รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
12 กรกฎาคม 2565
ข่าวเด่น, ปฏิทินกิจกรรม
ผู้เขียน นิธิกานต์ ปภรภัฒ
ศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ขอเชิญชวนผู้สนใจเปิดประตูสู่จินตนาการที่ไม่มีขีดจำกัด กับ Talk & Workshop Series ของศิลปะการแสดงร่วมสมัยกับเทคโนโลยี ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “Performing Arts Beyond Human ศิลปะการแสดงที่มนุษย์ไม่ได้เป็นศูนย์กลางของเรื่องเล่า” ในวันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.00 น. ณ ห้องออดิทอเรี่ยม ชั้น M ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ (TCDC) จัดโดย BIPAM (Bangkok International Performing Art Meeting) ร่วมกับ ศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (CAPT) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (TCEB) และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA)
การสร้างผลงานศิลปะการแสดงโดยที่ไม่มีมนุษย์บนเวทีนั้นทำอย่างไร ชวนเจาะลึกวิธีคิดและกระบวนการสร้างสรรค์งานจากศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศ เห็นตัวอย่างการใช้งานเทคโนโลยีที่ไม่ใช่ส่วนประกอบแต่เป็นหัวใจหลัก งานออกแบบที่เหนือจริง ร่วมเปิดพื้นที่การตีความอันหลากหลายซึ่งมนุษย์แทนที่ไม่ได้ ฟังตัวอย่างการทำงานจากศิลปินที่มีประสบการณ์และระดมความคิดเพื่อจุดประกายความสร้างสรรค์ให้กับศิลปินไทย
ร่วมพูดคุยกับศิลปินศิลปะการแสดงไทยและต่างชาติ
– วิชย อาทมาท หนึ่งในสมาชิกของ For What Theatre
– มิส (ปฏิพล อัศวมหาพงษ์) ผู้ก่อตั้งกลุ่มละคร Miss Theatre
– พรพรรณ อารยวีรสิทธิ์ Duckunit ผู้สนใจประเด็นดังกล่าวและทดลองใช้สิ่งของและเทคโนโลยีมานำเสนอความคิดบางอย่างในงานของตนอยู่เสมอ
– Jaha Koo เจ้าของผลงาน Cuckoo หม้อหุงข้าวพูดได้พร้อมกับ Nathan Fain แฮคเกอร์คู่ใจที่ทำงานร่วมกันในหลายโปรเจคต์
– PHASMAHAMMER (Justin Shoulder) ศิลปินออสเตรเลียผู้ค้นหาพื้นที่ระหว่างความเป็นมนุษย์ สิ่งของ หุ่นยนต์
*การสนทนาเป็นภาษาอังกฤษ มีการแปลสรุปเป็นวงแยกสำหรับท่านที่ต้องการ
*ผู้เข้าร่วมงานต้องแสดงผลการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็มขึ้นไป และต้องแสดงผลตรวจ ATK ภายใน 72 ชม. บริเวณจุดลงทะเบียนก่อนเข้าร่วมงาน
ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมได้ฟรี ที่
https://forms.gle/jEaEyrpeuaZffmSb6
เข้าร่วม discord สำหรับพื้นที่แลกเปลี่ยนและรับข้อมูลข่าวสารของ BIPAM ได้ที่
https://discord.gg/e9mmBwEbV4
สอบถามรายละเอียดและติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
https://www.bipam.org/
https://www.faa.chula.ac.th/faamai/index
และทาง Facebook : https://www.facebook.com/chulafaamai?_rdc=1&_rdr
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้