ข่าวสารจุฬาฯ

คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการปลอดปรสิต ครั้งที่ 8 ในสถานสงเคราะห์เด็กบ้านปากเกร็ด

เด็กกับโรคติดเชื้อปรสิตหรือโรคปรสิตหนอนพยาธิ สามารถพบได้บ่อยในชุมชน ส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของเด็ก สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีอุบัติการณ์การตรวจพบเด็กป่วยเป็นโรคนี้จำนวนไม่น้อย จากสถิติเด็กที่พักอาศัยในสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ดจำนวน 175 คน พบเด็กที่ติดเชื้อพยาธิถึงร้อยละ 43.9 ประกอบกับสถานสงเคราะห์ต้องรับเด็กรายใหม่ทุกปี ส่งผลให้จำนวนเด็กที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลและตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว

คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัดโครงการปลอดปรสิตในสถานสงเคราะห์เด็กมาเป็นปีที่ 8 แล้ว โดยภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก คณะสหเวชศาสตร์ ซึ่งรับผิดชอบหลักสูตร วท.บ. เทคนิคการแพทย์ ได้นำนิสิตเทคนิคการแพทย์ลงพื้นที่ปฎิบัติงานจริง เพื่อนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งตัวนิสิตและสังคม ในปีนี้คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับมูลนิธิสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด ได้ดำเนินโครงการ“ปลอดปรสิต ครั้งที่ 8 ในสถานสงเคราะห์เด็ก” ระหว่างเดือนเมษายน – มิถุนายน 2565  ณ สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด จ.นนทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณาจารย์และนิสิตให้บริการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อปรสิตแก่เด็กและเจ้าหน้าที่ในสถานสงเคราะห์เด็กโดยการตรวจวิเคราะห์ทางปรสิตวิทยาคลินิก 

รศ.ดร.ดวงดาว ปาละสุวรรณ

รศ.ดร.ดวงดาว ปาละสุวรรณ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ผู้รับผิดชอบปลอดปรสิต ครั้งที่ 8 ณ สถานสงเคราะห์เด็กบ้านปากเกร็ด จ.นนทบุรี เปิดเผยว่า โรคติดเชื้อปรสิต เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก จากข้อมูลการศึกษาเด็กที่อยู่ในสถานสงเคราะห์พบว่ามีโรคทางกายเรื้อรังร้อยละ 30 และมีโรคตั้งแต่ 3 โรคขึ้นไป โรคติดเชื้อปรสิตถือเป็นหนึ่งโรคที่พบได้บ่อย ส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านพัฒนาการของเด็ก ร้อยละ 20-60 ของเด็กในสถานสงเคราะห์มีพัฒนาการผิดปกติหรือล่าช้า ส่งผลต่อปัญหาทางกาย เช่น เกิดภาวะย่อยและดูดซึมอาหารผิดปกติ ท้องเสีย สูญเสียเลือด ความสามารถในการทำงานบกพร่อง และมีปัญหาทางโภชนาการ 

รศ.ดร.ดวงดาว ให้ข้อมูลว่า การติดเชื้อปรสิตมีโอกาสแพร่กระจายได้ง่ายหากไม่ได้รับการดูแลหรือคำแนะนำในการปฏิบัติตัวให้ถูกสุขลักษณะ จากการศึกษาวิจัยของโครงการปลอดปรสิต คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ พบว่าเด็กที่อยู่ในสถานสงเคราะห์เด็กมีอุบัติการณ์การติดเชื้อปรสิตสูง ซึ่งมีส่วนขัดขวางพัฒนาการของเด็ก อาจทำให้เด็กนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร และน้ำหนักตัวลด ดังนั้นการตรวจพบปรสิตจะช่วยให้ผู้ดูแลเด็กสามารถปฏิบัติตัว แนะนำและหาทางรักษา รวมถึงป้องกันการติดต่อได้ทันท่วงที 

“การดูแลสุขภาพเด็กในสถานสงเคราะห์จึงควรมีการคัดกรองทั้งในด้านสุขภาพ โภชนาการ และพัฒนาการ ซึ่งต้องอาศัยการตรวจร่างกาย รวมทั้งการประเมินพฤติกรรมและสภาวะแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อด้วย ทั้งนี้ต้องมีการบริหารจัดการและการประสานความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องที่รับผิดชอบในการดูแลเด็กสถานสงเคราะห์ เพื่อให้เด็กเหล่านี้มีพัฒนาการที่ดี สามารถปรับตัวเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ได้”

ผู้สนใจให้การสนับสนุนโครงการปลอดปรสิตในสถานสงเคราะห์เด็ก สามารถติดต่อได้ที่ รศ.ดร.ดวงดาว ปาละสุวรรณ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ  โทร. 09-2926-6359 หรือ รศ.ดร.อรรถกร ปาละสุวรรณ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ  โทร. 08-2797-9995

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า