ข่าวสารจุฬาฯ

“กล่องรอดตาย” สนจ. คว้ารางวัล “Digital Health” ดีเด่น ประจำปี 2022

เมื่อวันพุธที่ 24 สิงหาคม 2565 ณ อาคารสัปปายะสภาสถาน รัฐสภา คณะกรรมการธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร โดยคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและพัฒนาการจัดบริหารสาธารณสุข ร่วมกับสมาคมคอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัดแห่งเอเชีย (Asian Society of Computer Aided Surgery) มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัด ประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ “18 th Asian Conference on Computer Aided Surgery and Medicine: ACCAS 2022”  เพื่อเป็นเวทีแสดงความก้าวหน้าการแพทย์ไทยที่ได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ “นวัตกรรมดิจิทัลทางการแพทย์” เสริมสร้างความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ระดับสากล และกระตุ้นให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทางการสาธารณสุขให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยมี นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานรัฐสภา เป็นประธานในพิธีเปิด เยี่ยมชมนิทรรศการ และได้ประกาศผลการคัดเลือกผู้ที่มีผลงานด้าน Digital Health ดีเด่น เป็นผู้ริเริ่มและนำเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์สู่ภาคปฏิบัติในประเทศไทย

ผลปรากฏว่า สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) และคณะ คว้า  รางวัล “Digital Healthดีเด่น ประจำปี 2022 จากผลงานโครงการ “กล่องรอดตาย” โดย ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายก สนจ. เป็นผู้แทนสมาคมฯ รับโล่เกียรติยศ และบรรยายผลการดำเนินงานและความสำเร็จในหัวข้อ “Survival Box (กล่องรอดตาย): A Virtual Ward Experience, Telemedicine : From Theory to Practice” และ น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายก สนจ. ในฐานะปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ร่วมอภิปรายในหัวข้อ “Digital Health : Policy, Law and Regulation” ด้วย

ในโอกาสนี้ ดร.พิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ นายสาคร เกี่ยวข้อง ส.ส.กระบี่ น.ส.ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ พญ.เกวลี สุนทรมน ผู้แทนกรมควบคุมโรค นายมกร พงษ์ธนพฤกษ์ อดีตเลขาธิการ สนจ. นายอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ประชาสัมพันธ์ สนจ. สพ.ญ.ดร.คมเคียว พิณพิมาย และนายกิตติศักดิ์ เพ็ชรหาญ ผู้บริหาร The Sharpener ร่วมแสดงความยินดี

โครงการกล่องรอดตายและระบบติดตามอาการออนไลน์ โดย สนจ. และภาคีเครือข่าย เป็นต้นแบบการพัฒนาระบบ Home Isolation ของประเทศไทย มีผู้ลงทะเบียนใช้งานระบบต่าง ๆ รวมกว่า 100,000 ราย โดยพบอัตราผู้ป่วยเสียชีวิตที่บ้านเป็นศูนย์ เป็นระบบที่ตอบสนองอย่างรวดเร็ว Rapid Response Time ภายใน 45 นาที และ Turn Around Time 6 ชั่วโมง ช่วยลดการ admission ของผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นลงได้ถึงร้อยละ 83.3 และยังช่วยรัฐประหยัดงบประมาณได้ 29,500 บาทต่อหัว หรือประมาณ 2,500 ล้านบาท

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า