“เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโควิด-19”

แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลง แต่การปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ยังคงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ ที่ผ่านมายังมีผู้ที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโควิด-19 ในหลายเรื่อง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์ปฏิบัติการโควิด-19 จึงได้รวบรวมคำถาม-คำตอบ “เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโควิด-19” เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ชาวจุฬาฯ ดังนี้
– ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยแล้ว?
ยังคงใส่หน้ากากอนามัย ยกเว้นอยู่ตามลำพัง หรืออยู่ในที่โล่งแจ้งที่เว้นระยะห่างจากผู้อื่นมาก”
– ไม่จำเป็นต้องเว้นระยะห่างแล้ว?
แนะนำให้ยังรักษาระยะห่าง เนื่องจากการติดเชื้อยังเกิดขึ้นได้เมื่ออยู่ใกล้ชิดกัน
– ต้องตรวจ ATK เป็นประจำ หรือทุกครั้งที่เดินทางไปเรียน หรือทำงาน
ไม่จำเป็น หากไม่มีไข้ เจ็บคอ หรืออยู่ในกลุ่มของคนที่มีความเสี่ยง
– จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 5 หรือไม่?
การต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 5 หรือไม่นั้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์
– ถ้าติดโควิด-19 แล้ว ไม่จำเป็นต้องรับวัคซีนแล้ว?
– “ไม่จริง” ผู้ที่ติดเชื้อแล้วยังสามารถกลับมาติดได้อีก ควรเข้ารับวัคซีนหลังจากที่หายจากการติดเชื้อแล้ว 3 – 6 เดือน
– หากมีคนติดโควิด-19 ในออฟฟิศ หรือห้องเรียน ต้องทำอย่างไร?
มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
1. ให้ผู้ติดเชื้อแยกตัวออกจากพื้นที่
2. แจ้งผู้เกี่ยวข้องให้ทำความสะอาดพื้นที่
3. ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวให้เฝ้าระวังอาการของตนเอง
4. ดำเนินการเรียนการสอนและการทำงานได้เป็นปกติ
– เมื่อมีเพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนร่วมชั้นติดโควิด-19 ผู้ที่ใกล้ชิดจำเป็นต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน?
ไม่จำเป็นต้องกักตัว แต่ให้เฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด
– เมื่อติดโควิดแล้วควรทำอย่างไร?
ดำเนินการตามแนวปฏิบัติของจุฬาฯ
– เมื่อติดโควิดแล้วเริ่มนับการกักตัว 7 วันเมื่อใด?
เริ่มนับจากวันแรกที่ตรวจพบ

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย