื่อปี 2501 ในห้องแลปที่ประเทศเดนมาร์ก จากลิงที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการพบในมนุษย์ครั้งแรกเมื่อปี 2513 ที่ประเทศคองโก ทวีปแอฟริกา ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ระบาดคือทางแถบแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากคือไนจีเรีย เมื่อปี 2546 พบผู้ป่วยเป็นโรคฝีดาษลิงมีความสัมพันธ์กับสัตว์คือ แพรีด็อก ซึ่งซื้อมาจากร้านขายสัตว์เลี้ยง โดยมีการสัมผัสใกล้ชิดแล้วโดนกัด จากการสืบสวนโรคพบว่ามีการเลี้ยงแพรีด็อกอยู่ในกรงใกล้ๆ กับสัตว์ฟันแทะที่นำเข้ามาจากจากประเทศกาน่า ซึ่งสัตว์อาจจะมีพาหะอยู่แต่ไม่ได้แสดงอาการชัดเจน
การติดเชื้อและการแพร่ระบาดในปัจจุบัน
พาหะของโรคฝีดาษลิงคือสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนู แพรีด็อก ฯลฯ โดยติดเชื้อได้จากการโดนสารคัดหลังจากสัตว์ป่วยที่มีเชื้ออยู่ สำหรับกลุ่มคนที่ล่าสัตว์และนำเนื้อมาชำแหละก็มีความเสี่ยงได้เช่นกัน ส่วนการแพร่เชื้อจากคนสู่คนพบในประเทศอังกฤษ เป็นการติดจากสารคัดหลั่งเนื่องจากมีการใกล้ชิดกัน แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าติดจากการมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ ทั้งนี้การแพร่กระจายเชื้อผ่านอากาศ (Airborne) ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง กล่าวว่าสามารถเกิดขึ้นได้แต่น้อยมาก ปัจจุบันโรคฝีดาษลิงกลับมาแพร่ระบาดมากขึ้นจากการเดินทางข้ามประเทศมากขึ้น ที่เป็นข่าวแพร่หลายในระยะนี้เนื่องจากมีการระบาดหลายประเทศพร้อมกัน
อาการและความรุนแรงของโรคฝีดาษลิง
ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง กล่าวว่า ระยะ 3-4 วันแรกผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสคือมีไข้ ปวดหัว ปวดตัว ไม่มีแรง บางคนอาจเจ็บคอ หลังจากนั้นที่ผิวหนังจะมีลักษณะเป็นผื่น ตุ่มหนองขึ้นเหมือนอีสุกอีใส แล้วก็จะค่อยๆ แห้งกลายเป็นสะเก็ด และสามารถหายเองได้ในระยะเวลา 2-4 สัปดาห์
“โรคนี้ไม่ได้รุนแรงมาก เมื่อติดเชื้อแล้วมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 1-10 % เท่านั้น ถึงแม้อัตราการเสียชีวิตจะต่ำ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือเราไม่รู้ว่าใครติดแล้วจะรุนแรงแค่ไหน ดังนั้นควรป้องกันตนเองและไม่ไปสัมผัสเชื้อจะดีที่สุด” ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง กล่าว
วิธีรักษาและวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิง
เนื่องจากโรคฝีดาษลิงเป็นเชื้อไวรัสจึงไม่มีวิธีการรักษา แต่มีการศึกษาเกี่ยวกับโรคฝีดาษสำหรับคนที่มีการปลูกฝี พบว่าสามารถป้องกันได้ 85% ซึ่งปัจจุบันไม่มีการปลูกฝีให้เด็กเช่นคนรุ่นก่อน การทดลองให้ยาต้านไวรัสสำหรับผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดี 100% กำลังอยู่ในขั้นการทดลอง และต้องศึกษาอย่างละเอียดเนื่องจากยาต้านไวรัสอาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรงได้
สำหรับเรื่องวัคซีน ในอดีตมีวัคซีนฝีดาษในคน แต่ประเทศไทยหยุดการฉีดวัคซีนฝีดาษเนื่องจากอุบัติการณ์ของโรคน้อยลง ทั้งนี้วัคซีนฝีดาษสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ 80% เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสในกลุ่มเดียวกัน
“วัคซีนฝีดาษลิงนั้นมีความเป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับอุบัติการณ์ของโรคนี้ว่ามีมากน้อยเพียงใด ความสำคัญของโรคมีมากขึ้นหรือไม่ สถานการณ์ปัจจุบันอาจยังไม่สามารถระบุได้ว่าจำเป็นต้องมีการใช้วัคซีนในประชาชนทั่วไปหรือไม่ เนื่องจากการกระจายของเชื้อยังเป็นกระจุกเท่านั้น” ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง ให้ความเห็น
การเตรียมพร้อมรับมือและการป้องกันโรคฝีดาษลิงในประเทศไทย
ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง เผยว่าสิ่งที่น่ากังวลที่สุดของโรคฝีดาษลิงในประเทศไทยคือการเดินทางท่องเที่ยวไปยังประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะที่ด่าน สนามบินต้องเฝ้าระวัง และมีระบบตรวจสอบผู้คนหรือนักท่องเที่ยวที่เข้ามาว่าไปที่ไหนมา มีอาการป่วยหรือไม่ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลในส่วนนี้แล้ว อีกส่วนหนึ่งที่ต้องระวังคือสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะเลี้ยงสัตว์ฟันแทะ การนำสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสัตว์ต่างถิ่นเข้ามาโดยไม่รู้ที่มาเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะถึงแม้สัตว์จะเป็นพาหะนำโรคแต่อาการของสัตว์จะไม่แสดงออกชัดเจน จึงต้องเฝ้าระวังสัตว์ที่นำเข้ามา และควรให้ความรู้กับคนที่เลี้ยงสัตว์ต่างถิ่นในเรื่องความเสี่ยงและวิธีการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล
“สำหรับการป้องกันโรคฝีดาษลิง สุขอนามัยที่เราป้องกันโควิด-19 ในขณะนี้สามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้เช่นกัน เพราะโรคฝีดาษลิงจะติดได้จากสารคัดหลั่ง การเว้นระยะห่างกัน 1-2 เมตร ล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่และแอลกอฮอล์เจล หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่มีประวัติมาจากพื้นที่เสี่ยงและมีอาการ ก็จะสามารถช่วยป้องกันโรคนี้ได้” อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวทิ้งท้าย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้