รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
24 กรกฎาคม 2565
ภาพข่าว
สำนักพิมพ์จุฬาฯ จัดสัมมนาเรื่อง “แนวทางการเขียน จัดพิมพ์ เผยแพร่ตำราและหนังสือวิชาการ” เมื่อวันที่ 21 – 22 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมแมนดาริน แมนเนจ บาย เซ็นเตอร์ พ้อยท์ กรุงเทพฯ (สามย่าน) โดยมี ศ.ดร.อรัญ หาญสืบสาย ที่ปรึกษาสำนักพิมพ์จุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเป็นเวทีให้คณาจารย์และนักวิชาการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน ก่อให้เกิดความร่วมมือในการแสวงหาแนวทางเสริมสร้างคุณค่าของหนังสือวิชาการ การพัฒนาผลงานการเขียนหนังสือวิชาการ และการพัฒนาความรู้ ความสามารถในเรื่องการเขียน จัดพิมพ์ เผยแพร่ตำราและหนังสือวิชาการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้หนังสือและการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคดิจิทัล
การสัมมนาครั้งนี้มีการบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เขียนตำราและหนังสือวิชาการ โดยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ อาทิ “การใช้ภาษาไทยในตำราและหนังสือวิชาการ” โดย ศ.กิตติคุณ ดร.มงคล เดชนครินทร์ “การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ในงานวิชาการ” โดย ศ.ดร.เนาวนิตย์ สงคราม “เขียนผลงานทางวิชาการอย่างไรไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์และไม่เป็นการลักลอกผลงาน (Plagiarism)” โดย รศ.ดร.มานิตย์ จุมปา “ตำรา/หนังสือ…สู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ” โดย ศ.กิตติคุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค “การตลาด 5.0 สำหรับนักเขียน” โดย ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล การอภิปรายเรื่อง “เคล็ดไม่ลับในการเขียนหนังสือวิชาการ” โดย ศ.ดร.ปราโมทย์ เดชะอำไพ ศ.กิตติคุณอัจฉรา ชีวพันธ์ ศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ เป็นต้น กล่าวปิดการสัมมนาโดยคุณอรทัย นันทนาดิศัย กรรมการผู้จัดการสำนักพิมพ์จุฬาฯ
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้