ข่าวสารจุฬาฯ

“4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)”

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) ที่เริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565  ยังมีข้อมูลบางส่วนที่ผู้ที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ PDPA ในการนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เผยแพร่ความรู้ “4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)” ซึ่งสรุปข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อไขข้อข้องใจและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้

          1. การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA

            ไม่จริงเสมอไป กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่มีเจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว

          2. ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA

            ไม่จริงเสมอไป สามารถโพสต์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

          3. ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA

            ไม่จำเป็น หากเป็นการติดกล้องวงจรปิดภายในบ้านไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน

          4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้

            ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว

            (1) เป็นการทำตามสัญญา

            (2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ

            (3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิต และ/หรือ ร่างกายของบุคคล

            (4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ

            (5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ

            (6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง

            ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆ ไป

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA ที่นิสิตและบุคลากรจุฬาฯ ควรรู้ได้ที่

https://www.chula.ac.th/news/67177/

https://www.chula.ac.th/news/48805/

สามารถ Download ไฟล์สื่อประชาสัมพันธ์ PDPA ได้ที่

https://drive.google.com/drive/folders/1OT1pAoTUYOTKy27XjdEtZlZvnP512Mrn?usp=sharing

ลงทะเบียนเรียนรู้กฎหมาย เรื่อง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่าน Chula MOOC ได้ที่ 

https://mooc.chula.ac.th/courses/218

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า