รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 กรกฎาคม 2565
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์ / Thitirat Somboon
จากเวทีนำเสนอโครงการวิจัย “UK-SEA PEER Research” ซึ่งคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ The Research Centre for Global Learning (GLEA), Coventry University สหราชอาณาจักร จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม 101 อาคารประชุมสุข อาชวอำรุง คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อถอดบทเรียนความร่วมมือตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักรกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำไปสู่การนำเสนอแนวทางในการสร้างความร่วมมือรูปแบบต่างๆ ในอนาคต
ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ รองอธิการบดี ด้านวิชาการและการเชื่อมโยงกับสังคม จุฬาฯ เปิดเผยว่า โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาของผู้เรียนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักรกับสถาบันอุดมศึกษาไทยและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยได้รับการสนับสนุนผ่านทาง British Council จะส่งผลต่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยพัฒนาการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาให้มีประสิทธิภาพและก้าวไกลยิ่งขึ้น ทำให้เกิดโอกาสทางการศึกษามากขึ้น เพื่อมองไปข้างหน้าว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ตลอดจนลำดับในการแก้ปัญหาก่อนหลัง เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสที่จะเข้าถึงความรู้แบบที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การปิดเส้นทางการเดินทางข้ามพรมแดนในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา แต่มีการเปิดเชื่อมโยงการเรียนรู้กันในโลกออนไลน์ส่งผลต่อข้อดีและโอกาสของความร่วมมือทางวิชาการในรูปแบบใหม่ๆ รวมถึงอุปสรรคที่จะต้องแก้ไขเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการเรียนรู้ได้ เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เกิดการขยับและขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม
ศ.ดร.ปาริชาต กล่าวถึงทิศทางการเรียนรู้ข้ามพรมแดนว่ามีความสำคัญกับสถาบันอุดมศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศ การเรียนรู้ข้ามพรมแดนอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ ความแตกต่างของการเรียนรู้ข้ามพรมแดนในอดีตและปัจจุบันคือเรื่องเวลาและสถานที่ ในอดีตเราต้องเดินทางไปมา มีค่าใช้จ่ายและใช้เวลา แต่ในปัจจุบันเมื่อโลกอินเทอร์เน็ตเข้ามาทำให้การเรียนรู้เปิดกว้างมากขึ้น ส่งผลให้การเรียนรู้ข้ามพรมแดนสามารถทำได้รวดเร็วและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ผู้เรียนต้องพัฒนาทักษะตนเองอยู่ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียน จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อทุกคนในแวดวงการศึกษา ต้องมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ทางออนไลน์ดีขึ้นกว่าเดิม “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเล็งเห็นและส่งเสริมความเท่าเทียมทางการศึกษา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพ (SDG 4: Quality Education) ซึ่งความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในครั้งนี้เป็นประโยชน์และส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อนี้เป็นอย่างยยิ่ง” ศ.ดร.ปาริชาต กล่าวทิ้งท้าย
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ร่วมกับ สสส. มอบรางวัลเชิดชู 11 องค์กรต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต (Thai Mind Awards)
จุฬาฯ ร่วมกับคาร์เทียร์ ประเทศไทย จัดงานเปิดตัว “โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม สำหรับ Cartier Women’s Initiative”
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้