รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 มิถุนายน 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ ได้ดำเนินการยื่นคำขอรับหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน “กัญชาสายพันธุ์เพชรชมพู” ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช 2518 กับกรมวิชาการเกษตร จากการที่ศูนย์วิจัยยาเสพติด จุฬาฯ ได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ทำการศึกษาวิจัยกัญชาสายพันธุ์ไทย มาอย่างต่อเนื่องกว่า 3 ปี จนสามารถพัฒนาได้สายพันธุ์ที่ดีตรงตามความต้องการ และใช้ชื่อว่า “เพชรชมพู 1-5”
ศ.ดร.จิตรลดา อารีย์สันติชัย รองคณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยาเสพติด จุฬาฯ เปิดเผยว่า การขึ้นทะเบียนสายพันธุ์กัญชากับกรมวิชาการการเกษตร เป็นเป้าหมายหนึ่งของศูนย์วิจัยยาเสพติด เนื่องจากเป็นการต่อยอดจากงานวิจัยที่ทางศูนย์ฯ ได้ดำเนินการมา เพื่อยืนยันว่ากัญชาสายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์ที่จุฬาฯ คิดค้นขึ้น และมีลักษณะโดดเด่นอย่างไร หลังจากการได้รับอนุมัติการขึ้นทะเบียนสายพันธุ์กัญชาแล้ว จะทำให้ศูนย์วิจัยยาเสพติด จุฬาฯ สามารถใช้สายพันธุ์เพชรชมพูดำเนินการต่อไปทั้งในการสกัด และการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ สำหรับใช้รักษาโรค โดยจะทดลองในในสัตว์และมนุษย์ต่อไป
ศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ มีความเชี่ยวชาญเรื่องยาเสพติด โดยได้ศึกษาวิจัยเรื่องยาเสพติดมาเป็นเวลา 50 ปีแล้ว นับเป็นศูนย์แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO Collaborating Centre for Research and Training in Drug Dependence) ในส่วนของการศึกษาวิจัยเรื่องกัญชานั้น เริ่มต้นจากการที่ศูนย์วิจัยยาเสพติดได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม ตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
พื้นที่ 1 ไร่ที่ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาคโครงการพัฒนาที่ดินจุฬาฯ สระบุรี อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เป็นพื้นที่ในการปลูกกัญชา แบ่งพื้นที่การปลูกออกเป็น 3 ระบบได้แก่ ระบบปิด (In-house) มีการควบคุมความชื้น อุณหภูมิและแสงจากภายนอก ระบบกึ่งปิด (Greenhouse) มีที่กั้นป้องกันแมลง การระบายอากาศ ใช้แสงจากธรรมชาติ และระบบเปิด (Outdoor) ซึ่งเป็นการปลูกกลางแจ้ง มีกล้องวงจรปิด ควบคุมความปลอดภัย เพื่อดูว่าการปลูกกัญชาทั้งสามระบบนี้ระบบใดที่ให้ผลผลิตกัญชาที่มีประสิทธิภาพ ได้สารสำคัญสูงสุด ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เพิ่มพื้นที่อีก 30 ไร่ในการขยายผลต่อยอดงานวิจัยครั้งนี้ เพื่อการดำเนินการอย่างชัดเจนและครบวงจรมากขึ้น
ศ.ดร.จิตรลดา กล่าวว่าสายพันธุ์กัญชาที่ศูนย์วิจัยยาเสพติด จุฬาฯ ได้ปรับปรุงและพัฒนาขึ้น เป็นการปลูกแบบชีวภาพ ไม่มีการใช้สารเคมีแต่อย่างใด จึงไม่มีสารปนเปื้อนหรือโลหะหนัก ทำให้ได้กัญชาสายพันธุ์ไทยที่มีคุณภาพ เรียกว่าสายพันธุ์เพชรชมพู 1 – 5 ซึ่งมีลักษณะเด่นแตกต่างกัน
ทั้งนี้ ภายหลังการดำเนินการยื่นคำขอรับหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน “กัญชาสายพันธุ์เพชรชมพู” ทางกรมวิชาการเกษตรได้ให้ความสนใจร่วมลงนาม MOU กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสานต่องานวิจัย วิชาการ การจัดการเรียนการสอนและการจัดอบรมร่วมกัน ซึ่งจะทำให้องค์ความรู้ของจุฬาฯ ขยายผลและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
กัญชาพันธุ์เพชรชมพูเป็นสายพันธุ์กัญชาที่น่าภาคภูมิใจของจุฬาฯ การที่ได้นำสายพันธุ์กัญชาเพชรชมพูขึ้นทะเบียนสายพันธุ์กัญชาเป็นสายพันธุ์ตั้งต้น นับเป็นก้าวที่ดีในการวิจัยและพัฒนาเพื่อเป้าหมายการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ต่อไป ผู้ที่สนใจในเรื่องนี้ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์วิจัยยาเสพติด จุฬาฯ โทร. 09-8269-6103
กิจกรรม CUVIP เดือนเมษายน “Future Science & Technology : วิทยาศาสตร์เพื่อวันข้างหน้า”
1 - 21 เม.ย. 68
เอกอัครราชทูตโรมาเนียและคณะ เยือนวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ส่งเสริมความร่วมมือไทย-โรมาเนียด้านวิชาการและอุตสาหกรรม
รศ.ดร.เบญจพร สุวรรณศิลป์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับมอบเหรียญที่ระลึกและประกาศเกียรติคุณ จาก University of South Florida
สถาปัตย์ จุฬาฯ จัดบรรยายพิเศษ “Digital Craft” เวทีความรู้ด้านออกแบบและสถาปัตยกรรมจากผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ
ช่อง 7HD จับมือจุฬาฯ เปิด “4 ซีรีส์ กีฬานักเรียน แชมป์กีฬา 7HD 2025” จุฬาฯ พร้อมสนับสนุนสร้างอนาคตครั้งสำคัญเพื่อเด็กไทย
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 32 จุฬาฯ ระดมความรู้ข้ามศาสตร์ “ฝ่าวิกฤตแผ่นดินไหว” ชวนคิด ชวนถาม เตรียมพร้อมรับมือและฟื้นตัวจากภัยพิบัติ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้