ข่าวสารจุฬาฯ

Chula Sustainability Fest 2022 กิจกรรมยิ่งใหญ่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ณ อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน Chula Sustainability Fest 2022ระหว่างวันที่ 2 – 4 กันยายน 2565 ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ชีวิตตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565  กล่าวรายงานโดย ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี และประธานคณะกรรมการจัดงาน Chula Sustainability Fest 2022 

ในโอกาสนี้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแสดงปาฐกถาเรื่อง “นโยบายเพื่อเมืองที่ยั่งยืนและน่าอยู่ของทุกคน” และร่วมพูดคุยกับกลุ่มตัวแทนนิสิตจุฬาฯ ได้แก่ นายพีรวัฒน์ ทองปิยะ นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ และนายสิรภพ อัตโตหิ นิสิตคณะอักษรศาสตร์ ในช่วง “นิสิตถาม ผู้ว่าฯ ตอบ เพื่อร่วมสร้างกรุงเทพฯ เมืองในฝัน”

ในงานนี้ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ประกาศเจตนารมณ์ลดก๊าซเรือนกระจกในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยกล่าวว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนที่จะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกในการดำเนินงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน และยังเป็นส่วนหนึ่งที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็น กลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) หรือเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอร่วมประกาศเจตนารมณ์ในการตั้งเป้าหมายความเป็น กลางทางคาร์บอนของมหาวิทยาลัยภายในปี ค.ศ. 2040 และเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 และมุ่งหวังให้ประชาคมจุฬาฯ ร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในฐานะพลเมืองโลก

งาน “Chula Sustainability Fest 2022” มีการจัดกิจกรรมและโครงการที่จุฬาฯ ได้ดำเนินการ ครอบคลุมความยั่งยืนในด้านต่างๆ ทั้งการพัฒนาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาสุขภาวะ ตลอดจนการพัฒนาสังคม ประกอบด้วย นิทรรศการและการนำเสนอผลงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน งานเสวนา Workshop นิทรรศการให้ความรู้ ศิลปะบำบัด ดนตรีในสวน ตลาดนัดสีเขียว Greenery  Market และ Chula SDGs Market การฉายหนังกลางแปลง ฯลฯ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการปรับเปลี่ยนมุมมองการใช้ชีวิต การทำงานที่ส่งผลดีต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน มีผู้สนใจเข้าร่วมงานตลอดทั้งสามวันที่จัดงานเป็นจำนวนมาก

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า