รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 กรกฎาคม 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
สถานการณ์ของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจเมื่อโควิด-19 สายพันธุ์ โอไมครอนเข้ามาแพร่ระบาดในปัจจุบัน ทำให้มีการติดเชื้อและมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้น ถึงแม้อาการจะไม่หนักถึงขั้นเสียชีวิตก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามองและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ให้ความรู้และคำแนะนำเพื่อระมัดระวังการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ที่เราทุกคนต้องตระหนักและอยู่กับโรคนี้ให้ได้
วัคซีนโควิด-19 ไม่ต้องฉีดเพิ่มก็ได้จริงหรือไม่
ไม่จริง การฉีดวัคซีนยังเป็นเรื่องสำคัญอยู่ โดยเฉพาะเชื้อโอโมครอนที่ยังคงส่งผลกระทบต่อผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ผู้ที่มีโรคประจำตัว รวมถึงผู้สูงอายุ ซึ่งจะทำให้เชื้อลงปอดและปอดบวมได้ ดังนั้นถ้าเราฉีดวัคซีนไปแล้ว ก็จะเพิ่มความมั่นใจได้ในระดับหนึ่งแต่ก็ไม่ใช่ 100% การฉีด 3 เข็ม และตบท้ายด้วยวัคซีนชนิด mRNA ได้ประโยชน์แน่นอน การฉีดวัคซีนเข็ม 4, 5, 6 ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อู่ฮั่น สายพันธุ์อังกฤษ เดลต้า สำหรับสายพันธุ์โอไมครอน ภูมิคุ้มกันไม่ได้เยอะขึ้นจริง แต่ยังคงได้ประโยชน์อยู่
อาการ Long Covid มีจริงหรือไม่
มีจริง 100% Long Covid คือ อาการที่เกิดขึ้นภายหลังจากป่วยเป็นโควิด-19 แล้ว เป็นอาการที่เคยมีแต่ไม่หายไป หรือเกิดอาการใหม่ขึ้นมาซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในขณะที่ติดเชื้อโควิด-19 มีผลพิสูจน์ค่อนข้างชัดเจนว่าคนที่ติดเชื้อโควิด-19 รุนแรงจะเกิดอาการ Long Covid ได้แน่นอน แต่สิ่งที่กังวลมากคือคนที่มีอาการเล็กน้อย เมื่อติดตามต่อไปพบว่าเป็น Long Covid ได้เช่นกัน
อาการ Long Covid เกิดขึ้นได้ตั้งศีรษะจรดเท้า เริ่มตั้งแต่ผมร่วง ผิวหนังมีผื่นขึ้นเป็นๆ หายๆ ตาพร่ามัว มีอาการนอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ มีอาการเฉื่อยชาเหมือนคนขี้เกียจ ประจำเดือนมาไม่ปกติ สมรรถภาพทางเพศลดลงในผู้ชาย มีข้อมูลพบว่ามีการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ส่งผลต่อสมอง เกิดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมสะสมได้ ซึ่งต้องจับตามองว่าสมองเสื่อมในคนที่มีอายุ 30 – 40 ปีจะหายในช่วง 3- 9 เดือน หรือทำให้เกิดสมองเสื่อมได้เร็วกว่าปกติหรือไม่
อาการ Long Covid มีกี่ประเภท มีอยู่ตลอดไปหรือหายไปได้
ช่วง 3 เดือนแรก พบว่าอุบัติการณ์ที่จะเกิดขึ้นค่อนข้างสูงมาก ไม่ต่ำกว่า 30 – 50 % แต่หลังจาก 3 เดือนไปแล้วอาการ Long Covid ยังไม่หาย และมีอาการมากขึ้น เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจมากเพราะถ้าปล่อยให้อาการเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในระบบร่างกาย ระบบสมอง อาจแก้ไขเยียวยาไม่ได้ ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนแล้ว 2- 3 เดือนมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าสามารถติดเชื้อซ้ำได้อีกถึง 100% ไม่ว่าจะมีการฉีดวัคซีนไปแล้วกี่เข็มก็ตาม
ความแม่นยำในการตรวจหาเชื้อด้วย ATK กับ RT – PCR
การตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วย ATK มีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้บ้าง เนื่องจากว่าชุดตรวจ ATK ออกแบบมาเพื่อให้ใช้ได้กับทุกคนอย่างสะดวดรวดเร็วซึ่งมีประโยชน์มาก ขณะเดียวกันข้อจำกัดของ ATK สามารถจับตัวไวรัสได้ในปริมาณที่มากจริงๆ ดังนั้นผู้ที่ตรวจ ATK แล้วขึ้นสองขีด มีผลเป็นบวก จะต้องแยกตัวทันที เพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคม ต้องใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ และสังเกตอาการ ถ้าตรวจ ATK แล้วยังขึ้นขีดเดียว แต่มีอาการว่าน่าจะใช่ และอาการเริ่มหนักหนามากขึ้น เช่น มีอาการไข้ หนาวๆ ร้อนๆ ปวดเมื่อยเนื้อตัว วัดออกซิเจนได้ต่ำกว่า 96 % ให้รีบแยกตัวไว้ก่อน สังเกตอาการเป็นระยะอย่างเหมาะสม และรีบพบแพทย์
“เราต้องอยู่กับโควิด-19 ไปอีกนานพอสมควร วิธีการที่จะอยู่กับมันให้ได้จะต้องมีวินัยของตัวเอง อย่าผลักภาระให้กับสังคม แพทย์ หรือกระทรวงสาธารณสุข เพราะถ้าทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ไม่ปล่อยให้เชื้อแพร่ออกไปก็จะทำให้ประเทศชาติรอดพ้นจากวิกฤตนี้ไปได้” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวในที่สุด
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้