ข่าวสารจุฬาฯ

นิสิตจุฬาฯ คว้ารางวัล “ผลงานนวัตกรรมอุดมศึกษา 2565”

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2565 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานมอบรางวัล “ผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2565” ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022)” ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ โดยผลงานจากนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรางวัล 12 ผลงานจากการประกวด 2 ประเภท ดังนี้

1.รางวัลการเขียนข้อเสนอผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2565

  • ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์
    • รางวัลระดับดีเด่น (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง“พร็อก มอส : อุปกรณ์ตรวจคัดกรองระดับโมเลกุลมะเร็งต่อมลูกหมาก” โดยนายภูริทัต แก้วอาสา และ น.ส.ขจีพรรณ เพิ่มโภคา (อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.วนิดา หลายวัฒนไพศาล และ ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์)
    • รางวัลระดับดี (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง“สตริปเทสเคมีไฟฟ้าร่วมกับสมาร์ทโฟนสำหรับการวินิจฉัยโควิด – 19”  โดย น.ส.วันวิสา ดีนิล และ ดร.อับดุลฮาดี ยะโก๊ะ คณะวิทยาศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.สุดเขต ไชโย)
  • ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ
    • รางวัลระดับดีเด่น (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง“ไมอีโลซอฟต์ : การพัฒนาระบบนับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติผ่านสมาร์ทโฟนโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมชนิดคอนโวลูชัน”  โดยนายณัทกร เกษมสำราญ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะ (อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.วันเฉลิม โปรา)
  • ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model
    • รางวัลระดับดีเด่น (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง “เพิร์ลสกิน: ครีมขัดผิวเกล็ดประกายมุก” โดย น.ส.เมธีรัตน์ ธานีรัตน์ บัณฑิตวิทยาลัย (อาจารย์ที่ปรึกษา : ศ.ดร.สนอง        เอกสิทธิ์)
  • กลุ่มการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
    • รางวัลระดับดีมาก (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง“ชุดกิจกรรมสานใบมะพร้าว สานสัมพันธ์ช่องว่างระหว่างวัย ชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์” โดยนายพชร วงชัยวรรณ์ คณะครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.อินทิรา พรมพันธุ์)
    • รางวัลระดับดี (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง “กิจกรรมการเล่นแบบชี้แนะร่วมกับลูสพารตส์นอกห้องเรียน” โดย น.ส.พัทธ์ สุทธิบุญ คณะครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.ศศิลักษณ์ ขยันกิจ)

2.รางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2565

  • ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์
    • รางวัลระดับดีมาก (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง“พร็อก มอส : อุปกรณ์ตรวจคัดกรองระดับโมเลกุลมะเร็งต่อมลูกหมาก” โดยนายภูริทัต แก้วอาสา และ น.ส.ขจีพรรณ เพิ่มโภคา (อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.วนิดา หลายวัฒนไพศาล และ ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์)
  • ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ
    • รางวัลระดับดีเด่น (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง“ไมอีโลซอฟต์ : การพัฒนาระบบนับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติผ่านสมาร์ทโฟนโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมชนิดคอนโวลูชัน” โดยนายณัทกร เกษมสำราญ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะ (อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.วันเฉลิม โปรา)
  • ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model
    • รางวัลระดับดีเด่น (ระดับปริญญาตรี) ผลงานเรื่อง“การผลิตอนุภาคนาโนแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยแมลงภู่” โดย น.ส.อรนุช บุญสมปอง คณะวิทยาศาสตร์ และคณะ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์)
    • รางวัลระดับดีมาก (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง “เพิร์ลสกิน: ครีมขัดผิวเกล็ดประกายมุก” โดย น.ส.เมธีรัตน์ ธานีรัตน์ บัณฑิตวิทยาลัย (อาจารย์ที่ปรึกษา : ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์)
  • กลุ่มการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
    • รางวัลระดับดีมาก (ระดับบัณฑิตศึกษา)  ผลงานเรื่อง“ปะการังเทียมด้วยเครื่องพิมพ์ซีเมนต์แบบ 3 มิติ” โดยนายวรุต ศรีสุวรรณ์ บัณฑิตวิทยาลัย (อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ)
    • รางวัลระดับดี (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง “ชุดกิจกรรมสานใบมะพร้าว สานสัมพันธ์ช่องว่างระหว่างวัย ชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์” โดยนายพชร วงชัยวรรณ์ คณะครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.อินทิรา พรมพันธุ์)

การประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษาจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในสถาบันศึกษา โดยเสริมสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะเทคนิคด้านนวัตกรรมกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้นิสิตนักศึกษาเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณภาพ ศักยภาพ และกลายเป็นบุคลากรทางการวิจัยของประเทศต่อไป โดยในปี 2565 ได้แบ่งกลุ่มนวัตกรรมออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร กลุ่มการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ กลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ กลุ่มพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model และกลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งปีนี้มีผลงานจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้รับรางวัลการจัดแสดงผลงานอีก 22 ผลงาน ได้แก่

1.รางวัลเหรียญทอง

  • ระดับบัณฑิตศึกษา
    • “พร็อก มอส : อุปกรณ์ตรวจคัดกรองระดับโมเลกุลมะเร็งต่อมลูกหมาก” โดยนายภูริทัต แก้วอาสา และ น.ส.ขจีพรรณ เพิ่มโภคา (อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.วนิดา หลายวัฒนไพศาล และ ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์)
    • “สตริปเทสเคมีไฟฟ้าร่วมกับสมาร์ทโฟนสำหรับการวินิจฉัยโควิด-19”  โดย น.ส.วันวิสา ดีนิล และ ดร.อับดุลฮาดี ยะโก๊ะ คณะวิทยาศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.สุดเขต ไชโย)
    • “ไมอีโลซอฟต์ : การพัฒนาระบบนับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติผ่านสมาร์ทโฟนโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมชนิดคอนโวลูชัน” โดยนายณัทกร เกษมสำราญ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะ (อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.วันเฉลิม โปรา)
    • “เพิร์ลสกิน: ครีมขัดผิวเกล็ดประกายมุก” โดย น.ส.เมธีรัตน์ ธานีรัตน์ บัณฑิตวิทยาลัย (อาจารย์ที่ปรึกษา : ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์)
    • “ทรายอะราโกไนต์แปรรูปจากเปลือกหอยแมลงภู่” โดยนายครรชิต ประทุมราช บัณฑิตวิทยาลัย (อาจารย์ที่ปรึกษา : ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์)
    • “โคลวแชร์” โดย น.ส.อุมาภรณ์ สมศิริวัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย และคณะ (อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา)
    •  “ชุดกิจกรรมสานใบมะพร้าว สานสัมพันธ์ช่องว่างระหว่างวัย ชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์” โดยนายพชร วงชัยวรรณ์ คณะครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.อินทิรา พรมพันธุ์)
    • “ปะการังเทียมด้วยเครื่องพิมพ์ซีเมนต์แบบ 3 มิติ” โดยนายวรุต ศรีสุวรรณ์ บัณฑิตวิทยาลัย (อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ)
  • ระดับปริญญาตรี
    • “การผลิตอนุภาคนาโนแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยแมลงภู่” โดย น.ส.อรนุช บุญสมปอง คณะวิทยาศาสตร์ และคณะ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์)

2.รางวัลเหรียญเงิน

  • ระดับบัณฑิตศึกษา
    • “การตรวจยีน EGFR ที่กลายพันธุ์ในโรคมะเร็งปอด โดยใช้เทคโนโลยี Oxford Nanopore Sequencing”  โดย น.ส.ปฏิญญา อรรคสุทธิกุล คณะแพทยศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.พญ.สุทิมา เหลืองดิลก รศ.ดร.สัญชัย พยุงภร และ ดร.พรชัย แก้วทรัพย์ศักดิ์)
    • “การออกแบบและสร้างไดอิเล็กตริกแบริเออร์ดิสชาร์จพลาสมาสำหรับการฆ่าเชื้อโรคในระบบปรับอากาศ”  โดยนายนฤสรณ์ แน่นหนา คณะวิทยาศาสตร์ และคณะ(อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.บุญโชติ เผ่าสวัสดิ์ยรรยง และ ผศ.ดร.ณัฐพร พรหมรส)
    • “เซ็นเซอร์เคมีไฟฟ้าสำหรับการตรวจวัดไพโอไซยานินเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อซูโดโมแนสแอรูจิโนซา”  โดยนายปัณณวิชญ์ ถิรบวรกิจพิธาน คณะสหเวชศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.วนิดา หลายวัฒนไพศาล)
    • “นวัตกรรมสิ่งทอการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากสิ่งไร้มูลค่าทางการเกษตร สู่การสร้างสรรค์อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์อย่างยั่งยืนจากทุนทางวัฒนธรรม” โดยนายสุระเกียรติ รัตนอำนวยศิริ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา: ศ.ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล)
    • “กิจกรรมการเล่นแบบชี้แนะร่วมกับลูสพารตส์นอกห้องเรียน” โดย น.ส.พัทธ์ สุทธิบุญ คณะครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.ศศิลักษณ์ ขยันกิจ)
    • “ชุดกิจกรรม เด็กเล่นศิลป์ สร้างอีเอฟ” โดยนายณชนก หล่อสมบูรณ์ คณะครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.โสมฉาย บุญญานันต์)
    • “ชุดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับเด็กปฐมวัย “ARTIGRATION BOX”  โดย น.ส.ณัฐณิชา มณีพฤกษ์ คณะครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.สริตา เจือศรีกุล)
  • ระดับปริญญาตรี
    • “เปก้า เพื่อนคู่ใจฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษทุกที่ทุกเวลา” โดยนายกนก อยู่ดี คณะครุศาสตร์ และคณะ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.พรพิมล ศุขะวาที)

3.รางวัลเหรียญทองแดง

  • ระดับบัณฑิตศึกษา
    • “ชุดกิจกรรมศิลปะ “พาร์สร้างศิลป์” เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงวัยที่เป็นโรคพาร์กินสัน” โดย น.ส.อริสรา วิโรจน์ คณะครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.ขนบพร แสงวณิช)
    • “ชุดกิจกรรมศิลปะ “เลือกเป็นศิลปิน”  โดย น.ส.สุภาพรรณ วงศ์ศักดิ์ศิริกุล คณะครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.โสมฉาย บุญญานันต์)
    • “นวัตกรรมแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์ สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ” โดย น.ส.พิมพ์ใจ ทวิติยามัณฑ์ บัณฑิตวิทยาลัย (อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.อินทิรา พรมพันธุ์ และ ดร.วรรณัย สายประดิษฐ์)
  • ระดับปริญญาตรี
    • “โครงการชุดกิจกรรมศิลปะเตรียมความพร้อมก่อนสูงวัยในศตวรรษที่ 21 “Smart fifty+ พร้อมสูงวัย สร้างคุณค่า” โดยนายธนากร วงสุริยะ คณะครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.ขนบพร แสงวณิช)
    • “โครงการออกแบบชุดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM ผ่านการเล่น Rubber band” โดย น.ส.อณิชา กาญจนวัฒน์ คณะครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.พรเทพ เลิศเทวศิริ)

                    (ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า