รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 กันยายน 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์แห่งจุฬาฯจัดงานสัมมนาเปิดตัวดัชนีความก้าวหน้าทางสังคมระดับจังหวัด ทางเลือกใหม่ในการวัดการเปลี่ยนแปลงของทุนมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ภายใต้โครงการ“การพัฒนาดัชนีความก้าวหน้าทางสังคมระดับจังหวัดของประเทศไทย” เพื่อให้ผู้นำและผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งในโลกธุรกิจ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการวัดผลเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและการจัดทำโครงการต่างๆ นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย
ศ.ดร.เอียน เฟนวิค ผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ กล่าวว่า “ดัชนีความก้าวหน้าทางสังคมนี้จะช่วยขับเคลื่่อนประสิทธิผลของนโยบาย ทั้งการลงมือทำและการสร้างการเปลี่ยนแปลง เรามั่นใจว่าความร่วมมือระหว่างศศินทร์ กับ Social Progress Imperative และการเปิดตัว SPI Thailand ถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างแรงบันดาลใจ เชื่อมต่อ และเปลี่ยนแปลง เพื่อโลกที่ดีขึ้น ฉลาดขึ้น ยั่งยืนขึ้น และสามารถสร้างผลกระทบที่สำคัญต่อสังคมโดยรวม”
นายไมเคิล กรีน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Social Progress Imperative เปิดเผยว่า “ดัชนีความก้าวหน้าทางสังคมจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งก็ต่อเมื่อผู้นำในภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคมนำไปใช้ประโยชน์ ผลักดันไปสู่การใช้งานจริง เพื่อแก้ไขปัญหาในประเด็นท้าทายที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของเมืองและชุมชน อย่างไรก็ตาม GDP และการวัดผลทางเศรษฐกิจนั้นยังไม่ครบถ้วนและครอบคลุมในทุกมิติ ตลอดจนการวัดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวไม่ได้ให้ข้อมูลในแง่ของความยั่งยืน และจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นยิ่งทำให้ต้องเพิ่มความเร่งด่วนในการพัฒนาความก้าวหน้าของสังคมให้เร็วขึ้นไปอีก ความก้าวหน้าทางสังคมจึงเป็นพื้นฐานของความสามารถในการแข่งขันและความมั่นคงของประเทศ ซึ่งดัชนี SPI เป็นเครื่องมือในการวัดสิ่งเหล่านี้และจะมีบทบาทในการช่วยชี้ให้ธุรกิจต่างๆ เห็นถึงความสำคัญในการสนับสนุนความก้าวหน้าทางสังคม”
อ.นิกม์ พิศลยบุตร รองผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ กล่าวเสริมว่า “การพัฒนาดัชนีนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ข้อมูลเพื่อวัดความก้าวหน้าของสังคมไทยซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกรอบการทำงานที่เป็นที่ยอมรับระดับสากล การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาดัชนีนี้ให้มีความเหมาะสมกับบริบทและเป้าหมายของสังคมไทย ดัชนีนี้คือเครื่องมือที่จะช่วยให้เราสามารถติดตามและพัฒนาความก้าวหน้าทางสังคมของประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายสามารถตัดสินใจในการจัดสรรทรัพยากรไปยังที่ๆ มีความต้องการมากที่สุด”
ดัชนีความก้าวหน้าทางสังคม คือข้อมูลทางสถิติที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางสังคม ซึ่งแยกต่างหากจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยที่ผลคะแนนมาจากตัวชี้วัดด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งครอบคลุมความก้าวหน้าทางสังคมครบทั้ง 3 มิติ ได้แก่ ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Human Needs) พื้นฐานของการอยู่ดีมีสุข (Foundations Of Wellbeing) และโอกาสทางสังคม (Opportunity) ซึ่งภาพรวมในปี 2564 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 71 จากทั้งหมด 168 ประเทศ
ทั้งนี้ ศศินทร์ ได้เริ่มต้นทำโครงการดัชนีความก้าวหน้าทางสังคมในระดับจังหวัดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 โดยมุ่งหวังให้นำไปสู่การใช้ดัชนีนี้เป็นเครื่องมือประเมินความก้าวหน้าของคนในระดับจังหวัด และเพื่อให้จังหวัดต่างๆ ได้ทราบถึงลำดับตำแหน่งความก้าวหน้าของคนในจังหวัดของตน พร้อมทั้งจุดเด่นจุดด้อยในการพัฒนาคนของจังหวัดซึ่งจะนำไปสู่การศึกษาข้อมูลเชิงลึกเพื่อจะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคนในจังหวัดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อเผยแพร่ดัชนีความก้าวหน้าของคนสู่สาธารณชนได้ใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสมต่อไป
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับดัชนีความก้าวหน้าทางสังคมของจังหวัดต่างๆ อาทิ ด้านการศึกษา สันติภาพ ความเท่าเทียมทางเพศ การเข้าถึงบริการสาธารณะ ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมือง และอื่นๆ ได้ที่ https://bit.ly/3e0b3Jb สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ spi@sasin.edu
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้