ข่าวสารจุฬาฯ

เชิญชมนิทรรศการศิลปะ VR จากไต้หวันครั้งสำคัญในเมืองไทย “WITHIN_Taiwan’s Selected VR Works” ที่ Art4c

ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจงานศิลปะเข้าชมนิทรรศการ “WITHIN_Taiwan’s Selected VR Works” จัดโดยศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมูลนิธิศิลปะดิจิทัล (Digital Art Foundation) กระทรวงวัฒนธรรมไต้หวัน (Ministry of Culture Taiwan) และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย (Taipei Economic and Cultural Office in Thailand) เพื่อส่งเสริมการทำกิจกรรมศิลปะดิจิทัล ช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมศิลปะดิจิทัล และยกระดับชีวิตเกี่ยวกับศิลปะดิจิทัลในสังคม เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน – 16 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 – 17.30 น. ที่ CU Art4c Gallery and Creative Learning Space ใกล้สามย่านมิตรทาวส์ ถนนพระราม 4

ผศ.ดร.สิริธร ศรีชลานุคม รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เลขานุการฝ่ายบริหาร FAAMAI

ผศ.ดร.สิริธร ศรีชลานุคม รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เลขานุการฝ่ายบริหาร FAAMAI กล่าวถึงที่มาและความน่าสนใจของการจัดนิทรรศการในครั้งนี้ว่า “เมื่อคณะศิลปกรรมศาสตร์  จุฬาฯ เริ่มโครงการ FAAMAI ได้เคยไปดูงานที่ไทเป ไต้หวัน โดยได้เข้าชมผลงานและพูดคุยกับผู้อำนวยการมูลนิธิศิลปะดิจิทัล จึงเห็นว่าผลงานศิลปะของไต้หวันมีความน่าสนใจและมีความหลากหลายในเรื่องการจัดนิทรรศการ ผลงานของศิลปินมีรูปแบบต่างๆ ที่ไม่เหมือนกันเลย ซึ่งเราไม่ค่อยได้เห็นงานแบบนี้ที่เมืองไทย นิทรรศการ “WITHIN_Taiwan’s Selected VR Works” จึงเกิดขึ้นซึ่งนับเป็นประสบการณ์และเป็นแรงบันดาลใจที่ดีให้กับนิสิต นักศึกษา ศิลปินไทย และคณาจารย์ในการสัมผัสงานศิลปะที่มีรูปแบบงานที่หลากหลายในด้านดิจิตัลอาร์ต  ซึ่งผลงานที่ได้นำเสนอในครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสที่ดี โดย FAAMAI ได้รับการติดต่อจากสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ว่าทางสำนักงานและกระทรวงวัฒนธรรมไต้หวันยินดีสนับสนุนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และผลงาน ซึ่งทำให้เราได้นำเสนอผลงานชั้นยอดมาจัดแสดงในระยะเวลา 4 อาทิตย์เต็มที่ Art4C”

นิทรรศการ “WITHIN_Taiwan’s Selected VR Works” ผลงานเสมือนจริง 3 ชุดจากไต้หวัน ซึ่งนำมารวมกันเพื่อนำเสนอการใช้ VR (Virtual Reality) ที่เพิ่มมากขึ้นในหลายสาขาเพื่อสร้างผลงานหลากหลายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ภาพยนตร์ Sound Arts จนถึง Contemporary Dance โดยผลงานที่จัดแสดงในครั้งนี้ พยายามจะดึงเอาคุณค่าหลักระหว่างรูปแบบงานศิลปะและเนื้อหาออกมา ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมกับผลงานได้เหมือนเป็นการมองผ่านสายตาของบุคคลนั้นในช่วงเวลาหนึ่งอย่างแจ่มชัด

ภาพตัวอย่างผลงาน

ผลงานที่เข้าร่วมในนิทรรศการนี้ได้รับการคัดเลือกจาก Concept Museum of Art ซึ่งดำเนินการโดย Digital Art Foundation และ ET@T เพื่อส่งเสริมการรวบรวมเนื้อหาผลงานในรูปแบบอนาล็อก ซึ่งยังมีอยู่น้อย ผ่านกรอบประวัติศาสตร์แห่งการแบ่งชั้นทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการเล่าเรื่องแบบดิจิทัล

*ทางนิทรรศการมีแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงขอความร่วมมือผู้ชมแสดงหลักฐานการตรวจ ATK ล่วงหน้า หรือ แสดงประวัติการฉีดวัคซีนก่อนเข้าชมนิทรรศการ ผู้เข้าชมต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดชมนิทรรศการ และรักษาระยะห่างจากผู้ชมท่านอื่น

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนก่อนเข้าชมงาน Afterimage for Tomorrow ผ่านทาง https://www.ticketmelon.com/faamai/withintaiwans-selected-vr-works โดยไม่เสียค่าเข้าชมและจำกัดจำนวนผู้เข้าชมนิทรรศการ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.faa.chula.ac.th/WorkFaamai/show/57 หรือผ่านทาง https://www.facebook.com/chulafaamai

ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
Mr. Herbert Wei-ming Hsu
Deputy Representative, Taipei Economic & Cultural Office in Thailand (TECO)
Ms. Hsaing-Jou Yeh
Adjunct Acting Secretary General, Digital Art Foundation (DAF), Executive Director of ET@T

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า