รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
20 มิถุนายน 2565
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรม DMIND Application สำหรับคัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2565 ณ ห้องเธียเตอร์ อาคารหอสมุด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
ในงานมีการเสวนาเรื่อง “โรคซึมเศร้ากับเทคโนโลยี DMIND” โดย รศ.พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ ผู้ช่วยคณบดีด้านนวัตกรรมการศึกษาและสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.พีรพล เวทีกูล ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ และคุณเตชินท์ พลอยเพชร (ดีเจมะตูม) การเสวนาเรื่อง “ความร่วมมือในการผลักดันนวัตกรรมการแพทย์เพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคมได้จริง” โดย อ.ดร.ศันธยา กิตติโกวิท ผู้ช่วยอธิการบดีด้านนวัตกรรม จุฬาฯ รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ศ.ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปัญญาประดิษฐ์เพื่องานวิศวกรรม
DMIND เป็นแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ช่วยให้ประชาชนประเมินความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าจากลักษณะการแสดงออกทางหน้าตา น้ำเสียง และข้อความ สามารถประเมินภาวะซึมเศร้าเบื้องต้นได้อัตโนมัติ มีความถูกต้อง แม่นยำ ช่วยลดขั้นตอนในการวินิจฉัยของแพทย์ สามารถเข้าถึง DMIND Application ได้ทาง https://bit.ly/DMIND_3 นอกจากนี้ DMIND Application ยังเชื่อมต่อกับช่องทางการสื่อสารของหมอพร้อม ได้แก่ LINE Official Account และ Facebook ซึ่งสามารถเข้าใช้บริการได้ผ่านขั้นตอน ดังนี้
1. เข้าแอปพลิเคชัน Line หมอพร้อม กดลิงก์เพื่อเพิ่มเพื่อน https://bit.ly/2Pl42qo
2. เลือกเมนู “คุยกับหมอพร้อม (Chatbot)”
3. เลือกเมนู “ตรวจสุขภาพใจ”
4. เริ่มทำแบบทดสอบ
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ จัดเสวนาออนไลน์เรื่อง “ใจนิ่ง…ในวันที่โลกไม่แน่นอน : จิตวิทยาในการรับมือภัยพิบัติ”
กิจกรรม CUVIP เดือนเมษายน “Future Science & Technology : วิทยาศาสตร์เพื่อวันข้างหน้า”
1 - 21 เม.ย. 68
เอกอัครราชทูตโรมาเนียและคณะ เยือนวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ส่งเสริมความร่วมมือไทย-โรมาเนียด้านวิชาการและอุตสาหกรรม
รศ.ดร.เบญจพร สุวรรณศิลป์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับมอบเหรียญที่ระลึกและประกาศเกียรติคุณ จาก University of South Florida
สถาปัตย์ จุฬาฯ จัดบรรยายพิเศษ “Digital Craft” เวทีความรู้ด้านออกแบบและสถาปัตยกรรมจากผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ
ช่อง 7HD จับมือจุฬาฯ เปิด “4 ซีรีส์ กีฬานักเรียน แชมป์กีฬา 7HD 2025” จุฬาฯ พร้อมสนับสนุนสร้างอนาคตครั้งสำคัญเพื่อเด็กไทย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้