รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 พฤษภาคม 2561
ข่าวเด่น
ตั้งแต่ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2561 นิสิตสามารถจ่ายผ่าน KBank เพื่อรับสิทธิประโยชน์มากมาย โดยที่นิสิตจำเป็นต้องเปิดบัญชีออมทรัพย์ธนาคารกสิกรไทย และ เปิดบริการ K PLUS ซึ่งมีเงื่อนไขการดำเนินการ ดังนี้
o ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น K PLUS
o กรอกหมายเลขบัตรเดบิต
o กรอกรหัสบัตรเดบิต
o กรอกข้อมูลส่วนตัว
o ตั้งรหัสผ่านและเริ่มใช้บริการทันที
o ทำรายการผ่านสัญญาณอินเตอร์เน็ต 3G/4G เท่านั้น และหากต้องการใช้งาน K PLUS ผ่านสัญญาณ Wi-Fi สามารถทำได้โดย เข้าเมนู “ตั้งค่า” และเลือกเปิด “ใช้งานเต็มรูปแบบผ่าน Wi-Fi”
คำถามที่พบบ่อย FAQ ภายใต้โครงการ CU NEX (โครงการความร่วมมือระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ ธนาคารกสิกรไทย)
ตอบ ในกรณีที่นิสิตมีบัญชีธนาคารกสิกรไทยอยู่แล้ว สามารถเปิดบริการ K PLUS และ ทำธุรกรรมของธนาคารได้โดยไม่ต้องเปิดบัญชีใหม่ แนะนำว่าควรเป็นบัญชีที่เปิดในสาขาธนาคารกสิกรไทยที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพราะหากบัญชีเดิมที่นิสิตมีเป็นบัญชีที่อยู่นอกพื้นที่กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล เมื่อนำบัตรประจำตัวนิสิต (Debit card) ไปกดเงินผ่านตู้ ATM ในพื้นที่กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล จะเสียค่าธรรมเนียมการกดเงินต่างพื้นที่ตามอัตราและเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด
ตอบ นิสิตสามารถเปิดบัญชี และ สมัครบริการ K PLUS ได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย ทุกสาขาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และ ธนาคารมาอำนวยความสะดวกให้นิสิตเพิ่มเติมโดยจะไปออกบูธเปิดบัญชีและเปิดบริการ K PLUS บริเวณสำนักงานวิทยทรัพยกร(หอสมุดกลาง) และ อาคารจามจุรี 9 ในวันที่ 2-12 พ.ค. 2561 เวลา 12.00 – 20.00 น. (ยกเว้นวันอาทิตย์)
ตอบ สำหรับการเปิดบัญชี และ เปิดบริการ K PLUS ไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆ แต่ในการเปิดบัญชีนิสิตจะต้องฝากเงินขั้นต่ำ 500 บาท สำหรับไปเปิดบัญชีที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา
หากนิสิตเปิดบัญชี ที่บูธ บริเวณสำนักงานวิทยทรัพยกร(หอสมุดกลาง) และ อาคารจามจุรี 9 ในวันที่ 2-12 พ.ค. 2561 หรือ ธนาคารกสิกรไทย สาขาสยามสแควร์ สาขาจามจุรีสแควร์ สาขาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างวันที่ 2 พ.ค. – 31 ธ.ค 2561 ธนาคารจะยกเว้นเงินฝากขั้นต่ำให้กับนิสิต (เปิดบัญชีโดยไม่ต้องฝากเงินขั้นต่ำ 500 บาท) เพียงนิสิตแสดง บัตรประชาชน และ บัตรนิสิต
*ในกรณีที่เป็นนิสิตต่างชาติ นิสิตต้องแสดง หนังสือเดินทาง บัตรนิสิต และ หนังสือรับรองจากสำนักทะเบียน จุฬาฯ
ตอบ ตั้งแต่ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2561 นิสิตต้องชำระค่าเล่าเรียนผ่านแอปพลิเคชั่น CU NEX ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอปได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2561 เป็นต้นไป ซึ่งนิสิตสามารถชำระค่าเล่าเรียนได้ 3 วิธี
(1) ชำระผ่านบริการตัดบัญชีอัตโนมัติที่ผูกกับบัญชีของนิสิต
(2) ชำระผ่าน K PLUS ซึ่งสามารถเลือกจ่ายได้ทั้ง K PLUS ของนิสิตหรือ K PLUS ของผู้อื่น เพียงกรอกหมายเลขเบอร์โทรศัพท์ที่ผูกกับบริการ K PLUS ที่ต้องการให้ชำระค่าเล่าเรียนแทน
(3) ชำระผ่านสาขาของธนาคารกสิกรไทย เพียงนำบาร์โค้ดที่ได้จากแอปพลิเคชั่น CU NEX หรือ ใบแจ้งชำระเงินจากกิจการนิสิตไปชำระที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา เพื่อชำระค่าเล่าเรียน
ทั้งนี้ นิสิตสามารถเริ่มชำระค่าเล่าเรียนผ่านแอปพลิเคชั่น CU NEX และทุกสาขาของธนาคารกสิกรไทย ได้ในเดือน ก.ค. นี้
ตอบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแนะนำอยากให้มีบัญชีธนาคารกสิกรไทย เนื่องจากนิสิตจะได้รับสิทธิประโยชน์มากมายผ่านโครงการ CU NEX ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนหลักจากธนาคารกสิกรไทย
โดยตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2561 นี้ นิสิตสามารถออกบัตรประจำตัวนิสิตใหม่ ได้ผ่านแอปพลิเคชั่น CU NEX โดยบัตรนี้เป็นทั้งบัตรเดบิตและบัตรนิสิตในใบเดียวกัน ซึ่งนิสิตสามารถออกบัตรเดบิตประจำตัวนิสิตที่ไหนก็ได้ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น CU NEX เลือกฟังก์ชั่นการออกบัตรประจำตัวนิสิต และสามารถเลือกให้จัดส่งบัตรที่ใดก็ได้ที่สะดวก หรือสาขาสยามสแควร์ โดยบัตรเดบิตประจำตัวนิสิตมีสิทธิประโยชน์มากมายดังต่อไปนี้
และอื่นๆ อีกมากมาย
ในเดือน ก.ค. นี้นิสิตสามารถจ่ายค่าเล่าเรียนได้ผ่านแอปพลิเคชั่น CU NEX ซึ่งสามารถเลือกจ่ายได้ 3 วิธีดังรายละเอียดในข้อ 4. อย่างไรก็ตาม สำหรับนิสิตที่ไม่บัญชีธนาคารกสิกรไทย นิสิตก็ยังสามารถจ่ายค่าเล่าเรียนได้โดยนำบาร์โค้ดที่ได้จากแอปพลิเคชั่น CU NEX ไปชำระค่าเล่าเรียนได้ที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา
ตอบ สำหรับนิสิตที่ไม่มีบัญชีธนาคารกสิกรไทย นิสิตสามารถจ่ายค่าเล่าเรียนได้โดยการนำบาร์โค้ดที่ได้จากแอปพลิเคชั่น CU NEX ไปชำระค่าเล่าเรียนได้ที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา แต่หากนิสิตชำระค่าเล่าเรียนล่าช้านิสิตต้องเสียค่าปรับตามอัตราปกติที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ตอบ เนื่องจากเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ ธนาคารกสิกรไทย เพื่อก้าวสู่ความเป็น ‘Digital Lifestyle University’ และ มุ่งหวังเพื่อให้นิสิตใช้ชีวิตในรั่วจุฬาฯ ได้สะดวกยิ่งขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นการเปลี่ยนวิธีการจ่ายค่าเล่าเรียนมาผ่านช่องทางธนาคารกสิกรไทย จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และรู้ผลการชำระทันที
ตอบ ในวันที่ 1 มิ.ย. 2561 นิสิตสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น CU NEX ที่ใดก็ได้ และสามารถชำระค่าเล่าเรียนได้ในเดือน ก.ค. นี้ หากนิสิตไม่ได้อยู่ในประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าว นิสิตสามารถชำระค่าเล่าเรียนผ่านแอปพลิเคชั่น CU NEX ได้ 2 วิธี
ตอบ นิสิตสามารถสมัครบริการตัดบัญชีอัตโนมัติได้ผ่านแอปพลิเคชั่น CU NEX ได้เลย ซึ่งจะสามารถดาวน์โหลดแอปได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. นี้ โดยไม่ต้องมีการยื่นเอกสารใดๆ
*นิสิตต้องมีบัญชี และ K PLUS อยู่แล้วจึงสามารถสมัครบริการตัดบัญชีอัตโนมัติได้
ตอบ กรณีที่นิสิตมีบัญชีหรือจะไปเปิดออมทรัพย์ของธนาคารกสิกรไทย สาขานอกพื้นที่กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล (สาขาต่างจังหวัด) สามารถใช้บัญชีนั้นได้ แต่หากนิสิตทำบัตรเดบิตประจำตัวนิสิตใหม่และผูกกับบัญชีนี้ เมื่อนิสิตนำบัตรเดบิตประจำตัวนิสิตไปใช้บริการที่ตู้ ATM ในพื้นที่กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล หรือจังหวัดอื่น ที่นอกพื้นที่ของสาขาที่เปิดบัญชี จะมีค่าธรรมเนียมการใช้บริการตู้ ATM ตามปกติที่ธนาคารกำหนด
ตอบ สำหรับนิสิตที่ไม่บัญชีธนาคารกสิกรไทย นิสิตสามารถจ่ายค่าเล่าเรียนได้โดยการนำบาร์โค้ดที่ได้จากแอปพลิเคชั่น CU NEX ไปชำระค่าเล่าเรียนได้ที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา
ตอบ หากนิสิตไม่สะดวกจ่ายค่าเล่าเรียนได้ด้วยตนเอง นิสิตสามารถจ่ายค่าเล่าเรียนได้ 2 วิธี โดยขั้นตอนแรกนิสิตจำเป็นต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น CU NEX จากนั้นนิสิตเลือกชำระค่าเล่าเรียนระหว่าง
ตอบ นิสิตสามารถเปิดบัญชีที่ธนาคารกสิกรไทยสาชาใดก็ได้ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จนถึงช่วงเวลาที่ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำหนดให้ชำระค่าเล่าเรียน
ตอบ นิสิตต่างชาติต้องนำ หนังสือเดินทาง (Passport) บัตรประจำตัวนิสิต และ หนังสือรับรองจากสำนักทะเบียนจุฬาฯ (โดยมีค่าธรรมเนียมที่ สำนักทะเบียนเรียกเก็บตามอัตราปกติ) มาแสดงที่บูธเปิดบัญชี
ตอบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแนะนำว่าควรเปลี่ยน เนื่องจากการเปลี่ยนบัตรเดบิตประจำตัวนิสิตใหม่นั้นจะได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย
ตอบ นิสิตสามารถขอออกบัตรประจำตัวนิสิตใหม่ได้ผ่านแอปพลิเคชั่น CU NEX ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2561 เป็นต้นไป
จุฬาฯ จัดพิธีอธิการปติประทานการ เนื่องในโอกาสที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร เป็นอธิการบดีจุฬาฯ
นิสิตแพทย์จุฬาฯ ได้รับพระราชทานทุน “โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” ประจำปี 2567
จุฬาฯ เปิดยุทธการดับเบาหวาน ชูแพลตฟอร์ม “หวานน้อย” ช่วยคนไทยรอดเบาหวาน
“CU Blood: Dare to Give กล้าที่จะให้” ได้รับบริจาคโลหิตกว่า 900 ถุง บรรเทาปัญหาวิกฤตเลือดขาดแคลน
Chula Digital War Room เครือข่ายจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ ศูนย์กลางให้ข้อมูลเตือนภัยและสนับสนุนการจัดการอุทกภัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
จุฬาฯ เปิดตัวหลักสูตร ZEN หลักสูตรอบรมที่ผสานหลักการปรัชญาแบบญี่ปุ่นกับแนวทางการตลาดสมัยใหม่
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้