รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 มิถุนายน 2565
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจมาสู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คว้ารางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ “การประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2563” ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถวายงานผ่านภาษา “ตามรอยพระยุคลบาท ช่วยชาติได้อย่างไร” จัดโดยสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมีการจัดการประกวดรอบชิงชนะเลิศในหัวข้อ “ภัยพิบัติขจัดปัดเป่าด้วยพระมหากรุณาธิคุณ” เมื่อวันเสาร์ที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ
นายณัฐวุฒิ จันทะลุน นิสิตชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติในครั้งนี้ เปิดเผยว่า การประกวดสุนทรพจน์แบ่งออกเป็นการแข่งขันทั้งหมด 3 รอบ ตนได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการประกวดรอบคัดเลือกตัวแทนกรุงเทพมหานคร เมื่อปี 2563 ซึ่งการประกวดต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น จึงได้จัดการประกวดสุนทรพจน์ระดับภูมิภาค และรอบชิงชนะเลิศในปีนี้ โดยแต่ละรอบประกอบด้วยการกล่าวสุนทรพจน์ 2 หัวข้อ โดยรอบแรกจะกำหนดหัวข้อมาให้ เราสามารถเตรียมตัว เขียนบท ฝึกซ้อมมาได้ และรอบสุดท้ายเราจะรู้หัวข้อล่วงหน้าเพียงไม่กี่นาที ซึ่งการตัดสินจะมาจากคะแนนทั้งสองหัวข้อรวมกัน
ณัฐวุฒิ เป็นนิสิตคณะครุศาสตร์เอกภาษาไทย ซึ่งมีความสนใจเรื่องทักษะการพูด ที่ผ่านมาเคยเป็นนักโต้วาทีของคณะ และทำหน้าที่เป็นพิธีกรของจุฬาฯ ภาคพิธีการ (MC of Chula รุ่นที่ 5) แต่ยังไม่เคยประกวดสุนทรพจน์มาก่อน ซึ่งการพูดสุนทรพจน์มีความแตกต่างจากการโต้วาทีและพิธีกร จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายและคิดว่าจะนำประสบการณ์ไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนในอนาคตได้
“เนื้อหาในสุนทรพจน์ที่ผมพูดในรอบชิงชนะเลิศเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรีที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจช่วยประเทศไทยผ่านภัยพิบัติ โดยเสนอแนวทางว่าคนไทยควรจะประพฤติตนอย่างไรที่จะช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องการรู้รักสามัคคี รู้วิธีการแก้ไขปัญหา และรักเพื่อนมนุษย์ด้วยกันในยามวิกฤติ ส่วนในรอบที่สอง เป็นการพูดในหัวข้อ “ให้ความรู้มีค่ามากกว่าให้ทรัพย์สินเงินทอง” ผมได้กล่าวถึงความสำคัญของความรู้ ซึ่งสามารถส่งต่อความรู้ถึงคนอื่นๆ ได้ เช่น สร้างห้องสมุด และสนับสนุนทรัพยากรด้านการศึกษา” ณัฐวุฒิกล่าว
ณัฐวุฒิ ฝากถึงผู้ที่สนใจการประกวดสุนทรพจน์ว่า “สิ่งที่ทำให้เราประสบความสำเร็จในการประกวดสุนทรพจน์คือการเตรียมตัวที่ดี การหาข้อมูลจากหัวข้อที่กำหนดมา และต้องมีความรู้ที่กว้างขวางจากหัวข้อที่ไม่รู้มาก่อนด้วย สิ่งสำคัญคือการฝึกซ้อมให้ตรงตามเวลาที่กำหนด ยิ่งซ้อมเยอะจะยิ่งคล่องแคล่วมากขึ้น ลดความผิดพลาด ลดความตื่นเต้นได้”
นายชยุตม์ มุทุวงศ์ นิสิตชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศจากการประกวดสุนทรพจน์ครั้งนี้ เปิดเผยว่า การประกวดรายการนี้เป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาทั่วประเทศได้ฝึกการใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องผ่านการแสดงสุนทรพจน์ รวมทั้งเป็นการศึกษาและเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ทั้ง 10 รัชกาล
ชยุตม์ กล่าวถึงการเตรียมตัวเข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์ว่า สิ่งที่ทำอย่างแรกคือ ย้อนดูคลิปวิดิโอการประกวดเมื่อ 2 ปีก่อนหน้า เพื่อให้เห็นตัวอย่างและแนวทางในการพูด จากนั้นได้ศึกษา ตีความหัวข้อ เริ่มเขียนคำกล่าวสุนทรพจน์และฝึกพูด การแข่งขันที่ผ่านมาได้นำประสบการณ์จากการประกวดในรอบต่างๆ ที่ผ่านมากลับมาทบทวนปรับปรุงจากข้อแนะนำของคณะกรรมการ เพิ่มความเข้มข้นของเนื้อหาให้มากขึ้น ระมัดระวังเรื่องไวยากรณ์ การใช้คำราชาศัพท์ และการใช้ภาษาให้สละสลวยยิ่งขึ้น
สำหรับหัวข้อ “ภัยพิบัติขจัดปัดเป่าด้วยพระมหากรุณาธิคุณ” ที่กล่าวสุนทรพจน์ในรอบชิงชนะเลิศ ชยุตม์ กล่าวว่า ต้องเริ่มจากการตีความว่าภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีอะไรบ้าง แล้วภัยพิบัติบรรเทาลงได้อย่างไร มีการแก้ปัญหาอย่างไร และเรามีการถอดบทเรียนเพื่อการแก้ปัญหาอย่างไร จากนั้นจึงนำเสนอถึงพระมหากรุณาธิคุณ และแนะแนวทางตามแนวพระยุคลบาทว่าจะสามารถช่วยแก้ปัญหาภัยบิบัติได้อย่างไร ในการแข่งขันพยายามควบคุมการตื่นเต้นให้ดีที่สุด หลังจากได้รางวัลแล้วรู้สึกหายเหนื่อยและภาคภูมิใจกับการทุ่มเทตั้งใจกับการประกวดสุนทรพจน์ทั้ง 3 รอบอย่างเต็มที่ ซึ่งถือเป็นเวทีการประกวดครั้งสุดท้ายเนื่องจากใกล้สำเร็จการศึกษาแล้ว
“เวทีการประกวดสุนทรพจน์ ทำให้ได้ฝึกการพูด ฝึกเทคนิคการใช้ภาษา การเรียบเรียงเรื่องราว การควบคุมอารมณ์ ความตื่นเต้น และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นทักษะสำคัญที่ได้มาจากเวทีนี้ อยากเชิญชวนนิสิตที่มีความสนใจในด้านนี้ลองสมัครเข้าประกวด อาจจะเริ่มจากในเวทีมหาวิทยาลัยก่อน ซึ่งในทุกเวทีจะให้บทเรียนและประสบการณ์เกี่ยวกับการแสดงสุนทรพจน์ให้เรามีพัฒนาการที่ดีขึ้นต่อไป” ชยุตม์ ฝากทิ้งท้าย
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้