ข่าวสารจุฬาฯ

นิติศาสตร์ จุฬาฯ มอบประกาศนียบัตรแก่นิสิต โครงการ LawLab for Human Rights ปีที่ 2 สร้างความตระหนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชนในไทย

คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ “ห้องปฏิบัติการกฎหมายสิทธิมนุษยชน” (LawLab for Human Rights) ปีที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2564  โดย ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ และ อ.ดร.พัชร์  นิยมศิลป์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการได้มอบประกาศนียบัตรสำหรับนิสิตจำนวน 21 คนที่ผ่านการประเมินจากโครงการ เมื่อวันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2565  ณ ห้องประชุมใหญ่ (ห้อง 502) อาคารเทพทวาราวดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ

โครงการห้องปฏิบัติการกฎหมายสิทธิมนุษยชน (LawLAB for Human Rights) ปีที่ 2 เป็นห้องปฏิบัติการทางกฎหมายหนึ่งภายใต้โครงการ LawLAB ซึ่งจัดขึ้นประจำปีการศึกษา 2564 ระยะเวลาการดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม – กรกฎาคม 2565 เพื่อให้นิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้เข้าร่วมในการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม ICCPR รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของสิทธิมนุษยชนให้กับนิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการชุมนุมและสิทธิพลเมืองอย่างเป็นรูปธรรม รับทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการทำหน้าที่ของนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยังยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ 16: การส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม สร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ

นิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับความรู้ต่างๆ จากการเข้าร่วมโครงการนี้ เช่น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเสรีภาพในการชุมนุมและสิทธิพลเมือง การสังเกตการณ์การชุมนุมสาธารณะ การสังเกตการณ์/จดบันทึกการพิจารณาคดีสิทธิมนุษยชนและคดีการเมือง ความรู้ทางด้านงานเอกสารที่ใช้ในกระบวนการยุติธรรม เช่น การร่างคำร้องหรือคำฟ้อง การว่าความเบื้องต้น และการค้นหากฎหมายหรือคำพิพากษาที่ใช้สำหรับคดี เรียนรู้การทำคดีสิทธิมนุษยชนร่วมกับทีมทนายความ เช่น การคัดค้านการจับกุม การเปรียบเทียบปรับ การคัดค้านการฝากขัง การขอปล่อยตัวชั่วคราว การค้นคว้าข้อมูลเพื่อการทำคำฟ้อง/รายงาน และการทำคู่มือความรู้เกี่ยวกับกฎหมายสิทธิมนุษยชน เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ ภายใต้การอบรมของทนายความและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ได้แก่ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ilaw) และกลุ่มเส้นด้าย เพื่อให้นิสิตได้มีพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่การทำงานในอนาคต สามารถนำไปต่อยอดและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อผู้อื่นได้

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า